แค่ปี่กลองเชิดดิสเครดิตมาเต็ม!!ทีมศก.เพื่อไทยบลั๊ฟแรง 4 รมต.ประชารัฐ  ดูให้ชัดๆจริงหรือมั่ว 4 ปี"ลุงตู่"ลงทุนBOIลดฮวบ!?

แค่ปี่กลองเชิดดิสเครดิตมาเต็ม!!ทีมศก.เพื่อไทยบลั๊ฟแรง 4 รมต.ประชารัฐ ดูให้ชัดๆจริงหรือมั่ว 4 ปี"ลุงตู่"ลงทุนBOIลดฮวบ!?

ถาโถมมาเป็นระลอกคลื่น สำหรับกระแสวิพากษ์วิจารณ์พรรคพลังประชารัฐ  จากกรณี 4 รัฐมนตรีที่ประกาศร่วมเป็นคณะผู้บริหารถูกเรียกร้องให้ลาออก เพื่้อความเป็นธรรมทางการเมือง  จนมาล่าสุดทีมคณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย อย่าง  น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ถึงขั้นตั้ง  5 ประเด็น  โจมตีผลการทำงาน 4 รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ  จันทร์โอชา  พร้อมแสดงเป้าหมายทางการเมืองไปในตัวว่าสมควรที่  4 รัฐมนตรีควรลาออกจากตำแหน่ง พ่วงด้วยคำถาม 5 ข้อให้ตอบกลับ

 

แค่ปี่กลองเชิดดิสเครดิตมาเต็ม!!ทีมศก.เพื่อไทยบลั๊ฟแรง 4 รมต.ประชารัฐ  ดูให้ชัดๆจริงหรือมั่ว 4 ปี"ลุงตู่"ลงทุนBOIลดฮวบ!?

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร,อนุตตมา อมรวิวัฒน์

 

 

โดยข้อมูลที่  น.ส.อุตตมา  ลำดับเป็นข้อคำถามปฏิเสธไมได้เลยว่าเป็นสัญญาณทางการเมือง  ที่นับต่อจากนี้พรรคพลังประชารัฐจะเผชิญกับแรงเสียดทานอย่างหนักหน่วง   และหลากหลายรุปแบบ   อาทิเช่นแม้แต่เริ่มต้นเปิดตัวพรรคประชารัฐ  ก็เริ่มด้วยข้อคำถามให้ชี้แจงว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมา  การขอส่งเสริมการลงทุนเหตุใดจึงลดลงอย่างมาก และการลงทุนจริงยิ่งลดลงมากกว่าก่อนมีการปฏิวัติมาก   เป็นผลงานหาเสียงได้หรือไม่ และสาเหตุมาจากการปฏิวัติใช่หรือไม่   

 

จากข้อมูลพบว่า  นางหิรัญญา สุจินัย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในขณะนั้น  ได้ให้รายละเอียดว่า  ตลอดปี  2557  ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง  จากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  มาเป็นรัฐบาลคสช. มีผู้ยื่นคําขอส่งเสริมการลงทุนรวม รวม 3,469 โครงการ  หรือคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 2,192,700 ล้านบาท  โดยเฉพาะเดือนธันวาคมเดือนเดียว  มียอดขอรับส่งเสริมจํานวน  2,092 โครงการ รวมมูลค่า 1,428,200 ล้านบาท  ซึ่งถือว่า สูงที่สุดในรอบเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับการขอรับส่งเสริมในปี 2556 พบว่า มีจํานวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 73 มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 117  

 

ทั้งนี้เหตุผลสำคัญก็มาจากการที่นักลงทุนซึ่งแผนจะลงทุนหรือขยายการลงทุนเร่งยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเร็วขึ้นเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามนโยบายเดิม ก่อนที่ นโยบายใหม่ที่สิทธิประโยชน์สําหรับอุตสาหกรรมบางกลุ่มลดลงจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2558   และลักษณะการเร่งยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนก่อนที่นโยบายจะสิ้นสุดลง ก็เคยเกิดขึ้นเช่นกันในปี 2555  ซึ่งเป็นปีที่มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสิ้นสุดระยะเวลาให้ส่งเสริม   มีโครงการที่เข้าเงื่อนไขยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเข้ามาเป็นจํานวนมากถึง 2,582 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,464,200 ล้านบาท   

 

ส่วนการลงทุนในปี  2558  ตามข้อมูลของสำนักงานบีโอไอ  ระบุว่ามียอดขอส่งเสริมการลงทุนจำนวน 988 โครงการ  คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 197,735 ล้านบาท   

 

ทั้งนี้ยอดการสนับสนุนการลงทุนที่ลดลงจากเดิม   "ไทยพับลิก้า"  ตั้งข้อสังเกตุว่าอาจเป็นผลมาจากนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์  ตามมติครม.เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2557  ในการเข้มงวดเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีของ BOI กับธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจต่างชาติ   ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังนี้

 

1. เร่งรัด BOI ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 11 ตุลาคม 2557 โดยมอบหมายให้ BOI ร่วมกับกระทรวงการคลังทบทวนการให้สิทธิประโยชน์ BOI ให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และดูแลฐานภาษีเงินได้ของประเทศให้สอดคล้องกับการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (30% ลดเหลือ 20%)

 

2. ปัจจุบันมีกิจการอยู่ในข่ายส่งเสริมการลงทุน 243 ประเภท ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ปีละ 1 แสนล้านบาท ควรมีการปฏิรูปสิทธิประโยชน์ BOI ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยจำกัดประเภทกิจการ หรือ ปรับลดประเภทกิจการลง และให้เน้นให้การส่งเสริมการลงทุนกับโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง เช่น เป็นโครงการที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี, ใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ, ประหยัดพลังงานหรือใช้พลังงานทดแทน, พัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (SMEs), รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 

โดยการปรับลดการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและปรับเปลี่ยนบทบาท BOI เน้นอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน นอกจากจะช่วยให้การพัฒนาประเทศมีความยั่งยืน ยังลดการสูญเสียรายได้จากภาษีอากร ทำให้รัฐมีงบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้น

 

3. การให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า โดยจะต้องมีตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิผล นอกเหนือจากมูลค่าการขอรับการส่งเสริม

4. การให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน ควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ รองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการลงทุนในเขตเศรษฐกิจชายแดน

 

ถัดมาในปี  2559  ภายหลังจากมีการปรับเปลี่ยนนโยบายกลับมาใช้มาตรการภาษีเป็นเครื่องมือกระตุ้นการลงทุนมากขึ้น  ทางด้าานนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น)   เปิดเผยถึงภาพรวมการลงทุนในปี 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ว่า ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2559 สูงเกินเป้าหมาย ทั้งในแง่ของมูลค่าและจำนวนโครงการ โดยพบว่ามีมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 584,349 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ 550,000 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าการลงทุนในปี 59 สูงกว่าในปี 58 ถึง 196%  ที่มีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 197,740 ล้านบาท ขณะที่จำนวนโครงการอยู่ที่ 1,546 โครงการ เพิ่มขึ้น 56% จากปี 58 ที่มีจำนวน 988 โครงการ

 

แค่ปี่กลองเชิดดิสเครดิตมาเต็ม!!ทีมศก.เพื่อไทยบลั๊ฟแรง 4 รมต.ประชารัฐ  ดูให้ชัดๆจริงหรือมั่ว 4 ปี"ลุงตู่"ลงทุนBOIลดฮวบ!? ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ 

 

ขณะที่เมื่อต้นปี 2561  ที่ผ่านมา   นางสาวดวงใจ  อัศวจินตจิตร์  เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ปี 2561  บีโอไอตั้งเป้าหมายยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนไว้ที่  720,000 ล้านบาท  โดยเป็นการตั้งยอดเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายปี 2560  ที่ตั้งไว้ 600,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12 และนับเป็นการตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นจากปกติจะตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 สำ

 

 

ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2560  มียอดนักลงทุนยื่นโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้  โดยมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมรวม  1,456 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม  641,978 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 600,000 ล้านบาท  และในจำนวนนี้เป็นการยื่นขอลงทุนในพื้นที่อีอีซี 388 โครงการ  มูลค่าเงินลงทุน 296,889 ล้านบาท   นอกจากนี้มูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด 641,978 ล้านบาท เป็นการยื่นขอรับส่งเสริมใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นมูลค่า 392,141 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม 241,055 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่หรือ new s Curve 151,087 ล้านบาท ส่วนปี 2561 มีแผนส่งเสริมการลงทุนเพื่อสานต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 และผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่อีอีซี

 

ขณะเดียวกัน  นางสาวดวงใจ  ยังเปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย ประจำปี 2561 จากจำนวน 600  บริษัทที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักลงทุนต่างชาติ 98.5% มีแผนการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง สูงสุดในรอบ 5 ปี เมื่อเทียบกับผลสำรวจที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2557 โดยนักลงทุนต่างชาติ 33% มีแผนที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทย และนักลงทุนอีก 65.5% ยังรักษาระดับการลงทุนในไทยไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนนักลงทุนที่มีแผนลดระดับการลงทุนตามสภาวะธุรกิจ มีสัดส่วนเพียง 1.5% เท่านั้น

 

โดยปัจจัยที่ยังคงทำให้นักลงทุนวางแผนจะขยายการลงทุน รวมทั้งยังคงเดินหน้ารักษาการลงทุนในไทยนั้น  มีข้อมูลประกอบว่าเป็นเพราะ การมีวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพียงพอ 54.7% ตามด้วยการมีผู้รับช่วงการผลิต (ซัพพลายเออร์) ที่เพียงพอ 50.8% และมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จูงใจให้เกิดการลงทุนในประเทศไทย 44.5%

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนที่มีการนำเสนอเป็นข้อมูลก่อนหน้า  ซึ่้งก็มีความชัดเจนในระดับสำคัญว่าแนวโน้มการลงทุนในไทย  ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุการณ์ปฏิวัติ 22 พ.ค. 2557  เป็นผลสำคัญทำให้ยอดการส่งเสริมการลงทุนลดลงอย่างมาก เป็นเรื่องถูกต้องกับข้อเท็จจริงมากน้อยขนาดไหน  โดยเฉพาะกับอีก 4-5 ข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการทำงานของ 4 รัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ  ของทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย  ทั้งกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับภารกิจของกระทรวงพาณิชย์  , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  พร้อมระบุว่าแนวคิดทักษิโณมิกส์ยังถือเป็นที่นิยมของประชาชนจำนวนมาก

 

แค่ปี่กลองเชิดดิสเครดิตมาเต็ม!!ทีมศก.เพื่อไทยบลั๊ฟแรง 4 รมต.ประชารัฐ  ดูให้ชัดๆจริงหรือมั่ว 4 ปี"ลุงตู่"ลงทุนBOIลดฮวบ!?