ยิ่งจ่ายยิ่งได้ สรรพากรเล็งเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท ปี 62 ลุยเดินหน้าพัฒนาประเทศ

     เมื่อไม่นานนี้ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกมาเปิดเผย ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีของทางกรมสรรพกร ในปีงบประมาณ 2561 นี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 - กันยายน 2561 มีตัวเลขอยู่ที่ 1.91 ล้านล้าน บาท

   

ยิ่งจ่ายยิ่งได้ สรรพากรเล็งเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท ปี 62 ลุยเดินหน้าพัฒนาประเทศ

 

     เมื่อไม่นานนี้ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกมาเปิดเผย ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีของทางกรมสรรพกร ในปีงบประมาณ 2561 นี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 - กันยายน 2561 มีตัวเลขอยู่ที่ 1.91 ล้านล้าน บาท ซึ่งถือว่าสูงกว่าปีงบประมาณก่อนหน้า ที่มีจำนวนเงินเพียง 1.23 แสนล้านบาท หรือหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จะได้ 7% 

ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่ได้รับจาก 4 หน่วยงานเศรษฐกิจที่ส่งมอบนโยบายให้ ได้แก่
1. กระทรวงการคลัง
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย
3. สำนักงบประมาณ
4. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 

   ด้วยเป้าหมายกว่า 4.66 หมื่นล้านบาท หรือสูงกว่าเป้าหมาย 2.5% นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2561 ทางกรมสรรพากรยังมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ทำให้สามารถจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ได้แก่
1. การตรวจวิเคราะห์ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีผลประกอบการขาดทุนหรือกำไรทางบัญชีสูงแต่ยอดการชำระภาษีต่ำ
2. การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรผู้ออกและผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม หรือการแนะนำทางภาษีอากรกับกลุ่มธุรกิจเงินสด (Cash Economy)  
3. ธุรกิจที่มีศักยภาพในการเสียภาษี 

  นอกจากนั้นยังรวมถึงผลการจัดเก็บภาษีสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บได้ 6.63 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6% ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเก็บได้ 6.36 หมื่นล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 61.7% จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีแวต) เก็บได้ 7.92 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6.8% โดยภาษีที่เพิ่มเกิดจากการบริโภคและการนำเข้าที่ดีขึ้นจากปีก่อนๆ
 
   ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า ในปีงบประมาณ 2562 กรมสรรพากรได้รับเป้าหมายจัดเก็บภาษีตามเอกสารงบประมาณ 2562 จำนวน 2,000,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีงบประมาณ 2561 จำนวน 83,912 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.4 ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามที่กำหนด

 

 

ยิ่งจ่ายยิ่งได้ สรรพากรเล็งเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท ปี 62 ลุยเดินหน้าพัฒนาประเทศ

  ยิ่งจ่ายยิ่งได้ สรรพากรเล็งเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท ปี 62 ลุยเดินหน้าพัฒนาประเทศ

 

      ในตอนนี้เป้าหมายของทางกรมสรรพากรจะมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานมากขึ้น ได้แก่ การนำ Digital มาใช้ในการขับเคลื่อนงานของกรมสรรพากร (Digital Transformation) เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการทำงานและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีอากร รวมทั้งการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ (Data Analytics) ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการคัดเลือกผู้เสียภาษีเพื่อกำกับและตรวจสอบ (RBA) และการวิเคราะห์ข้อมูลของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) นอกจากนี้ จะเร่งการขยายฐานภาษีและการสร้างความสมัครใจในการเสียภาษีของประชาชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรให้ยั่งยืนต่อไป 

    ทั้งนี้ในส่วนของคำถามที่ว่าใครต้องเสียภาษี นั้นทางกรมสรรพกร จะมีการแบ่งออกเป็น 4 ประเภทของภาษี ได้แก่

1. ภาษีบุคคลธรรมดา คือ บุคคลใดก็ได้ที่มีเงินได้ทั่วๆ ไปทั้งปี มากกว่า 30,000 บาท (กรณีโสด) และ มากกว่า 60,000 บาท (กรณีสมรส) ต้องยื่นแบบ ภงด. ส่วนกรณีที่มีรายได้จากเงินเดือน (เฉพาะเงินได้ตาม ม.40(1) ตั้งแต่ 4,167 บาทต่อเดือน ขึ้นไป หรือ ตั้งแต่ 50,000 บาทต่อปี (กรณีโสด) และ ตั้งแต่ 8,334 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรือ ตั้งแต่ 100,000 บาท (กรณีสมรส) ถือว่ามีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภงด. ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม

2. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กล่าวคือ กรณีที่ผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในปีภาษีนั้น ทายาทหรือ ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ยื่นแบบ ภงด. ตามเงินได้ทั้งปีภาษี ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. มีบ้านให้เช่า (มีรายได้จากค่าเช่า) โดยเซ็นสัญญาเช่าไว้ทั้งปี 2560 ต่อมาในเดือน พ.ค. 60 นาย ก. ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ในช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. 61 ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของนาย ก. จะมีหน้าที่ยื่นแบบ ภงด. โดยประเมินเงินได้ทั้งปีภาษี 2560 (ม.ค.-ธ.ค. 60 )

ยิ่งจ่ายยิ่งได้ สรรพากรเล็งเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท ปี 62 ลุยเดินหน้าพัฒนาประเทศ

 

3. ภาษีกองมรดก กล่าวคือ เป็นกรณีที่ผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในปีภาษีก่อนหน้า และยังไม่ได้จัดการมรดก ดังนั้น ในปีภาษีนี้จะต้องยื่นแบบในนาม กองมรดกของ นาย ก. และนำเงินได้ทั้งปี โดยทายาทหรือผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ยื่นแบบภาษี จากเงินได้ทั้งปี ทั้งนี้ เกณฑ์ในการยื่นแบบ ภงด. กองมรดกนั้น มีเงินได้ทั้งปี ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป

4. ภาษีคณะบุคคล / ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล คณะบุคคล ถือเป็นอีก 1 หน่วยภาษี กล่าวคือ ไม่ถือเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ หากถือเป็นบุคคลในทางภาษี (โดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่พึงได้จากกิจการที่กระทำร่วมกัน) ซึ่งมักจะเป็นช่องทางในการวางแผนภาษี คณะบุคคลจะคำนวณภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดา และ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคณะบุคคล (คล้ายๆ กับค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท กรณีบุคคลธรรมดา) สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิได้จดทะเบียน ลักษณะจะคล้ายๆ กับคณะบุคคล โดยทั้งคณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล ที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภงด.เงินได้ประเภทที่แตกต่างกันออกไปในการเสียภาษี


   เมื่อเก็บภาษีได้แล้วทางรัฐบาลจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทั้งทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การคมนาคมการประชาสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ตามมูลนิธิต่างๆ การรักษาพยาบาล การป้องกันประเทศและรักษาความสงบภายในประเทศ เหตุนี้เองรัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีรายได้จากการเสียภาษี โดยรายได้จากการเสียภาษีทางกระทรวงการคลังจะมีหน้าที่จัดเก็บเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมอบหน้าที่ให้กับ 3 กรมหลักได้แก่

1.กรมสรรพากร 
2.กรมศุลกากร
3. กรมสรรพสามิต 

   นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นทำหน้าที่เก็บภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นรายได้เข้ารัฐ  ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กรมตำรวจ และกรมอื่นๆ แต่ว่าจำนวนเงินไม่มากเหมือน 3 กรมแรกก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์อื่นๆ ด้วย คือ เป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเครื่องมือควบคุมการบริโภคของประชาชน ให้ประชาชนได้เกิดความระมัดระวัง และเลือกใช้สินค้าที่เหมาะสมกับอัตภาพ ไม่ใช้สินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าที่มีโทษและไม่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ รัฐควรเก็บภาษีอากรสูง ราคาสินค้าเหล่านี้ก็สูงตามไปด้วย ทั้งนี้ยังถือเป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำให้สามารถฟื้นตัวโดยเร็วกว่าเดิมด้วยเงินภาษี ไปอุดช่องทางต่างๆ และยังทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถือเป็นเหตุผลง่ายๆ ที่อยากให้หลายคนนั้นได้เข้าใจว่าเราจำเป็นต้องเสียภาษีไปเพื่ออะไร

 

ขอขอบคุณ กรมสรรพากร