ทนไม่ไหวแล้ว 12 องค์กรวิชาชีพ รวมตัวยื่นหนังสือถึง "บิ๊กตู่" พิจารณาล้มโครงการสร้าง เทอร์มินัล 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่ม

กลายเป็นประเด็นที่ต้องเกาะติดอีกครั้ง กรณีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (Terminal 2) ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีต้นเหตุจากการประมูลแบบตัวอาคารผู้โดยสาร 2

  ทนไม่ไหวแล้ว 12 องค์กรวิชาชีพ รวมตัวยื่นหนังสือถึง "บิ๊กตู่" พิจารณาล้มโครงการสร้าง เทอร์มินัล 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่ม  

 

    กลายเป็นประเด็นที่ต้องเกาะติดอีกครั้ง กรณีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (Terminal 2) ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีต้นเหตุจากการประมูลแบบตัวอาคารผู้โดยสาร 2 ด้วยตัวแบบที่มีความละม้ายคล้ายกับท่าอากาศยานในประเทศญี่ปุ่น ต่อมาได้มีการเปิดเผยชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ชนะการประกวดราคางานออกแบบอาคารผู้โดยสาร คือ กลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก-อีเอ็มเอส-เอ็มเอชพีเอ็ม-เอ็มเอสอี-เออาร์เจ (DBALP) ซึ่งเป็นกลุ่มของ นายดวงฤทธิ์ บุนนาค 

 

    หลังจากนั้นมีการพุ่งเป้าไปยังนายดวงฤทธิ์ ที่ตกเป็นจำเลยสังคมจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งทางเจ้าตัวก็ยืนยันว่า แบบอาคารผู้โดยสารดังกล่าวมาจาก ความคิดของตัวเองไม่ได้มีการลอกเลียนแบบตามที่เป็นข่าว และพร้อมดำเนินคดีตามกฏหมายต่อผู้มีพฤติกรรมการกล่าวหาอย่างเลื่อนลอย โดยมิได้มีการวิเคราะห์อ้างอิงตามหลักวิชาการโดยวุฒิสถาปนิก

 

 

ทนไม่ไหวแล้ว 12 องค์กรวิชาชีพ รวมตัวยื่นหนังสือถึง "บิ๊กตู่" พิจารณาล้มโครงการสร้าง เทอร์มินัล 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่ม

 

    ทางด้านบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ยังคงยืนยันเดินหน้าที่จะก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ต่อ ถึงแม้ว่าจะผิดไปจากแผนแม่บทที่เคยได้วางไว้ โดยที่ไม่มีการชี้แจงข้อเท็จจริง และไม่แยแสต่อคำถามจากภาคประชาชนว่าด้วยเรื่อง ความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานแต่อย่างใด

 

    อย่างไรก็ดีมีเหตุให้การดำเนินการทั้งหมดต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว เนื่องจากการประกวดแบบดังกล่าวอยู่ในระหว่างการฟ้องร้อง ทอท. จึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกฏหมายและคดี พิจารณาขั้นตอนการประกวดแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอีกครั้ง เพื่อความรอบคอบ

    ประเด็นดังกล่าวยังไม่มีทีท่าว่าจะได้บทสรุปโดยง่าย แต่กระแสสังคมที่เคยลุกโชนก็ดูใกล้จะมอดลงทุกขณะ อาจเพราะด้วยเป็นเรื่องจำกัดวงเฉพาะกลุ่ม มิได้กระทบต่อปากท้องใครอีกหลายคน จนในเวลาต่อมาได้มีเหล่านักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ผู้ไม่ดูดายต่อผลประโยชน์ของชาติ พยายามหยิบยกประเด็นต่อยอดเพื่อให้สังคมกลับมาสนใจอีกครั้ง

 

 

ทนไม่ไหวแล้ว 12 องค์กรวิชาชีพ รวมตัวยื่นหนังสือถึง "บิ๊กตู่" พิจารณาล้มโครงการสร้าง เทอร์มินัล 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่ม

 

    ความคืบหน้าล่าสุด 17 ต.ค. 2561 ได้มีการรวมตัวระหว่างองค์กรวิชาชีพทั้งหมด 12 กลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ภาครัฐพิจารณายกเลิกโครงการการก่อสร้างดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่มเพื่อให้รองรับผู้โดยสารสูงสุดให้ได้ถึง 150 ล้านคน ตามที่ ทอท. ตั้งเป้าไว้ในเบื้องต้น

 

    นอกจากนี้ทางสมาคมยังเปิดเวทีสาธารณะ "กะเทาะเปลือกสนามบินสุวรรณภูมิ" เพื่อให้ผู้ที่มีความคิดเห็นต่างได้นำเสนอความคิดเห็น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน โดยมี นายเอนก ธีระวิวัฒน์ชัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นผู้เริ่มให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนแม่บท รูปแบบ และกระบวนการที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร (เทอร์มินอล) แห่งที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    พร้อมกันนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญ อาทิ รศ.ดร.สมเจตน์ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ และนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งทุกคนล้วนตั้งคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการก่อสร้างว่ามีความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อประเทศในระดับองค์รวมจริงหรือไม่

 

 

ทนไม่ไหวแล้ว 12 องค์กรวิชาชีพ รวมตัวยื่นหนังสือถึง "บิ๊กตู่" พิจารณาล้มโครงการสร้าง เทอร์มินัล 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่ม

 

    จากการลงมติภายหลังการรับฟังข้อมูลทั้ง 12 องค์กรได้ลงมติด้วยคะแนน 10 ต่อ 0 ว่า ไม่เห็นด้วยที่จะให้ ทอท. เดินหน้าก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากแผนแม่บทเดิมมีความเหมาะสมอยู่แล้ว ซึ่งแผนระยะยาวในอนาคตประเทศไทยจะมีสนามบินถึง 3 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นทีจะต้องขยายในส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิ แต่อย่างใด 

 

    ซึ่งในแผนแม่บทเดิมของ ทอท. นั้นมีเพียงแค่การต่อขยายอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 ทางด้านฝั่งตะวันตกและตะวันออก หากเป็นไปตามนั้นสนามบินสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 100-120 ล้านคน ซึ่งถือว่าคุ้มค่าและเพียงพอ สำหรับ 12 องค์กรที่ร่วมลงมติ ประกอบไปด้วย สมาคมสมาคมสถาปนิกสยาม ,คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย ,สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ,สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ,สถาบันอาศรมศิลป์ ,สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย ,สมาคมนักผังเมืองไทย ,องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ตัวแทนสภาวิศวกร และองค์กรอิสระ เป็นต้น

 

สำหรับบทสรุปของประเด็นนี้จะเป็นอย่างไรนั้น ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป