กลับมาอีกครั้งกับเหตุการณ์สลดจากธรณีพิบัติภัยในรูปแบบของแผ่นดินไหว เมื่อสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ หรือยูเอสจีเอ รายงานว่าวันนี้ 26 ต.ค. 2561 เกิดแผ่นดินไหวระดับ 7.0 และต่อมาลดระดับความรุนแรงลงมาอยู่ที่ 6.8 นอกชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกรีซ

    กลับมาอีกครั้งกับเหตุการณ์สลดจากธรณีพิบัติภัยในรูปแบบของแผ่นดินไหว เมื่อสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ หรือยูเอสจีเอ รายงานว่าวันนี้ 26 ต.ค. 2561 เกิดแผ่นดินไหวระดับ 7.0 และต่อมาลดระดับความรุนแรงลงมาอยู่ที่ 6.8 นอกชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกรีซ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองลิตาเกีย บนเกาะซาคินทอส ราว 35 กม. อยู่ที่ความลึก 16.6 กม. 

 

 

ธรณีพิโรธสะเทือนกรีซ อุตุฯ เผยข้อมูล ไทยเผชิญแผ่นดินไหวอยู่ตลอดเวลา
 

 

    เจ้าหน้าที่กู้ภัยพบผู้บาดเจ็บได้รับความช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาล 3 คน กระแสไฟฟ้าดับบางพื้นที่และมีอาคารเสียหายบริเวณใกล้ศูนย์กลาง แต่ไม่มีการเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิ เกาะซาคินทอสเคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ทำให้ทางการออกกฎหมายควบคุมความปลอดภัยในการสร้างอาคาร ซึ่งโฆษกรัฐบาลกรีซเปิดเผยว่า จะมีการตรวจสอบอาคารเก่าอีกครั้งว่าได้รับความเสียหายหรือไม่  
 

 

    ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ส่งแรงสั่นสะเทือนไปถึง กรุงเอเธนส์เมืองหลวงของกรีซ ต่อเนื่องไปจนบางพื้นที่ของอิตาลี มอลต้า แอลเบเนีย และลิเบีย โดยที่อิตาลีหน่วยดับเพลิงที่ซิซิลี กาลาเบรีย และปุลยา เปิดเผยว่าได้รับโทรศัพท์แจ้งเหตุแผ่นดินไหวนับพันสาย ทั้งยังคงมีอาฟเตอร์ช็อกเกิดขึ้นตามมาอีกหลายครั้ง

 

 

ธรณีพิโรธสะเทือนกรีซ อุตุฯ เผยข้อมูล ไทยเผชิญแผ่นดินไหวอยู่ตลอดเวลา

    เมื่อย้อนกลับไปในช่วงเดือน ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา จากปรากฏการณ์ภัยธรรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย ที่ในขณะนั้นต้องเผชิญกับพายุโซนร้อน "เบบินคา" เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวสำนักข่าวทีนิวส์ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งได้ให้ข้อมูลอันน่าสนใจถึงความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยไว้ว่า

 

 

ธรณีพิโรธสะเทือนกรีซ อุตุฯ เผยข้อมูล ไทยเผชิญแผ่นดินไหวอยู่ตลอดเวลา
 

 

    ทุกวันนี้แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย ยังคงอยู่ในระดับ 5-6 จึงยังไม่ส่งผลกระทบมายังประเทศไทย ทว่าในอนาคตหากเกิดกรณี แผ่นดินไหวในระดับ 7-9 ซึ่งไม่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ในความรุนแรงระดับนี้หากเกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยความเสียหายย่อมมาถึงประเทศไทยอย่างแน่นอน

 

    ในอดีตประเทศไทยเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งที่ถือได้ว่ารุนแรงที่สุด คือ แผ่นดินไหวที่ จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2557 โดยเหตุการณ์ครั้งนั้นวัดความรุนแรงได้ประมาณระดับ 5 ซึ่งทางกรมทรัพยากรธรณีระบุว่าจากการใช้เครื่องมือตรวจวัดได้ข้อสรุปว่าศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เนื่องจากพบแนวรอยแยกปรากฏอยู่จำนวนมาก

 

 

ธรณีพิโรธสะเทือนกรีซ อุตุฯ เผยข้อมูล ไทยเผชิญแผ่นดินไหวอยู่ตลอดเวลา

    ส่วน USGS รายงานว่าจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากอำเภอแม่ลาวไปทางใต้ 9 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงรายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 27 กิโลเมตรโดยมีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเหตุการณ์ระทึกขวัญครั้งนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นบริเวณตัวเมือง แต่ก็ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงจนอาคารสูงในกรุงเทพมหานครได้รับอิทธิพลจากแผ่นดินไหว และยังรู้สึกได้จากย่างกุ้ง ประเทศพม่า ด้วย

 

 

ธรณีพิโรธสะเทือนกรีซ อุตุฯ เผยข้อมูล ไทยเผชิญแผ่นดินไหวอยู่ตลอดเวลา
 
จากข้อมูลล่าสุดของกรุมอุตุฯ เผยว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวในไทยยังคงมีอย่างต่อเนื่องแต่เป็นระดับที่ไม่มีความรุนแรง คล้ายว่าเป็นเพียงการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกเท่านั้น และเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา มีรายงานแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 3 พื้นที่ด้วยกัน ได้แก่
1. อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีขนาด 2.1
2. อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีขนาด  2.4 
3. อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง มีขนาด  2.6 
 

 

    จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องไกลตัวโดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่อยู่ในพื้นที่ตอนบนของประเทศไทย การเรียนรู้เพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องพึงปฏิบัติ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินให้ได้มากที่สุด