รู้ครบ จบในข่าวเดียว ผู้ประกันตนฟังทางนี้จ่ายเงิน "ประกันสังคม" ทุกเดือน ได้สิทธิเยอะกว่าที่คิดเช็คก่อนเสียประโยชน์

ในสังคมของคนทำงานการเสียเงินให้กองทุนประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งข้อบังคับในการเก็บออมของรัฐบาลเพื่อเป็นเงินให้คนทำงานนั้นมีใช้ในยามเจ็บป่วยซึ่งจะหักจากเงินเดือนของคนทำงานทุกเดือนตามอัตราส่วนของฐานเงินเดือนนั้นๆ ซึ่งเมื่อถึงเวลาคนทำงานจะรู้กันดีว่าเงินที่หักไปนั้นจะสามารถเบิกประกันสังคมได้จากค่ารักษาพยาบาล ค่าทำคลอด

 

รู้ครบ จบในข่าวเดียว ผู้ประกันตนฟังทางนี้จ่ายเงิน "ประกันสังคม" ทุกเดือน ได้สิทธิเยอะกว่าที่คิดเช็คก่อนเสียประโยชน์

 

      ในสังคมของคนทำงานการเสียเงินให้กองทุนประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งข้อบังคับในการเก็บออมของรัฐบาลเพื่อเป็นเงินให้คนทำงานนั้นมีใช้ในยามเจ็บป่วยซึ่งจะหักจากเงินเดือนของคนทำงานทุกเดือนตามอัตราส่วนของฐานเงินเดือนนั้นๆ ซึ่งเมื่อถึงเวลาคนทำงานจะรู้กันดีว่าเงินที่หักไปนั้นจะสามารถเบิกประกันสังคมได้จากค่ารักษาพยาบาล ค่าทำคลอด และเป็นเงินออมเมื่อเกษียณ นอกจากนี้คนที่จ่ายเงิ

นประกันสังคม ยังมีสิทธิประโยชน์ที่คนทำงานจะได้มากกว่านั้น โดยวันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูกันว่าสิทธิประกันสังคมที่เราได้นั้นมีอะไรบ้าง

โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนประกันสังคมหลักๆ มีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
1. ผู้ประกันตน
2. นายจ้าง
3. รัฐบาล

สำหรับ สิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันแล้วแต่กรณีในที่นี้จะพูดถึงเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคมว่าผู้ถือสิทธิสามารถได้สิทธิอะไรได้บ้าง ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกเป็น 7 หมวดใหญ่ ดังนี้

1. กรณีเจ็บป่วย 
เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และในกรณีเจ็บป่วยสามารถเข้ารักษาตัวตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอื่นนั้นต้องทำการสำรองจ่ายไปก่อนจึงจะมาดำเนินการเบิกคืนย้อนหลังได้ ทั้งนี้มีอัตราการเบิกคืนที่กำหนดดังนี้
 
- เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ การรักษาทั้งอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

- เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท

ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาทตามระยะเวลาการผ่าตัด

- กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาทต่อปี 

โดยหลักฐานที่ต้องใช้แสดงเพื่อขอรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาล ได้แก่ 
- บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

เอกสารประกอบการยื่นคำขอกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )      
2. ใบรับรองแพทย์ (ระบุอาการที่เกิดขึ้นโดยละเอียด)     
3. ใบเสร็จรับเงิน (กรณีฉุกเฉินไม่เข้าโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ)     
4. หนังสือรับรองจากนายจ้าง (กรณีเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้)     
5. สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ     
6. เอกสารหลักฐานอื่นหากเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา     
7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) 

หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง  
สถานที่ยื่นเรื่องสามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

รู้ครบ จบในข่าวเดียว ผู้ประกันตนฟังทางนี้จ่ายเงิน "ประกันสังคม" ทุกเดือน ได้สิทธิเยอะกว่าที่คิดเช็คก่อนเสียประโยชน์

 

2. กรณีการคลอดบุตร 
เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ ต้องมีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 15 เดือน โดยสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับได้แก่

- สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลคลอดบุตรได้ 13,000 บาท / การคลอดบุตร 1 ครั้ง นอกจากนี้ทางกองทุนประกันยังมีการจ่ายค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มอีก 1,000 บาท ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีการเข้ารับบริการฝากครรภ์ในสถานพยาบาลตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด

- ผู้ประกันตนหญิงได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน ซึ่งสิทธินี้สามารถใช้ได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2 เท่านั้น

- กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 
3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ

หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และสามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคม จังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

รู้ครบ จบในข่าวเดียว ผู้ประกันตนฟังทางนี้จ่ายเงิน "ประกันสังคม" ทุกเดือน ได้สิทธิเยอะกว่าที่คิดเช็คก่อนเสียประโยชน์

 

3. กรณีทุพพลภาพ
เงื่อนไขการใช้สิทธิ ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับมีดังนี้

 - รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิตในกรณีทุพพลภาพร้ายแรง หากไม่ร้ายแรงจะได้รับตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามที่ประกาศฯ กำหนด

- รับค่าบริการทางการแพทย์ หากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้เท่าที่จ่ายจริงตามจำเป็นและสมควร หากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท ในกรณีเป็นผู้ป่วยใน กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้เดือนละไม่เกิน 4,000 บาท ในส่วนของค่ารถและค่าบริการทางการแพท์ย์ จะได้รับการเหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท

- ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ

- หากผู้ทุพพลภาพเสียชีวิต ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท

- ได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิต หากผู้ทุพพลภาพจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 ปีแต่ไม่ถึง 10 ปีจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 2 เดือน แต่หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 6 เดือน

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณียื่นคำขอฯ เพื่ออนุมัติให้เป็นทุพพลภาพ)
       -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
       -  ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ
       -  สำเนาเวชระเบียน
       -  สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร มีดังนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับค่าอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคกรณีทุพพลภาพ
        -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) หรือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค (สปส. 2-09)
        -  ใบเสร็จรับเงิน
        -  ใบรับรองแพทย์ (ให้แพทย์ระบุประเภทอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ฯที่ใช้)
        -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม

หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ (กรณีผู้ทุพพลภาพเป็นผู้ยื่นเรื่อง)
       -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01       
       -  ใบรับรองแพทย์
       -  ใบเสร็จรับเงิน
       -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม 
 
หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่ารถพยาบาล/พาหนะรับส่ง/ (กรณีผู้ทุพพลภาพเป็นผู้ยื่นเรื่อง)
      -   แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม สปส. 2-01
      -  ใบรับรองแพทย์
      -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม 

สถานที่ยื่นเรื่อง ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

4. กรณีเสียชีวิต
เงื่อนไขการใช้สิทธิ สาเหตุการเสียชีวิตต้องไม่เกิดจากการทำงาน และจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับมีดังนี้
 
- ผู้จัดการศพสามารถขอค่าทำศพได้ 40,000 บาท

- เงินสงเคราะห์ กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้บุคคลที่มีชื่อระบุอยู่ในหนังสือระบุให้เป็นผู้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต หากไม่มีหนังสือระบุไว้ต้องนำมาเฉลี่ยให้ บิดา มารดา สามี ภรรยา หรือ บุตร ในจำนวนที่เท่ากัน ซึ่งจะได้เงินสงเคราะห์ดังนี้ หากผู้เสียชีวิตจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือนจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 2 เดือน หากผู้เสียชีวิตจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้เงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 6 เดือน

- ทายาทสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพได้ภายใน 2 ปี 

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

1. ผู้จัดการศพผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยมีหลักฐานครบถ้วน
2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
4. พิจารณาสั่งจ่าย ตามนี้
   1) เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
   2) ส่งธนาณัติให้ผู้มีสิทธิ
   3) โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 

สถานที่ยื่นเรื่อง ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

 

รู้ครบ จบในข่าวเดียว ผู้ประกันตนฟังทางนี้จ่ายเงิน "ประกันสังคม" ทุกเดือน ได้สิทธิเยอะกว่าที่คิดเช็คก่อนเสียประโยชน์

 

5. กรณีสงเคราะห์บุตร ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับมีดังนี้
เงื่อนไขการใช้สิทธิ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
 
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์
- สามารถขอใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 3 คน

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร แบ่งเป็น 4 กรณี ดังนี้
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
- สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด

สถานที่ยื่นเรื่อง ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
- สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
- กรณีเปลี่ยนชื่อ สกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ สกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
- กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดินทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่

- เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
     1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
     2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
     3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
     4. พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

สถานที่ยื่นเรื่องยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

6. กรณีชราภาพ ที่สำนักงานกองทุนประกันสังคมกำหนดให้ผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปี บริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพและบำเหน็จชราภาพ ตามเงื่อนไขการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน แต่ละคน แยกออกเป็น 2 กรณีดังนี้
 
กรณีบำนาญชรา เงื่อนไขในการใช้สิทธิ มีดังนี้

- ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ซึ่งไม่ต้องจ่าย 180 เดือนติดต่อกันก็ได้

- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ในส่วนของสิทธิประโยชน์ มี 2 ประการ

- ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

- ถ้าจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนจะได้รับการปรับเพิ่มบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 1.5 สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนนั้น

กรณีบำเหน็จชราภาพมีเงื่อนไขการใช้สิทธิ ดังนี้

- จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่ผู้กระกันตนจะได้รับ มี 3 ประการ

- ถ้าจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ

- ถ้าจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

- กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับตั้งแต่ได้สิทธิบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

ขั้นตอนการขอรับสิทธิผู้ประกันตน / ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน
    -  เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา
    -  สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
    -  พิจารณาสั่งจ่าย
เงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว

7. กรณีว่างงาน มีเงื่อนไขการใช้ สิทธิประกันสังคม ดังนี้

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน

- มีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป

- ผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานผ่าน เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน ของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง

- รายงานตัวเป็นผู้ว่างงานผ่าน เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน ของรัฐ ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

- เป็นผู้มีความสามารถในการทำงานและพร้อมจะทำงานตามที่สำนักงานจัดหางานของรัฐจัดหาให้

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน

- ต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณี ทุจริตต่อหน้าที่ หรือ จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือทำผิดกฎหมายกรณีร้ายแรง หรือ ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร หรือ ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
 
สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนที่จะได้รับเมื่อเกิดกรณีว่างงาน ได้แก่

- ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วันในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

- ในกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามระยะเวลา จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 90 วันในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ยซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

- กรณีที่ว่างงานเพราะถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน

- กรณีว่างเงินเพราะลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างมากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

ส่วนกรณีการขอยื่นใช้สิทธิ ประกันสังคมนั้นสามารถทำได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น. โดยเลือกว่าจะขอยื่นรับประโยชน์ในกรณีใด จากแบบฟอร์ม หากเป็นกรณีการว่างงานจะแตกต่างและมีเงื่อนไขดังนี้

1. กรอบแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
2. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
3. หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
4. หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน 
      
ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ต้องการขอรับเงินทดแทนในกรณีว่างงานต้องขึ้นทะเบียนว่างงานและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ www.empui.doc.go.th ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทนก่อน   

ทั้งหมดนี้ถือเป็นสิทธิประโยชน์ ที่ผู้ประกันตนควรรู้เมื่อมีการจ่ายเงินให้กองทุนหลักประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ผู้ประกันตนนั้นรู้และเข้าถึงหลักประกันสังคม ได้อย่างมีคุณภาพไม่ปล่อยผ่านจนเสียประโยชน์

 

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานประกันสังคม