ข่าวดี กรมสรรพากรยืดอายุ แวต 7% ไปอีก หวังประชาชนช้อปสบายใจปีใหม่นี้

 นับว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน หลังกรมสรรพากร ออกหนังสือชี้แจง หลังมีกำหนดการให้ปรับอัตราเพิ่มภาษีแวต เป็น 10% จากที่คงไว้ 7 % ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีแวต ถือเป็นภาษีทางอ้อมที่อยู่ในสินค้าหรือบริการที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี ผู้ที่รับภาระภาษีดังกล่าวคือผู้ซื้อ/ผู้บริโภค เนื่องจากจะถูกบวกเข้าไปในราคาสินค้า/บริการ

 

 

 

ข่าวดี กรมสรรพากรยืดอายุ แวต 7% ไปอีก หวังประชาชนช้อปสบายใจปีใหม่นี้

 

       นับว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน หลังกรมสรรพากร ออกหนังสือชี้แจง หลังมีกำหนดการให้ปรับอัตราเพิ่มภาษีแวต เป็น 10% จากที่คงไว้ 7 % ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีแวต ถือเป็นภาษีทางอ้อมที่อยู่ในสินค้าหรือบริการที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี ผู้ที่รับภาระภาษีดังกล่าวคือผู้ซื้อ/ผู้บริโภค เนื่องจากจะถูกบวกเข้าไปในราคาสินค้า/บริการ ดังนั้น หากมีการปรับภาษีแวต ให้กลับมาใช้อัตราที่ 10 เปอร์เซ็นต์ แน่นอนที่สุดว่าจะต้องส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนเป็นแน่ เพราะภาษีตัวนี้ถือเป็นภาษีที่ทุกคนต้องเสียกันอยู่ทุกวัน แม้ประชาชนบางคนจะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีก็ตาม
  

ข่าวดี กรมสรรพากรยืดอายุ แวต 7% ไปอีก หวังประชาชนช้อปสบายใจปีใหม่นี้


        อย่างไรก็ตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศต่างๆ ในแถบภูมิภาคอาเซียน นั้นมีดังนี้ กัมพูชา 10% , อินโดนีเซีย 10% , มาเลเซีย 6% , ฟิลิปปินส์ 7-12% , สิงคโปร์ 7% , เวียดนาม 8-12% แต่เนื่องด้วยเศรษฐกิจในประเทศไทยนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทางกระทรวงการคลังจึงร่วมมือกับกรมสรรพกรขยายเวลาการเรียกเก็บภาษี จาก 7% เป็น 10% โดยขยายต่อไปอีกถึงเดือน ก.ย. 2562 เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายของประชาชนในช่วงปีใหม่ ทั้งยังเป็นการลดค่าครองชีพของประชาชนอีกทางหนึ่ง

 

 

 

   ทั้งนี้ทางกรมสรรพกรได้ออกหนังสือเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2561 โดยทางกรมสรรพกรขอแจ้งให้ประชาชนทั่วไปทราบโดยทั่วกันว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 จนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2562  ทั้งนี้ตามพระราชกฤษฎีกา ที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีแวต) (ฉบับที่ 669) พ.ศ. 2561 โดยให้ยังคงจัดเก็บภาษีแวตในอัตรา 7% รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% และภาษีท้องถิ่น 0.7%)สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2562

 

ข่าวดี กรมสรรพากรยืดอายุ แวต 7% ไปอีก หวังประชาชนช้อปสบายใจปีใหม่นี้

 

ข่าวดี กรมสรรพากรยืดอายุ แวต 7% ไปอีก หวังประชาชนช้อปสบายใจปีใหม่นี้

 

    ส่วนการที่ระบุว่าเป็นการลดอัตราภาษีลงมานั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีแวตในอัตรา 10% จึงจำเป็นต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดอัตราภาษีแวตลงมาที่อัตรา 7% รวมภาษีท้องถิ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นกลไกเศรษฐกิจ และช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ให้สามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง อันจะทำให้การบริโภคและการลงทุนของประเทศมีการขยายตัวต่อไป

    ทั้งนี้เรามาดูกันสิว่าเราจ่ายภาษีแวต 7 % กันมานานเท่าไหร่แล้ว

ปี 2535 – VAT 7% 
    เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มบังคับใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีลงเหลือ 6.3% บวกจ่ายให้ท้องถิ่นอีก 0.7% ประกาศบังคับใช้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โดยกระทรวงการคลังมอบให้กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ

ปี 2540 – VAT 10% 
ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง IMF เสนอให้ประเทศไทยขึ้น VAT เป็น 10%

ปลายปี 2540 – VAT 7% 
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก ต่อมารัฐบาลนายชวน หลีกภัย มีการปรับลดภาษี จาก 10% เป็น 7% 

ก.ย. 2557  -  จนถึงปัจจุบัน – VAT 7% 
หลังจากปลายปี 2540 ทุกๆ 2 ปี ก็ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มมาเรื่อยๆ ดังเช่นปี  2561 ได้มีการเลื่อน ไปถึงวันที่ 30 ก.ย. 2562 เพื่อให้ประชาชนนั้นมีรายจ่ายที่น้อยลงกว่าเดิม

 

ข่าวดี กรมสรรพากรยืดอายุ แวต 7% ไปอีก หวังประชาชนช้อปสบายใจปีใหม่นี้

 

     ซึ่งจริงๆ แล้วตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีแวต ในอัตราร้อยละ 10 แต่ในปัจจุบันได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีฯ ฉบับที่ 549  ให้ลดลงเหลือเพียง 6.3% เท่านั้น แต่ที่ต้องเสีย 7% เพราะว่าต้องจ่ายอีก 1
ใน 9 ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเท่ากับ 0.7% ให้กับท้องถิ่นตามบทบัญญัติของกฎหมายปกครองส่วนท้องถิ่นสรุปคือ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆ คือ 10 % แต่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีลงเหลือ 6.3% บวกจ่ายให้ท้องถิ่นอีก 0.7% รวมเป็น 7% นั่นเอง 

 

    และหากมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งแรกที่ส่งผลกระทบคือ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปจะปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอย ได้ลดลง อาจจะส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจหดตัวลงได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลส่วนหนึ่งจาก คณะเศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์  , กรมสรรพากร