ยังตกต่อ อุตุฯ เตือนใต้อ่วมสุด จับตาแม่น้ำ 3 สาย ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ระดับน้ำเขื่อนยังวิกฤติ

ใกล้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวอย่างเต็มที่แล้ว แต่จากสภาพอากาศที่ยังแปรปรวนในประเทศไทยก็ยังคงวางใจไม่ได้นัก ว่าลมหนาวจะมาเยือนตามพยากรณ์อากาศหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามในทุกๆ ปี ประเทศไทยได้ประสบปัญหาภัยแล้งมาตลอด แม้มีการวางแผนและตัวอย่างให้ได้เห็นกันอยู่ทุกปีก็ตาม

    ใกล้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวอย่างเต็มที่แล้ว แต่จากสภาพอากาศที่ยังแปรปรวนในประเทศไทยก็ยังคงวางใจไม่ได้นัก ว่าลมหนาวจะมาเยือนตามพยากรณ์อากาศหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามในทุกๆ ปี ประเทศไทยได้ประสบปัญหาภัยแล้งมาตลอด แม้มีการวางแผนและตัวอย่างให้ได้เห็นกันอยู่ทุกปีก็ตาม

 

ยังตกต่อ อุตุฯ เตือนใต้อ่วมสุด จับตาแม่น้ำ 3 สาย ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ระดับน้ำเขื่อนยังวิกฤติ

 

สำหรับสถานการณ์น้ำล่าสุด 16 ต.ค. 2561 พบว่า มีแม่น้ำทั้งหมด 2 สาย ที่ระดับการเตือนภัยอยู่ในช่วงวิกฤติ ได้แก่

 

1. แม่น้ำสงครามโขง จ.สกลนคร อ.บ้านม่วง ต.ห้วยหลัว ระดับตลิ่ง (ม.รทก) 154.50 ระดับน้ำ (ม.รทก) 165.63

2. แม่น้ำตาปี จ.สุราษฎร์ธานี อ.พุนพิน ต.ท่าสะท้อน ระดับตลิ่ง (ม.รทก) 2.86 ระดับน้ำ (ม.รทก) 3.00

 

และมีอีก 3 สาย ที่ยังคงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ

1. แม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าพระยา จ.ชัยนาท อ.เมืองชัยนาท ต.ธรรมามูล ระดับตลิ่ง (ม.รทก) 182.79 ระดับน้ำ (ม.รทก) 182.59

2. แม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าพระยา จ.ชัยนาท อ.เมืองชัยนาท ต.ธรรมามูล ระดับตลิ่ง (ม.รทก) 17.08 ระดับน้ำ (ม.รทก) 16.31 

3. แม่น้ำสนามไชย ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จ.สมุทรสาคร อ.เมืองสมุทรสาคร ต.พันท้ายนรสิงห์  ระดับตลิ่ง (ม.รทก) 1.08 ระดับน้ำ (ม.รทก) 1.02

 

ส่วนสถานการณ์เขื่อน มีเขื่อนหนองปลาไหล และเขื่อนขุนด่าน ที่ระดับน้ำอยู่ในระดับวิกฤติ

    แต่ยังไม่พบความเสี่ยงที่จะเกิดพายุในช่วงนี้ ทว่าถึงแม้พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง แต่มีรายงานว่าเมื่อช่วงต้นเดือน ต.ค. 2561 ที่ผ่านมามีชาวนาบางกลุ่มในจังหวัดจังหวัดนครราชสีมา ต้องประสบปัญหา ฝนทิ้งช่วงนาน ส่งผลทำให้ ข้าวนาปีนับพันไร่ เริ่มเหี่ยวเฉาและเตรียมที่จะยืนต้นตายเกือบทั้งหมด อีกทั้งเจอกับปัญหาวัชพืชเจริญเติบโตปกคลุมต้นข้าว ได้รับความเสียหายตนเองจำเป็นต้องว่าจ้าง คนในหมู่บ้านนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้ง เพื่อสูบน้ำจากคลองน้ำ ระยะทางไกลกว่า 2 กิโลเมตร

 

 

ยังตกต่อ อุตุฯ เตือนใต้อ่วมสุด จับตาแม่น้ำ 3 สาย ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ระดับน้ำเขื่อนยังวิกฤติ

 

    จากสรุปภัยแล้งภาพรวมของ กระทรวงเกษตรฯ เผยว่า สถานการณ์การเพาะปลูกฤดูแล้ง ปี 2560/61 จากปริมาณน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ดีกว่าปีที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในการควบคุมได้ แม้จะมีพายุฤดูร้อนช่วงที่ผ่านมา และกระทรวงเกษตรฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย แต่ยังไม่พบว่าเป็นพื้นที่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด 

 

    สำหรับพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ โดยมีฝนหนักบางแห่งในบริเวณภาคใต้

 

    ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้

 

 

ยังตกต่อ อุตุฯ เตือนใต้อ่วมสุด จับตาแม่น้ำ 3 สาย ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ระดับน้ำเขื่อนยังวิกฤติ

ภาคเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และขอนแก่น อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

 

ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุทธยา อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

 

ภาคตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

 

 

ยังตกต่อ อุตุฯ เตือนใต้อ่วมสุด จับตาแม่น้ำ 3 สาย ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ระดับน้ำเขื่อนยังวิกฤติ