รับฝนต่อ เกือบทุกภาคโดนผลกระทบ ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายยังวิกฤติ นักวิชาการเผย ประเทศไทยมีความเสี่ยงเกิด "สึนามิ"

จากรายงานสภาพอากาศล่าสุด วันที่ 1 ต.ค. 2561 กรม อุตุฯ แจ้งว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฝนตกหนักบางแห่งต่อไปอีก 1 วัน

    จากรายงานสภาพอากาศล่าสุด วันที่ 1 ต.ค. 2561 กรม อุตุฯ แจ้งว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฝนตกหนักบางแห่งต่อไปอีก 1 วัน จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนที่ตกสะสม โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

 

 

รับฝนต่อ เกือบทุกภาคโดนผลกระทบ ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายยังวิกฤติ นักวิชาการเผย ประเทศไทยมีความเสี่ยงเกิด "สึนามิ"
 

 

สำหรับพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  

    ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมตะวันออกพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

 

    ส่วนสถานการณ์น้ำล่าสุดทาง thaiwater.net รายงานว่า ขณะนี้ระดับน้ำในแต่ละเขื่อนมีแนวโน้มลดลงคาดว่าอีก 31 วันจะสิ้นสุดฤดูฝน โดยเขื่อนหลักลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วยเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำในอ่าง 8,647 ล้านลูกบากศ์เมตร เขื่อนป่าสักฯ 673 ล้านลูกบากศ์เมตร เขื่อนแควน้อย 658 ล้านลูกบากศ์เมตร และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ 8,157 ล้านลูกบากศ์เมตร ทว่ายังคงมีเขื่อนที่ปริมาณน้ำอยู่ในระดับวิกฤตินั้นเป็นเขื่อนน้ำอูน ที่มีปริมาณน้ำคิดเป็น 99.24% เขื่อนกิ่วคอหมา 93.11% และเขื่อนแก่งกระจาน 92.93%

พร้อมกันนั้นยังมีรายงานถึงระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายที่ยังคงอยู่ในระดับวิกฤติ ประกอบไปด้วย 

1. แม่น้ำลาว โขง จ.เชียงราย อ.เมืองเชียงราย ต.ป่าอ้อดอนชัย ระดับตลิ่ง (ม.รทก) 403.20 ระดับน้ำ (ม.รทก) 403.52

2. แม่น้ำนครนายก บางปะกง จ.นครนายก อ.องครักษ์ ต.องครักษ์ ระดับตลิ่ง (ม.รทก) 2.51 ระดับน้ำ (ม.รทก) 2.72

3. แม่น้ำน้ำโมง โขง จ.หนองบัวลำภู อ.สุวรรณคูหา ต.นาสี ระดับตลิ่ง (ม.รทก) 198.25 ระดับน้ำ (ม.รทก) 198.91

 

    และกับประเด็นภัยพิบัติรอบโลก ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงในเร็ววันนี้ จากเหตุการณ์สึนามิในประเทศอินโดนีเซียที่ยังคงสร้างความเสียหายอย่างต่อเนื่องจากอาฟเตอร์ช็อคที่ตามมาอีหลายระลอก ล่าสุดหน่วยงานบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติอินโดนีเซีย (National Disaster Management Agency : BNPB) แจ้งยอดผู้เสียชีวิตจำนวน 844 ราย และผู้บาดเจ็บจำนวน 632 ราย โดยมีประชาชนจำนวนกว่า 48,000 ราย ต้องไร้ที่อยู่อาศัย โดยองค์การสหประชาชาติเตือนว่า มีประชาชนชาวอินโดนีเซียกว่า จำนวน 191,000 คน ต้องการความช่วยเหลือด้านมุนษยธรรมอย่างเร่งด่วน

 

รับฝนต่อ เกือบทุกภาคโดนผลกระทบ ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายยังวิกฤติ นักวิชาการเผย ประเทศไทยมีความเสี่ยงเกิด "สึนามิ"

 

 

รับฝนต่อ เกือบทุกภาคโดนผลกระทบ ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายยังวิกฤติ นักวิชาการเผย ประเทศไทยมีความเสี่ยงเกิด "สึนามิ"

    กลับมาทางฝั่งเอเชียกับสถานการณ์พายุ "ไต้ฝุ่นจ่ามี" ความเร็วลมสูงสุด 216 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดถล่มทางตอนใต้และตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น ล่าสุดมีรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย ในจำนวนนี้ 1 รายเสียชีวิตในเหตุดินโคลนถล่มที่จังหวัดทตโตริ ส่วนอีกรายจมน้ำท่วมสูงในจังหวัดยามานาชิ ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว ขณะเดียวกันมีผู้สูญหาย 2 คน และอีก 120 ราย ที่ได้รับบาดเจ็บ ทางสำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติระบุว่า ขณะนี้อาคารบ้านเรือนว่า 750,000 หลังต้องอยู่ท่ามกลางความมืดมิดไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้งาน เที่ยวบิน 200 เที่ยวจาก 1,000 ถูกระงับการบินชั่วคราว

 

 

รับฝนต่อ เกือบทุกภาคโดนผลกระทบ ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายยังวิกฤติ นักวิชาการเผย ประเทศไทยมีความเสี่ยงเกิด "สึนามิ"

 

 

รับฝนต่อ เกือบทุกภาคโดนผลกระทบ ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายยังวิกฤติ นักวิชาการเผย ประเทศไทยมีความเสี่ยงเกิด "สึนามิ"

 

    เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทางผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ได้ให้ข้อมูลว่า มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับแผ่นดินไหว เนื่องด้วยรอยเลื่อนที่อยู่บริเวณใกล้กัน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเพิ่มความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด 

 

    ขณะนี้ศูนย์เตือนภัยนานาชาติ อยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง ประเทศไทยมีความเสี่ยงจากสึนามิทั้ง 2 ด้าน แต่จะมีความเสี่ยงสูงจากทางด้านฝั่งอันดามันและ มีแนวโน้มที่จะเกิดเหตุการณ์สึนามิซ้ำรอยเช่นเดียวกับปี 2547 ปัญหาอีกประการที่พบคือทุ่นเตือนภัยในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเสีย ไม่สามารถใช้ดูข้อมูลได้ สำหรับจุดที่มีความเสี่ยงสูง คือ ฝั่งอันดามัน จ.ระนอง ,จ.พังงา ,จ.ภูเก็ต ,จ.สตูล และ จ.กระบี่ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป