คุณอาจไม่ใช่แค่อ้วน มันแอบอยู่ในร่าง ระวัง "โรคคุณไสย" ยอดฮิต "ถุงน้ำเดอร์มอยด์" รักษาไม่ทันอาจชีวาวาย

  หากเอ่ยถึง โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่ผิดปกติสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ อธิบายง่ายๆ คือซีสต์ที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังซึ่งจัดวางอยู่ผิดตำแหน่ง มักสะสมอยู่ตั้งแต่ผู้ป่วยยังเด็กแล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์อื่นๆ

 

      หากเอ่ยถึง โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่ผิดปกติสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ อธิบายง่ายๆ คือซีสต์ที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังซึ่งจัดวางอยู่ผิดตำแหน่ง มักสะสมอยู่ตั้งแต่ผู้ป่วยยังเด็กแล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์อื่นๆ เช่น ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนเกิดเป็นถุงน้ำที่รังไข่เรียกว่า เดอร์มอยด์ซีสต์ ซึ่งลักษณะอาการที่ปรากฏมักทำให้หลายคนคิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ ทั้งที่ความจริงคือ โรคถุงน้ำดีในรังไข่ผิดปกติหรือซีสต์ ที่พบได้บ่อยในผู้หญิงสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย สามารถรักษาได้ด้วยการเจาะเอาของเหลวหรือสารที่อยู่ภายในซีสต์ออก หากผู้ป่วยกลัวก็อาจฉีดยาหรือรับการให้ยาเพื่อลดอาการเนื้องอกของซีสต์ หรือทำให้ซีสต์ฝ่อ ในกรณีที่เป็นอันตรายต่อระบบการทำงานภายใน แพทย์จะให้ผ่าตัดเอาซีสต์ออก 

      และเมื่อไม่นานนี้ เฟซบุ๊ก อรัณ ไตรตานนท์ โต๊ะทำงาน ได้ออกมาเล่าเรื่องราวของหญิงรายหนึ่ง พร้อมอธิบายถึงอาการของ โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ออกมาให้หลายคนนั้นเข้าใจง่ายถึงอาการของโรคนี้ ระบุว่า...

       วันนี้มีเรื่องราวของถุงน้ำรังไข่ชนิดที่เรียกว่า Dermoid cyst (เดอร์มอยด์ซีสต์) มาเล่าให้ฟังครับ ผู้ป่วยรายนี้เป็นสุภาพสตรีอายุ 38ปี สุขภาพดีแข็งแรง ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เรื่องราวเริ่มมาจากมีหน้าท้องยื่นซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าตัวเองอ้วน จึงมีหน้าท้องยื่นออกมา (ผู้อ่านลองคลำหน้าท้องตัวเองดูไหมครับ?) ต่อมาได้ไปนวดแผนไทย พนักงานนวดทักว่ามีเนื้องอกหรือเปล่า เหมือนก้อนจะกลิ้งไปมาได้นะ! ผู้ป่วยจึงเข้าพบแพทย์ ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการทำ Ultrasound พบว่ามีถุงน้ำในท้องน้อย

 

คุณอาจไม่ใช่แค่อ้วน มันแอบอยู่ในร่าง ระวัง "โรคคุณไสย" ยอดฮิต "ถุงน้ำเดอร์มอยด์" รักษาไม่ทันอาจชีวาวาย

 

 

      แพทย์จึงส่งตรวจ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติม สรุปว่ามีถุงน้ำรังไข่ขนาด 16 ซม. ในท้องน้อย จากภาพทางรังสีจะเห็นว่าถุงน้ำมีลักษณะผิวเรียบ เป็นวงรีคล้ายไข่ไก่ ภายในมีของเหลวแยกเป็น 2 ชั้นชัดเจน เมื่อทำการผ่าตัดพบว่าภายในถุงน้ำนี้ประกอบด้วย ไขมัน ผิวหนัง เส้นผม กระดูก ฟัน อยู่ภายในก้อนครับ น้ำหนักรวมประมาณ 1.2 กิโลกรัม ในผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Dermoid cyst( เดอร์มอยด์ซีสต์ ) เรียกอีกอย่างว่า "Mature cystic teratoma" Dermoid cyst (เดอร์มอยด์ซีสต์) พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ อายุเฉลี่ยที่พบคือประมาณ 30 ปี ส่วนใหญ่จะพบเป็นข้างเดียว จากสถิติทั่วไปพบเป็นสองข้างร้อยละ15 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาจมาด้วยอาการปวดท้องหรือก้อนในช่องท้อง เนื้องอกชนิดนี้มีโอกาสเกิดการบิดขั้ว (torsion) ได้บ่อย เนื่องจากขั้วของถุงน้ำรังไข่ชนิดนี้มักจะค่อนข้างยาว และถ้าเป็นที่รังไข่ข้างขวาจะมีโอกาสบิดมากกว่าข้างซ้าย อาจารย์แพทย์บางท่านเชื่อว่าถุงน้ำรังไข่ข้างซ้าย มีลำไส้ใหญ่ส่วนที่เรียกว่า sigmoid ขวางและป้องกันการบิดขั้ว

Dermoid cyst สามารถพบขนาดได้หลายขนาดตั้งแต่ 1-30 ซม. ผนังด้านในของถุงน้ำมักมีส่วนนูน ค่อนข้างแข็ง เรียกว่า Rokitansky protuberance ภายในก้อนประกอบด้วยส่วนที่เป็นผิวหนัง กระดูก กระดูกอ่อน เส้นผม เนื้อเยื่อประสาท สารไขมัน และฟัน เป็นต้น

ส่วนใหญ่ถุงน้ำชนิดนี้จะมีความหนาจึงไม่ค่อยแตก ผิวเรียบตึง เคลื่อนไหวได้ บางทีก้อนอาจจะเคลื่อนที่มาอยู่หน้าต่อมมดลูก เรียกว่า Kustner’s sign.,หากเกิดการแตกของถุงน้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องมากจากภาวะ Peritonitis

 

      การรักษาที่เหมาะสม คือการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งการผ่าตัดผ่านกล้อง และการผ่าตัดวิธีมาตรฐาน ผู้ป่วยสามารถขอคำแนะนำได้จากสูตินรีแพทย์ผู้ดูแล ซึ่งสูตินรีแพทย์มักจะทำการผ่าตัดเลาะถุงน้ำออกจากรังไข่ที่ปกติ (cystectomy) เพื่อเก็บเนื้อรังไข่ที่ดีเอาไว้ ในขณะผ่าตัดแพทย์ทุกท่านมักจะระวังไม่ให้ถุงน้ำเกิดการรั่วหรือแตก และจะตรวจดูรังไข่ด้านตรงข้ามว่ามีความผิดปกติหรือไม่

 

คุณอาจไม่ใช่แค่อ้วน มันแอบอยู่ในร่าง ระวัง "โรคคุณไสย" ยอดฮิต "ถุงน้ำเดอร์มอยด์" รักษาไม่ทันอาจชีวาวาย

 

      ผู้ป่วยที่เป็น Dermoid cyst แทบทุกคนกังวลว่าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งหรือไม่ จากสถิติที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทั่วไปพบว่า Dermoid cyst พบการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง (malignant transformation) ร้อยละ1 เท่านั้นนะครับ และมักจะเป็นชนิดที่เรียกว่า squamous cell carcinoma arising in Dermoid cyst.

 

คุณอาจไม่ใช่แค่อ้วน มันแอบอยู่ในร่าง ระวัง "โรคคุณไสย" ยอดฮิต "ถุงน้ำเดอร์มอยด์" รักษาไม่ทันอาจชีวาวาย

 

คุณอาจไม่ใช่แค่อ้วน มันแอบอยู่ในร่าง ระวัง "โรคคุณไสย" ยอดฮิต "ถุงน้ำเดอร์มอยด์" รักษาไม่ทันอาจชีวาวาย

 

     โดยความเห็นส่วนตัวของผม จะแนะนำให้สุภาพสตรีตรวจสุขภาพ รวมถึงพบสูตินรีแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อตรวจภายใน หากพบความผิดปกติ แพทย์มักจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมต่อไป เพื่อนำไปสู่การวางแผนดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ส่วนภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่อาจพบได้ มี 3 อาการ ได้แก่

1. บิดขั้ว (Torsion) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) คนไข้จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้นๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด
 
2. แตกหรือรั่ว (Rupture or Leakage) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) คนไข้จะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้
 
3. ติดเชื้อ (Infection) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง
 
4. มะเร็ง (Cancer) ถุงน้ำรังไข่ชนิดนี้แม้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่มะเร็ง แต่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1% โดยไม่จำเป็นต้องพบในคนอายุมากเท่านั้น เป็นมะเร็งที่พบในคนอายุน้อยได้ ซึ่งวิธีการตรวจให้ทราบได้นั้น คือการผ่าตัดเท่านั้น การอัลตราซาวนด์บอกได้เพียงว่ามีถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่

นอกจากนี้ การผ่าตัดถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) นั้นสามารถทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้องและแบบไม่เปิดหน้าท้อง ซึ่งการผ่าตัดแบบไม่เปิดหน้าท้องสามารถทำได้โดยการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง ประกอบกับเครื่องมือที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ช่วยให้การผ่าตัดง่ายขึ้น มีความปลอดภัยสูง แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 5 - 10 มิลลิเมตร เจ็บน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว ลดการเกิดพังผืดในช่องท้อง ภาวะแทรกซ้อนต่ำ ลดการอักเสบติดเชื้อของแผลได้เป็นอย่างดี

ส่วนวิธีสังเกตง่ายๆ ว่าเป็นโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ หรือไม่ นั้น ให้สังเกตอาการ ดังนี้

1. อาการปวดหน่วงๆ ในท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน

2. คลำก้อนได้ในท้องน้อย

3. ปวดท้องเฉียบพลันซึ่งมักเกิดจากการมีภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ของโรคนี้เช่น เกิดการบิดขั้ว (Twisted ovarian cyst) หรือมีการแตกของถุงน้ำ (Ruptured ovarian cyst) หรือมีการติดเชื้อ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ทำให้ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดด่วน

4. ไม่มีอาการใดๆ แต่ตรวจพบโดยบังเอิญ มักเป็นกรณีถุงน้ำยังมีขนาดเล็ก

 

คุณอาจไม่ใช่แค่อ้วน มันแอบอยู่ในร่าง ระวัง "โรคคุณไสย" ยอดฮิต "ถุงน้ำเดอร์มอยด์" รักษาไม่ทันอาจชีวาวาย

 

      หากสังเกตแล้วพบ 1 ใน 4 อาการ นี้ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาทางรักษาก่อนที่อาการจะทวีคูณจนไม่สามารถรักษาได้ และอย่านิ่งนอนใจว่าเป็นแค่ซีสต์ ในรังไข่ เพราะหากแตกขึ้นมาผู้ป่วยจะเจ็บปวดและทรมานมาก ทั้งนี้ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วยังมีโอกาสจะกลับมาเป็นใหม่ได้อีกรอบ เพราะในบางครั้งการผ่าตัดครั้งแรกจะเลาะเฉพาะถุงน้ำรังไข่ข้างหนึ่งออก และอาจมองไม่เห็นถุงน้ำในรังไข่อีกข้างที่มีขนาดเล็ก หรืออาจเลาะไม่หมดทำให้เกิดขึ้นซ้ำได้อีกผู้ป่วยจึงต้องหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอแม้จะทำการผ่าตัดแล้วก็ตาม

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก อรัณ ไตรตานนท์ โต๊ะทำงาน  ,  bangkokhospita