ข่าวดี เร่งระดมทุนสนับสนุนงานวิจัย ลดค่ารักษา "โรคมะเร็ง" จาก 2 แสนเหลือ 2 หมื่นบาท

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยรายงานว่า สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยปี 2561 นั้นยังเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 จากข้อมูลพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นถึง 112,392 คนต่อปี

    ข่าวดี เร่งระดมทุนสนับสนุนงานวิจัย ลดค่ารักษา "โรคมะเร็ง" จาก 2 แสนเหลือ 2 หมื่นบาท

 

    กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยรายงานว่า สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยปี 2561 นั้นยังเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 จากข้อมูลพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นถึง 112,392 คนต่อปี และยังมีแนวโน้มป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยประเภทมะเร็งที่พบมากในเพศชายได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี ,มะเร็งปอด ,มะเร็งลำไส้ใหญ่ ,มะเร็งต่อมลูกหมาก ,มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนเพศหญิงได้แก่ มะเร็งเต้านม ,มะเร็งปากมดลูก ,มะเร็งตับและท่อน้ำดี ,มะเร็งปอด ,มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตามลำดับ

 

    นับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ที่สถาบันวิจัยและบริษัทยาทั่วโลกสามารถผลิตยาภูมิคุ้มกันรักษามะเร็งจนขายสำเร็จในปี 2554 ซึ่งในปัจจุบันมี 6 บริษัทยาเป็นเจ้าของสิทธิบัตรผูกขาดทำการผลิตขายทำกำไรอย่างมหาศาล ทำให้ยาดังกล่าวมีราคาแพงมาก ตกราคาเข็มละประมาณ 2 แสน บาท และผู้ป่วยต้อง ฉีดทุก 3 สัปดาห์ ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี 

 

    เมื่อคำนวณอย่างคร่าวๆ จะพบว่า การจะรักษาผู้ป่วยรายหนึ่งให้หายจากโรคมะเร็งนั้น จะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท แน่นอนว่า เป็นราคาที่เกินเอื้อมสำหรับประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้ในเวลาต่อมาได้มีคำอุปมาเชิงเสียดสีว่า โรคมะเร็งนั้น เป็น "โรคของคนรวย"

ข่าวดี เร่งระดมทุนสนับสนุนงานวิจัย ลดค่ารักษา "โรคมะเร็ง" จาก 2 แสนเหลือ 2 หมื่นบาท

 

    อย่างไรแล้วถือเป็นข่าวดี เพราะล่าสุดวันที่ 19 ต.ค. 2561 ได้ปรากฏแสงสว่างยังปลายอุโมงค์ จากกรณีโลกออนไลน์ได้แชร์โพสต์ชักชวนร่วมบริจาคเงินสมทบทุนวิจัย "ยารักษามะเร็ง" เข้ากองทุนวิจัยยารักษามะเร็งด้วยการใช้ภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยไม่ต้องทำคีโม และคาดว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำคีโมและโอกาสหายสูงกว่า หากการวิจัยประสบผลสำเร็จ จะทำให้ค่ารักษาจนหายลดจาก 10 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท และคนไทยทุกคนจะมีโอกาสเข้าถึงในอีก 4 ปีข้างหน้า อย่างเท่าเทียม

 

    สำหรับการคิดค้นและงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดจากผลงานรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี 2018 ของ ศ.ดร.เจมส์ อัลลิสัน (James Allison) ประจำมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเทกซัส ของสหรัฐอเมริกา และ ศ.นพ.ทาสุกุ ฮอนโจ (Tasuku Honjo) แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งเป็นผู้ค้นพบวิธีการรักษามะเร็งด้วยการใช้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ โดยไม่ต้องทำคีโม

 

ข่าวดี เร่งระดมทุนสนับสนุนงานวิจัย ลดค่ารักษา "โรคมะเร็ง" จาก 2 แสนเหลือ 2 หมื่นบาท

    โดย อ.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล แพทย์นักวิจัยที่ทำงานในสถาบันวิจัยทางการแพทย์แห่งชาติของอเมริกา (National Institutes of Health:NIH) ตัดสินใจลาออกเพื่อกลับมาตั้งศูนย์วิจัยผลิตยาภูมิคุ้มกันบำบัดรักษามะเร็ง ตามความตั้งใจเพื่อนำผลงานรางวัลโนเบลดังกล่าว มาต่อยอด ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ภายหลังทำการค้นคว้ามาระยะหนึ่ง

 

 

ข่าวดี เร่งระดมทุนสนับสนุนงานวิจัย ลดค่ารักษา "โรคมะเร็ง" จาก 2 แสนเหลือ 2 หมื่นบาท  

 

    ตอนนี้ประสบความสำเร็จจนได้ยาต้นแบบมา 1 ตัว แต่งบที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะนำยาต้นแบบเข้าขั้นตอนต่อไป เพราะต้องใช้เงินเป็นจำนวนกว่า 10 ล้านบาท จึงมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมกันบริจาค แต่ถือเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะในเวลาเพียงไม่กี่วัน จากข้อมูลล่าสุดพบว่ายอดบริจาคได้ทะลุ 3 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

 

ข่าวดี เร่งระดมทุนสนับสนุนงานวิจัย ลดค่ารักษา "โรคมะเร็ง" จาก 2 แสนเหลือ 2 หมื่นบาท

 

   

    สำหรับผู้ที่สนใจสมทบทุนงานวิจัย สามารถบริจาคเข้าเลขที่บัญชี 408-004443-4  ชื่อบัญชี "คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เงินบริจาคเพื่องานวิจัย)" ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย โครงการวิจัยดังกล่าวจะประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไรนั้นยังเป็นเรื่องของอนาคต เพราะยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่ายอดบริจาคจะถึงเป้าหรือไม่ แต่อย่างไรแล้ว "โรคมะเร็ง" ก็เป็นโรคที่ทุกคนไม่พึงปรารถนา 

 

    การให้ความร่วมมือช่วยเหลือคนละไม้คนละมือแม้เพียงเล็กหน่อย เพื่อเป็นการเปิดประตูทางเลือกในการรักษารูปแบบใหม่ และเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยได้รอดพ้นจาก "ความตาย" ได้นั้น ถือเป็นการหยิบยื่นมนุษยธรรมประการหนึ่งเช่นกัน