แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน

แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน

จากกรณีที่เกิดเหตุการณ์เครื่องบินดีเลย์ ในเที่ยวบินทีจี 971 เส้นทางซูริค-กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา เนื่องจากนักบินไม่ยอมนำเครื่องขึ้นนั้น

 

 

ทั้งนี้เป็นเพราะนักบินที่จะโดยสาร (Deadhead pilot) ยืนยันจะนั่งเฟิร์สคลาสทั้งที่เที่ยวบินนั้น ในชั้นเฟิร์ศคลาสที่นั่งเต็ม ส่งผลให้ผู้โดยสารกว่า 300 คนนั่งรอเครื่องบินขึ้นเกือบ 2 ชั่วโมงครึ่ง จนสุดท้ายมีผู้โดยสารสามี-ภรรยาคู่หนึ่งยอมสละที่นั่งที่จองไว้ล่วงหน้าให้นักบินคนดังกล่าวได้นั่งแทนนั้น

ต่อมาทางด้านนายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดเผย ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น และขอโทษเกี่ยวกับเรื่องนี้ ระบุว่า ตนในฐานะผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วและไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องร้ายแรง และกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร จึงได้สั่งการให้เรียกผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มาสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการตามระเบียบของบริษัท อย่างเคร่งครัด รวมทั้งจะกำหนดมาตรการป้องกันเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกในอนาคต

 


ก่อนที่จะมีเฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อว่า Yuwaree Pankla เล่าเรื่องราวในวันเกิดเหตุ หลังเครื่องการบินไทยดีเลย์ 2 ชั่วโมงครึ่ง ในสนามบินซูริค บอกว่าวันก่อนเดินทางกลับบ้านเที่ยวบิน TG971 (ZRH-BKK) มีกําหนดการบินออกจาก นครซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เวลา 13.30 CEST แต่ได้รับการประกาศ จากภาคพื้นดินว่ามีการล่าช้ากว่า กําหนดและไม่มีกําหนดการบินที่ชัดเจน จนกระทั่งเวลา 15.00 CEST มีเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินประกาศเชิญเราและสามีมาคุย จึงได้ทราบถึงปัญหา ของความล่าช้าของเที่ยวบินนี้ เนื่องจากเที่ยวบินนี้ได้รับแจ้งว่ามีคณะนักบินที่ต้องการจะโดยสาร เครื่องบินเที่ยวบินนี้กลับประเทศไทยด้วย จํานวน 4 คน

 

 

และนักบินต้องการที่นั่งในตําแหน่งที่เราและสามีได้ทําการจองมานานแล้วคือ 1K,2K จึงเป็นสาเหตุที่ทําให้เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินมาขอร้องให้เราเปลี่ยนที่นั่งไปนั่งที่อื่น เพราะไปขอผู้โดยสารท่านอื่นแล้วไม่มีใครยอมให้ และได้รับแจ้งว่าถ้าเราไม่ยอมเปลี่ยนที่ให้นักบินที่จะโดยสาร(Deadhead pilot)ไปด้วย นักบินประจําเครื่อง(On duty pilot)ก็จะไม่ยอมบิน เราจึงจําเป็นต้องตัดสินใจในขณะนั้นโดยยอมที่จะทําการเปลี่ยนที่นั่งที่จองไว้ตั้งแต่เริ่มต้นที่ซื้อตั๋ว 

 


ต่อมาตรวจสอบพบว่าเป็นผู้เสียสละที่นั่งให้กับนักบิน และได้เล่าเรื่องราว ในฐานะผู้ได้เสียสละและได้รับความเดือดร้อน มีข้อมูลเชื่อมโยงว่า มีดีกรีเป็นถึงรองศาสตราจารย์ยุวรีย์ พันธ์กล้า อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนสามีซึ่งได้รับความเดือดร้อนด้วยนั้น คือ นายศักดิ์ดา พันธ์กล้า อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 

 

แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน

 


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ความภูมิใจวูบ! รู้จัก2ผดส.เสียสละที่นั่งเฟิร์สคลาสให้กัปตันการบินไทย วิจารณ์หนักยังมีหน้าทวงสิทธิ์

 

 

 

 

โดยทางด้านนาวาตรีจักรี จงศิริ กัปตัน ครูการบินและนักบินเทคนิค ฝูงบินโบอิ้ง 734 บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงสาเหตุการล่าช้าของเที่ยวบิน TG971 จากนครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มายังสนามบินสุวรรณภูมิ โดยระบุว่าเวลาประมาณ 10.20 น. ลูกเรือและนักบินมาถึงเครื่อง กระทั่งเวลา 10.50 น. พบว่านักบินเปลี่ยนกะ (Passive หรือ Deadhead Crew) ได้ที่นั่ง 16AB / 16JK ในชั้นธุรกิจ ซึ่งไม่ตรงตามคู่มือ

 


กัปตันผู้ที่มีอำนาจในการทำการบิน (Pilot-in-Command หรือ PIC) จึงได้โทรถามผู้จัดการสถานี (KK) ถึงเรื่องการจัดที่นั่งของนักบินเปลี่ยนกะ (Passive Seat) และขอให้เปลี่ยน 2 ที่นั่งสำหรับนักบินเปลี่ยนกะให้อยู่ในโซนเฟิร์สคลาส เนื่องจากเที่ยวบินนี้บินเฉพาะชั้นธุรกิจ (Business Class หรือ B/Class) และชั้นประหยัด (Economy Class หรือ Y/Class) จึงมีที่ว่างให้ชั้นเฟิร์สคลาสสำหรับนักบินเปลี่ยนกะ ใช้ที่นั่งในโซนเฟิร์สคลาสได้ตามสิทธิ แต่ได้รับคำตอบจากผู้จัดการสถานีซูริก ว่า “ที่นั่งเฟิร์สคลาสเต็มแล้ว”

 


กัปตันผู้มีอำนาจแปลกใจ เนื่องจากตอนสรุปก่อนทำงาน ว่ามีผู้โดยสารชั้นธุรกิจ ที่ได้นั่งชั้นเฟิร์สคลาส เพียง 3 ที่นั่ง และ 7 ที่นั่งตามลำดับเวลา และไม่แน่ใจว่า มีรายการจองผู้โดยสารชั้นธุรกิจที่ได้นั่งชั้นเฟิร์สคลาสเพิ่มเข้ามา หรืออัพเกรดผู้โดยสาร หรือมีเหตุผลอื่นใดที่ผู้จัดการสถานีซูริกไม่ได้อธิบายให้เข้าใจ จึงขอให้ผู้จัดการสถานีซูริก อย่าเพิ่งให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่อง ขอให้แก้ปัญหาตรงนี้ก่อน เพราะหากให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องแล้ว ต้องมีการสับเปลี่ยนที่นั่งภายหลัง จะทำให้แก้ปัญหาภายในเครื่องยุ่งยากกว่าเดิม ตามที่ได้มีการนำเสนอไปแล้วนั้น 

 

แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เจอแล้วต้นตอวุ่น "น.ต.จักรี" กัปตัน ครูการบิน แฉหมดเปลือก สาเหตุทำเครื่องบินไทยดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง 2 ผดส.ต้องยอมสละที่นั่งเฟิร์ส คลาส

 

ล่าสุดทางด้านนายดำรงค์ ไวยคณี ประธานสหภาพรัฐวิสาหกิจการบินไทย (สร.กบท.) ได้แถลงข่าวกรณีที่ผู้โดยสารเที่ยวบินทีจี 971 นครซูริค-กรุงเทพมหานคร ร้องเรียนว่าต้องสละที่นั่งชั้นเฟิร์สคลาส ให้กับนักบินที่ร่วมโดยสารเนื่องจากที่นั่งชั้นเฟิร์สคลาสเต็ม ทำให้เที่ยวบินล่าช้าไป 2 ชั่วโมงครึ่ง ว่า

 

 

แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน

นายดำรงค์ ไวยคณี ประธานสหภาพรัฐวิสาหกิจการบินไทย (สร.กบท.)

 

 

ขอให้รอผลการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อนว่า ตกลงเกิดอะไรขึ้น ประเด็นก็คือผู้โดยสารที่ต้องรอ 2 ชั่วโมง ส่วนปัญหาที่ว่าฝ่ายนักบินอาจจะออกมาเรียกร้องนั้น คิดว่า ถ้าเราเป็นพนักงานควรจะทำแบบนั้นหรือไม่ หรือเป็นการทำเพื่อพวกพ้องตัวเอง สังคมจะช่วยการบินไทยเอง ส่วนวิกฤตที่เกิดขึ้นจะกระทบกับภาพลักษณ์ของการบินไทย สหภาพฯ จะคุยกับผู้บริหารในเรื่องนี้ เท่าที่ทราบ นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ จะพยายามให้เสร็จในสัปดาห์นี้ว่าผลเกิดอะไรขึ้น และใครเป็นผู้ทำให้เสียหายในเรื่องนี้ 

 

 
ทางผู้บริหารมีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ แต่ยังไม่ได้คุยกันในรายละเอียด และยังไม่ชัดเจนว่ามีอะไรมาก ในมุมของสหภาพก็เห็นตรงกัน ส่วนเรื่องสวัสดิการนักบินนั้น สิทธิของพนักงานการบินไทยมีเหมือนกับองค์กรอื่น ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ และไม่ได้มากกว่า บางส่วนน้อยกว่า แต่คนทั่วไปจะมองเรื่องการใช้ตั๋วเครื่องบิน

 

 

ซึ่งเป็นขวัญและกำลังใจพนักงานที่ทำงานในองค์กรนั้นให้จงรักภักดีกับองค์กร แต่ตั๋วเครื่องบินที่พนักงานการบินไทยได้รับ ไม่ใช่ว่าจะได้บินแน่นอน ต้องรอที่สะพานเทียบเครื่องบินว่าจะมีที่นั่งว่างหรือไม่ ถึงจะได้บิน ถ้าไม่ว่างก็อด ไม่ได้เดินทาง เมื่อโดยรวมแล้วเราไม่ได้ให้มากกว่าที่อื่น ที่สังคมทั่วไปมองว่าการบินไทยอลังการ แต่ที่จริงผมว่าอเนจอนาถ ไปขอตั๋วขึ้นเครื่องบินการบินไทยเหมือนขอทาน ไปนั่งรอว่าเขาจะให้เราเมื่อไหร่
 

 

แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน

 

ส่วนกรณีที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นข่าวโด่งดังนั้น ตามระเบียบการบินไทยให้สิทธิที่นั่งนักบิน ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้โดยสารทั่วไป ก็มีสิทธิได้นั่งชั้นเฟิร์สคลาส หรือชั้นธุรกิจ แล้วแต่ประเภทเครื่องบิน แต่ถ้านักบินต้องทำหน้าที่บิน หรือปฏิบัติหน้าที่บิน เขาก็จะจองไว้ว่าต้องนั่งที่นั่งที่เท่าไหร่ แต่ถ้านักบินต้องการเดินทางเป็นผู้โดยสารธรรมดาก็ต้องรอที่นั่งว่างถึงจะได้นั่ง 

 


ซึ่งที่นั่งชั้นเฟิร์สคลาสไม่ใช่เพียงแค่นักบินอย่างเดียว แต่รวมไปถึงผู้บริหารระดับสูง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามข้อมูล ผู้โดยสารจองผ่านอินเตอร์เน็ตมาแล้ว แต่เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดล่วงหน้า นักบิน Passive บินเหมือนผู้โดยสารทั่วไป ถือว่าอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็นนักบิน เมื่อเทียบกับสายการบินอื่นมีทั่วโลกถือว่าเหมือนกัน เพราะนักบินต้องได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่เพื่อทำการบิน และพร้อมที่จะบิน เพราะชีวิตผู้โดยสารและทรัพย์สินอยู่ที่เขา หากร่างกายไม่พร้อมจะมีปัญหา

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางสหภาพฯยังไม่ทราบรายละเอียดลึกๆ อยู่ในกระบวนการสอบสวน ซึ่งจากนี้สหภาพฯ จะสอบถามกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เพราะกระทบภาพลักษณ์ของการบินไทยที่เสียหาย ซึ่งไม่ใช่ในเมืองไทย แม้แต่สื่อต่างประเทศก็เอาไปลง ซึ่งจะคุยพร้อมกับการปรับโครงสร้างองค์กร ที่ตนเห็นว่าต้องลดขนาด ลดหน่วยงานให้ลงเพราะใหญ่เกินไป ลดความซับซ้อนของหน่วยงาน แต่จะไม่ปรับลดพนักงาน รวมทั้งสิทธิประโยชน์เพราะเหมือนภาครัฐและเอกชน ซึ่งรอผลสอบออกมาก่อนค่อยเข้าไปคุยทีเดียว 

 

 

 

แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน


ส่วนเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ไม่ลงตัวนั้น นักบินไม่ผิด ได้สิทธิตามระเบียบที่บริษัทมอบให้ แต่โดยเส้นของตัวเอง ณ ขณะนั้นเป็นพนักงาน Passive ทั่วไป ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยตรง และมีผู้โดยสารจองตั่วไว้แล้ว ถ้าเป็นตนก็ต้องเสียสละให้ผู้โดยสารก่อน เพราะเงินเดือนมาจากค่าตั๋วโดยสาร ไม่ใช่มีใครเมตตาให้เรา ซึ่งเท่าที่สอบถามกัปตันมีสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเห็นด้วยที่ต้องสละที่นั่ง ยกเว้นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่บิน อีกกลุ่มไม่เห็นด้วยเพราะทำตามกฎ
 

 


ทั้งนี้นักบินที่กลับมา เป็นนักบินของโบอิ้ง 777-300 แต่เครื่องบินที่บินกลับ เป็นโบอิ้ง 747-400 ซึ่งเป็นคนละแบบกัน นักบินที่ Passive กลับมา เป็นนักบินที่กลับมาจากเครื่องบิน 777-300 ซึ่งเป็นเครื่องบินคนละแบบ เท่าที่ทราบจาก นายโยธิน ภมรมนตรี อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย กล่าวว่า นักบินที่บินกลับมามีเวลาพักผ่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

 

 

ถ้าเป็นลักษณะนี้ ไม่ได้เป็นนักบินในขณะนั้น จิตสำนึกในความเป็นกัปตันต้องควบคุมดูแล รับผิดชอบคนทั้งหมดไม่มีเลยหรือ ระหว่างผู้โดยสารกับความต้องการของนักบิน อย่างเช่น นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย เคยขึ้นเครื่อง พบว่าชั้นเฟิร์สคลาสตั๋วเต็ม เมื่อเจ้าหน้าที่ภาคพื้นมาสอบถาม ก็ตัดสินใจนั่งชั้นประหยัด เพราะจะกลับบ้านเหมือนกัน ชั้นเฟิร์สคลาสขายแล้วได้เงินมากกว่า นี่คือภาวะผู้นำที่ออกมา


 

 

แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน

ท่าอากาศยานซูริค 

 

 

แตะตรงไหนก็ช้ำ! สหภาพบินไทยจวกจิตสำนึก "นักบิน" จุดฉาวเครื่องดีเลย์ 2 ชม.ครึ่ง กลายเป็นผู้โดยสารเดือดร้อน