กลายเป็นประเด็นบานปลายดั่งไฟลามทุ่ง จากกรณี งานวิ่งการกุศล "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" Charity Chonburi marathon 2018 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 14 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด

 

    กลายเป็นประเด็นบานปลายดั่งไฟลามทุ่ง จากกรณี งานวิ่งการกุศล "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" Charity Chonburi marathon 2018 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 14 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา โดยมีประเภทการแข่งขัน 4 ระยะประกอบด้วย  fun run 5 km ราคา 400 บาท , mini half marathon 10.5 km ราคา 500 บาท  half marathon 21 km 700 บาท และ full marathon 42.195 km ราคา 1,000 บาท โดยงานในครั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก เห็นได้จากตัวเลขผู้สมัครเป็นจำนวนกว่า 10,000 คน

 

    แต่เกิดข้อผิดพลาดจากความไม่ได้มาตรฐานของงานวิ่ง และความ "ไม่เป็นมืออาชีพ" ในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการขาดน้ำสำหรับนักวิ่ง เมื่อพบว่าจุดบริการน้ำดื่มระหว่างเส้นทางการวิ่งนั้น ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักวิ่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายอย่างร้ายแรงในแง่วิทยาศาสตร์การกีฬา จากปมดราม่าเฉพาะกลุ่มนักวิ่ง ได้แผ่ขจรปรากฏตามหน้าสื่อเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง แน่นอนว่าจากกระแสสังคมที่กำลังระอุขึ้นทุกขณะ ทำให้มีผู้เสียหายบางกลุ่มรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ

 

 

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด

 

    ร้อนไปถึงนายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ต้องออกมาชี้แจงเพื่อลบล้างคำครหาจากนักวิ่งบางกลุ่ม ที่คิดว่าภาครัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยการโพสต์ผ่านเฟสบุ๊ก "ณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม" เมื่อเวลา 13.30 ของวันเดียวกัน มีความว่า เทศบาลเมืองแสนสุขมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดงานแต่อย่างใด เพียงแต่อนุญาตให้มีเส้นทางวิ่งผ่านในเขตเทศบาลเมืองแสนสุขเป็นบางส่วนเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในการบริหารจัดการแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังแสดงความเห็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจว่า งานวิ่งการกุศล ไม่ควรจัดวิ่งระยะไกลๆ เช่น 21 กม. และ 42 กม. เพราะจะใช้เส้นทางวิ่งระยะยาว ควบคุมยากและมีค่าใช้จ่ายมาก ยิ่งหากไม่มีประสบการณ์จัดงานวิ่งใหญ่ๆ ด้วยแล้วยิ่งไม่สมควรที่จะจัด

 

 

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด

 

 

    กระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. แฟนเพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี ได้มีการโพสต์ถึงกรณีดังกล่าวหลังถูกพาดพิงว่าเป็นหนึ่งในผู้ร่วมจัดงาน โดยระบุว่า รพ.มะเร็งชลบุรี ไม่ได้เป็นผู้จัดกิจกรรม หรือเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับเงินบริจาคจากกิจกรรมนี้แต่ประการใด โดยทาง รพ. ได้สนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายและเป็นการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการให้คนไทยมีสุขภาพดี 

 

    ทางด้าน นายแพทย์สุริยา โปร่งน้ำใส ผอ.โรงพยาบาล ม.บูรพา ผู้ตกเป็นหนึ่งในจำเลยของเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ออกมาแถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2561 โดยเผยว่า เนื่องจากทางโรงพยาบาลขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีผู้จัดการวิ่งท้องถิ่นแห่งหนึ่งมาเสนอโครงการดังกล่าวให้กับทางโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมโครงการดังกล่าวเพื่อหาเงินมาซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ทางโรงพยาบาลไม่ทราบว่าทางผู้จัดการวิ่งไม่มีความพร้อมในเรื่องการดูแลคนเป็นจำนวนมาก และการจัดการที่ไม่ดีพอ ไม่เหมาะสมกับการจัดงานวิ่งใหญ่แบบครั้งนี้ ซึ่งสร้างความเสื่อมเสียให้กับทางโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก ทางโรงพยาบาลจึงขอกราบขออภัยพี่น้องประชาชนที่มาร่วมวิ่งในงานดังกล่าวด้วย ซึ่งทางโรงพยาบาลไม่มีเจตนาและไม่ทราบว่าคุณสมบัติของผู้จัดไม่พร้อม และไม่เหมาะสมกับการจัดงานใหญ่แบบนี้

    เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ล่าสุด 16 ต.ค. 2561 ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณกิตติภัทร ชลศราเนตร ตัวแทนผู้จัดงานวิ่งมาราธอน เมืองชลบุรี ซึ่งยืนยันว่าจะรีบนำเงินที่ได้จากการจัดงานในครั้งนี้ มอบให้แก่หน่วยงานและโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด พร้อมให้การรับรองถึงความโปร่งใสในการดำเนินการ ก่อนหน้านี้ทางผู้จัดเคยจัดงานการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งซึ่งได้รับผลตอบรับไปในทิศทางที่ดี และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

 

 

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด

 

    แต่สำหรับงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" นั้น มีปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งการจราจรที่ตัดขัดตั้งแต่ช่วงเช้าซึ่งทางผู้จัดงานพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อเลี่ยงทางรถติดเพื่อที่จะเข้าไปตามจุด ที่บริการน้ำแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากวันดังกล่าวติดกับวันหยุดยาวด้วยทำให้คนมาเที่ยวเยอะและรถก็เยอะตามจำนวนคน จึงใคร่ขออภัยจากใจจริง ในทุกๆ เรื่องที่เกิดขึ้น และจะนำเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียนเพื่อแก้ไขต่อไป

 

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด

 

 

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด

 

    ปัจจุบันกระแสการวิ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เห็นได้ชัดจากงานวิ่งที่ถูกจัดขึ้นในแต่ละเดือนทั้งการกุศลและเพื่อแสวงหากำไร จากข้อมูลในห้วงเดือน ต.ค. 2561 พบว่ามีงานวิ่งไม่ต่ำกว่า 100 งาน จากทั่วประเทศ โดยค่าสมัครตามมาตรฐานจะอยู่ที่ประมาณ 500-1,000 บาทเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครเข้าร่วมงานนั้นมีอยู่หลากหลาย เช่น วัตถุประสงค์ของการจัดงาน รูปแบบเสื้อและเหรียญรางวัล อาหารที่ให้บริการหลังวิ่ง ตลอดจนชื่อเสียงของทางผู้จัดงานว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

ยกตัวอย่าง งานวิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ด้วยชื่อเสียงและมาตรฐานที่ทางผู้จัดสะสมมาเป็นเวลานาน จนได้รับการยอมรับในหมู่นักวิ่งโดยทั่วกัน อาทิ

 

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด

 

1. Buriram Marathon มีจุดเด่น คือ เส้นทางน่าประทับใจทั้งสนามแข่งรถ ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ มีการปิดจราจรพร้อมด้วยสภาพอากาศที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการวิ่ง และมีเสบียงให้นักวิ่งอย่างไม่มีขาดทั้ง น้ำ เกลือแร่และผลไม้

 

 

2. Marines Marathon ถือเป็นหนึ่งสนามทดสอบของนักวิ่งที่เจนสนามมาระดับหนึ่ง เพราะเส้นทางที่เต็มไปด้วยเนินสูงชันอย่างนับไม่ถ้วน แต่ถูกชดเชยด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม และกำลังใจจากกองเชียร์ทหาร ที่ช่วย ดูแลความปลอดภัย และช่วยอำนวยความสะดวกตลอดเส้นทาง

 

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด

 

3. Laguna Phuket Marathon เป็นอีกงานที่เป็นแบบอย่างของการจัดการเส้นทางวิ่งที่ดี ถึงแม้จะปิดถนนไม่ 100% แต่มีเจ้าหน้าที่คุมตามทางแยกตลอด พร้อมด้วยเสบียง น้ำดื่ม เกลือแร่ ผลไม้และมีห้องน้ำที่สะอาด

 

    อย่างไรก็ดี ถึงแม้รูปแบบการจัดงานของแต่ละที่ก็มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป แต่เหนือสิ่งอื่นใดที่ผู้จัดพึงตระหนักคือ คุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย ตลอดจนเสบียงที่ควรเตรียมพร้อมให้เพียงพอต่อจำนวนนักวิ่ง 

 

    จากประเด็นความผิดพลาดของงานวิ่งการกุศล "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" ถือเป็นบทเรียนที่เหล่าผู้จัดงานจึงควรหยิบยกมาเป็นอุทาหรณ์ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ "ฉาว" เฉกเช่นครั้งนี้อีก เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วผู้ที่ต้อง "รับผิดชอบ" หาใช่ใครอื่น หากเป็นหน่วยงานที่จัดนั่นเอง

 

 

ย้อนดูมืออาชีพเขาทำกัน หลังผู้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศล ชลบุรี มาราธอน 2018" แจงต้นเหตุดราม่าอ้างการจราจรติดขัด