ประทับใจมิรู้ลืม เผยเรื่องราวแพทย์-พยาบาลผู้ถวายพระประสูติกาล ร.9 พระสหายคนแรกของในหลวงแห่งสยาม

 ผ่านพ้นมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (13 ตุลาคม 2559) แล้วกับเหตุการณ์สะเทือนใจพสกนิกรชาวไทย ทั้งประเทศกับความสูญเสียเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต ในกาลนี้เวียนมาบรรจบครบวาระอีกครั้งกับวันที่ 13 ตุลาคม 2561

 

ประทับใจมิรู้ลืม เผยเรื่องราวแพทย์-พยาบาลผู้ถวายพระประสูติกาล ร.9 พระสหายคนแรกของในหลวงแห่งสยาม

 

     ผ่านพ้นมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (13 ตุลาคม 2559) แล้วกับเหตุการณ์สะเทือนใจพสกนิกรชาวไทย ทั้งประเทศกับความสูญเสียเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต ในกาลนี้เวียนมาบรรจบครบวาระอีกครั้งกับวันที่ 13 ตุลาคม 2561 ที่ใกล้จะถึงวันครบรอบ 2 ปี หลังเหตุวิปโยคครั้งสำคัญของพสกนิกรชาวไทย ในวันนี้ทางสำนักข่าวทีนิวส์จะพาทุกท่านย้อนไปชมเหตุการณ์สุดประทับใจเมื่อครั้ง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมชีพอยู่

 

     ย้อนกลับไปเมื่อแรกประสูติ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 เวลา 08.45 น. ครั้ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาต์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาซูเซตส์ สหรัฐอเมริการ โดยแพทย์ผู้ถวายการประสูติแด่หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยาหม่อมในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ซึ่งประทับศึกษาวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในครั้งนั้นคือ ดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตมอร์ (Dr. W. Stewart Whittemore) ทั้งนี้เป็นส่วนน้อยนักที่หลายคนจะทราบว่า ดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตมอร์ นั้นเป็นพระสหายคนแรก นอกเหนือจากการเป็นแพทย์ผู้ถวายการประสูติ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นความทรงจำของ ดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตมอร์  จดจำไม่รู้ลืม และคาดไม่ถึงว่าเด็กน้อยผู้นี้จะเติบใหญ่ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในใจพสกนิกรชาวไทยทุกคน 

 

  ประทับใจมิรู้ลืม เผยเรื่องราวแพทย์-พยาบาลผู้ถวายพระประสูติกาล ร.9 พระสหายคนแรกของในหลวงแห่งสยาม


     โดยดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตมอร์ ได้จดจำเรื่องราวและบันทึกไว้เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันพระบรมสมภพได้ทั้งหมด โดยจดอยู่ในบันทึกวารสารบอสตันโกลบ ฉบับปี พ.ศ. 2503 โดยเนื้อความตอนหนึ่งในบันทึกระบุว่า "พระองค์ทรงมีพระพลานามามัยดีเยี่ยม"  "หม่อมแม่ของพระองค์ ทรงเป็นคนไข้ที่ยอดเยี่ยมไม่ทรงบ่นใดๆ"  ในตอนนั้นเด็กน้อยผู้นี้มีนามว่า "baby Songkla" เมื่อแรกประสูติมีความน่ารักแข็งแรง จนดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตมอร์ หลงรักเด็กชายผู้นี้ และมิอาจรู้เลยว่าในเวลาอีก 19 ปี ต่อมา เด็กชายผู้นี้จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศหรือประเทศไทย ยังความเจริญต่างๆ จนเป็นที่รักของพสกนิกรชาวไทย 

 

    นอกจากนี้น้อยคนจะรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่มีประสูติกาล ณ สหรัฐอเมริกา จนขึ้นครองราชบัลลังก์ต่อเนื่องกว่า 67 ปี

 

 

 

ประทับใจมิรู้ลืม เผยเรื่องราวแพทย์-พยาบาลผู้ถวายพระประสูติกาล ร.9 พระสหายคนแรกของในหลวงแห่งสยาม

 

     ทั้งนี้มีการระบุไว้ชัดเจนเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงพยาบาลเมาต์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเสตส์ สหรัฐอเมริกา สถานที่ซึ่งเป็นที่ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 โอกาสนี้ได้พระราชทานของที่ระลึกแก่ "พระสหายคนแรก" ดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตต์มอร์ นายแพทย์ผู้ถวายการประสูติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 และ แก่นางพยาบาลทั้ง 4 คน คือ มิสซิส เลสลี่ เลตัน มิส เจนีเวียฟ เวลด้อน มิสซิสมาร์กาเร็ท เฟย์ และมิสรูธ แฮริงตันเหตุการณ์ในวันนั้นมีบันทึกอยู่ในหนังสือเรื่อง เสด็จพระราชดําเนิน สหรัฐอเมริกา พุทธศักราช 2503 ปากีสถาน พุทธศักราช 2505 และ สหพันธรัฐมลายา พุทธศักราช 2505  พระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต มีความว่า...

 

"หมอชรา ดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตต์มอร์ ผู้ซึ่งถวายการประสูติ ที่ทรงพบครั้งแรกแล้วที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิดก่อนเสวยพระกระยาหารกลางวัน ได้รับพระราชทานหีบบุหรี่ถมทอง มีพระปรมาภิไธยข้างนอก และตัวหนังสือสลักไว้ข้างในว่า ให้เพื่อนคนแรกของฉันดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตต์มอร์เพื่อเป็น token of affectionate sentiment จะแปลให้ถูกใจก็ไม่สำเร็จ เลยลอกภาษาฝรั่งให้ยายอ่านเอาเอง

 

      ตอนนั้นหมอวิตต์มอร์ คอยมารับเสด็จอยู่ที่นี่พร้อมด้วยนางพยาบาล 4 คน ผู้ช่วยของแกเมื่อครั้งกระโน้น นางพยาบาลทั้ง 4 มีชื่อว่า มิสเวลด้อน มิสแฮริงตัน มิสซิสเฟย์ และมิสซิสเลตัน 3 คนแรกยังเป็นนางพยาบาลอยู่ที่เมาวนท์ออเบินนั่นเอง ส่วนมิสซิสเลตันเก๋กว่าคนอื่น 
ไม่ได้แต่งนางพยาบาลอย่างอีก 3 คน แกแต่งตัวโก้สวมหมวกขนนกมีเวลคลุมลงมาที่หน้าผากก็ได้ ตลบขึ้นก็ได้ สวมสร้อยคอไข่มุก เดี๋ยวนี้มีตำแหน่งใหญ่โต เป็นถึงผู้อำนวยการของสมาคมศิษย์เก่าของนางพยาบาลเมืองนี้

 

 

 

ประทับใจมิรู้ลืม เผยเรื่องราวแพทย์-พยาบาลผู้ถวายพระประสูติกาล ร.9 พระสหายคนแรกของในหลวงแห่งสยาม

 

   นางพยาบาลทั้ง 4  คนนี้ เมื่อ 32 ปีมาแล้วคงจะเป็นนางพยาบาลสาวๆ สำเร็จใหม่ๆ ตัวเล็กแบบบาง บัดนี้กลายเป็นนางพยาบาลแก่ๆ สวมแว่นตาหนา ตัวอ้วนๆ แต่ท่าทางยังตุ้งติ้งทั้ง 4 คน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานตลับแป้งถมทอง มีพระปรมาภิไธยที่ฝาตลับแก่ทุกคน และตรัสคล้ายๆ ว่า "ต้องใช้บ้างนะ" คนหนึ่งก็เปิดฝาตลับแป้งขึ้นส่องกระจกในนั้น พลางทำตาหวานร้องว่า "จะใช้ตลอดชีวิต และจะนึกถึงท่านตลอดเวลา" อีกคนหนึ่งร้องว่า "You were such a nice baby!" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็ทรงแย้มพระสรวญ


 
    ทั้งมีพระราชดำรัสตอบว่า "I hope I have grow into something nice too" ตอนนี้ทั้ง 4 คนก็รุมตุ้มเข้ามาใกล้พระองค์ ร้องว่า "Of course, of course." ดังลั่น เมื่อทั้ง 2 พระองค์เสด็จเลยไปทรงทักทายกับคนอื่นแล้วแม่แก่ทั้ง 4 คนก็ยังคุยต่อไม่จบ เสียงแหลมเจี๊ยวทีเดียว ต่างคนร้องว่า "ท่านช่างดีเหลือเกิน" "น่ารักเหลือเกิน" What a nice boy! "ฉันจะไม่มีวันลืมวันนี้เลย"

 

     มิสซิสเลตัน 1 ในพยาบาลผู้ทำคลอดนึกถึงความหลัง ก็ทำตาลอย บอกกับคนที่มาหยุดฟังแกว่า "ท่านเป็นทารกที่น่าเอ็นดูที่สุด พ่อแม่ของท่านทำตนเป็นคนธรรมดาๆ ไม่ชอบเป่าแตร ตีกลอง ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินออกจากบอสตัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักหนังสือพิมพ์อเมริกัน เข้าเฝ้าและพระราชทานสัมภาษณ์เป็นเวลานานอย่างไม่ถือพระองค์ ในช่วงหนึ่งของการพระราชทานสัมภาษณ์ นักหนังสือพิมพ์ได้กราบทูลถามความรู้สึกส่วนพระองค์ว่า " นี่เป็นการเสด็จฯ เยือนอเมริกาเป็นครั้งแรก…ทรงรู้สึกอย่างไรบ้าง?"  มีพระราชดำรัสตอบว่า
 "ก็ตื่นเต้นที่ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเพราะข้าพเจ้าเกิดที่นี่ …ที่เมืองบอสตัน" 

 

    ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นความทรงจำที่ ดอกเตอร์ ดับบลิว สจ๊วต วิตมอร์ และเหล่าพยาบาล ยังคงจำได้ดีจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต นี่เป็นเพียงเรื่องราวสุดประทับใจเพียงเล็กน้อยเท่านั้นยังมีอีกหลายเรื่องราว ที่ทำให้ผู้ติดตามใกล้ชิด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
นั้นประทับใจอยู่เสมอในหลายเรื่องราว

 

ขอคุณข้อมูลจาก ชมรมประวัติศาสตร์สยาม