คืนนี้! เกิดปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน"

เกิดปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน" คืนนี้ ดวงจันทร์สว่างปรากฏเคียงข้างดาวอังคารสีแดง ห่างกันประมาณ 1.4 องศ

ทวิตเตอร์ของ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ทวีตข้อความเชิญชวนคนไทยดูปรากฎการณ์บนฟากฟ้าที่จะเกิดในค่ำคืนนี้ ดวงจันทร์สว่างปรากฏเคียงข้างดาวอังคารสีแดง โดยห่างกันเพียง 1.4 องศา

"คืนนี้มี #ดาวเคียงเดือน #เดือนก่อนว่าใกล้แล้ว #เดือนนี้ใกล้กว่า ดวงจันทร์สว่างปรากฏเคียงข้างดาวอังคารสีแดง ห่างกันประมาณ 1.4 องศา หัวค่ำจะปรากฏทางทิศใต้ เวลาผ่านไปก็จะค่อนไปทางทิศตะวันตกใต้ สังเกตได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกถึงประมาณตี 1 ครับ มาดูด้วยกันครับ"

 

คืนนี้! เกิดปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน"

ปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนฟ้านั้นมีอยู่หลายประเภท ปรากฏการณ์ เกี่ยวกับดวงจันทร์เข้าไปบังดวงอาทิตย์ เรียกว่าสุริยุปราคา ถ้าเข้าไปอยู่ในเงาของโลกเรียกว่า จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถคำนวณได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดเมื่อไร

ปรากฏการณ์อย่างอื่นเช่น ดาวตก ดาวฝนตก สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดเมื่อไร เนื่องจากมีการสังเกตมานาน ส่วนปรากฏการณ์บังเอิญ อย่างเช่น ดาวหาง ค่อนข้างจะยาก เพราะดาวหางที่สว่างมาก ๆ จะใช้เวลานานกว่าจะกลับมาอีก เช่น ดาวเฮเล่ ใช้เวลาเป็น 70 กว่าปี เป็นต้น

สำหรับปรากฏการณ์ ดาวเคียงเดือน เกิดขึ้นทุกเดือน คือปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านใกล้ ๆ กับดาวเคราะห์ที่สว่างมาก ๆ เพราะดวงจันทร์คือตัวที่เคลื่อนรอบโลกทุกเดือน ๆ ละครั้ง

 

คืนนี้! เกิดปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน"

ทั้งนี้ในปี 2561 ที่เหลืออยู่ก็ยังมีปรากฏการณ์บนท้องฟ้าให้ติดตามกันอย่างต่อเนื่อง เช่น ฝนดาวตก ซึ่งคำแนะนำสำหรับการดูฝนดาวตกคือ ให้ดูในที่มืด ไร้แสงไฟรบกวน จะมองเห็นได้ชัดมาก โดยจะสามารถมองเห็นได้ทุกพื้นที่ทั่วไทย

มาดูกันว่ามีดาวตกอะไรให้ได้ดูบ้าง

- ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ 21-22 ตุลาคม (เฉลี่ย 20 ดวง/ชั่วโมง)

- ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18 พฤศจิกายน (เฉลี่ย 15 ดวง/ชั่วโมง)

- ฝนดาวตกเจมินิดส์ 14-15 ธันวาคม (เฉลี่ย 120 ดวง/ชั่วโมง)

- ฝนดาวตกเออร์ซิดส์ 22-23 ธันวาคม (สูงสุด 10 ดวง/ชั่วโมง)

 

คืนนี้! เกิดปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน"