ย้อนรอยเส้นทางธุรกิจ  "เสี่ยวิชัย" ผู้สร้างอาณาจักรแสนล้าน "คิงเพาเวอร์"

จากกรณีที่เจ้าสัววิชัย เเละคณะเฮลิคอปเตอร์ตกเสียชีวิต เรามาย้อนรอยเส้นทางธุรกิจ "เสี่ยวิชัย" ผู้สร้างอาณาจักรแสนล้าน "คิงเพาเวอร์"

ถึงแม้ว่า นายวิชัย ศรีวัฒนประภา ผู้ริเริ่มสร้างอาณาจักรคิงเพาเวอร์ และเจ้าของสโมสร เลสเตอร์ซิตี้ ได้เสียชีวิตไปแล้ว จากกรณีที่เฮลิคอปเตอร์ตกข้างสนาม คิงเพาเวอร์ สเตเดี้ยม ที่ประเทศอังกฤษ แต่อาณาจักแสนล้านก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป ภายไต้การดูแลของครอบครัว ศรีวัฒนประภา ต่อไป ซึ่งเราจะพาย้อนเส้นทางการดำเนินธุรกิจ ตลอดกว่า 30 ปี ที่กว่าจะก่อตัวมาเป็นคิงเพาเวอรืที่ยิ่งใหญ่ ขนาดนี้ได้ เป็นอย่างไรกันบ้าง ซึ่งเสี่ยวิชัยนั้น ได้ถูกจัดอันดับโดยนิตยสาร ฟอร์บส์ ติดโผอันดับ 5 การเป็นมหาเศรษฐีของไทย และติดอันดับที่ 388 ของโลก ด้วยมูลค่าทรพย์สินทั้งหมดรวมกว่า 162,500 ล้านบาท 

 


ถ้าเราลองย้อนกลับไปปี 2532 เสี่ยวิชัยได้ก่อตั้งคิง เพาเวอร์ โดยได้รับอนุญาติให้สามารเปิดร้านค้าที่ปลอดภาษีและอากรได้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ดิ้วตี้ฟรี" นั้นเอง   ต่อมาในปี 2532-2537 คิง เพาเวอร์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดตัวร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมืองแห่งแรกของประเทศไทยที่อาคารมหาทุนพลาซ่า ปี 2534-2545 ได้รับใบอนุญาตให้เริ่มดำเนินธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีและอากรในต่างประเทศแห่งแรกของ คิง เพาเวอร์ ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
 

 

 

ย้อนรอยเส้นทางธุรกิจ  "เสี่ยวิชัย" ผู้สร้างอาณาจักรแสนล้าน "คิงเพาเวอร์"

(เสี่ยวิชัย)

 

"ใน ปี 2536-2545 ได้รับสัมปทานให้เปิดร้านจำหน่ายสินค้าทั่วไปที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ปี 2538-2540 ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก ณ กำแพงเมืองจีน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และได้รับสัมปทานให้ดำเนินกิจการร้านค้าปลอดภาษีและอากรในท่าอากาศยานไคตั๊ก เขตปกครองพิเศษที่ฮ่องกง"

 

 

"ปี 2540-2549 ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมือง ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ได้รับสัมปทานให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีและอากรที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานภูเก็ต (ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2563)  ปี 2542-2544 การบินไทยให้สิทธิ์ คิง เพาเวอร์ บริหารการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบนเครื่องของสายการบิน"

 

 

"ต่อเนื่องมายัง ปี 2549 คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ดาวน์ทาวน์ คอมเพล็กซ์ ร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมืองแห่งแรกบนถนนรางน้ำ ที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และยังได้รับสัมปทานใหญ่ในการบริหารจัดการทั้งพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอายานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ต่อมาในปี 2550 ได้รับสัมปทานใหม่ในการประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบนเครื่องบินของการบินไทย"

 

 

ย้อนรอยเส้นทางธุรกิจ  "เสี่ยวิชัย" ผู้สร้างอาณาจักรแสนล้าน "คิงเพาเวอร์"

(คิงเพาเวอร์)

 

 

"ปี 2554 ได้รับใบอนุญาตให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีและอากรในต่างจังหวัดแห่งแรกของประเทศไทยทางภาคตะวันออก ก็คือ คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ พัทยา และ แอร์เอเชียนั้นเอง  และให้สิทธิ์ คิง เพาเวอร์ บริหารกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบนเครื่องของสายการบิน ต่อมา ปี 2555 ได้รับสัมปทานใหม่ให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีและอากรที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อท่าอากาศยานดอนเมืองกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งนึง"

 


"ปี 2556 ได้รับใบอนุญาตให้เปิด คิง เพาเวอร์ ศรีวารี คอมเพล็กซ์ ถือเป็นการขยายร้านค้าครั้งล่าสุดของธุรกิจของเสี่ยวิชัย  และในปีปี 2557 คิง เพาเวอร์ เปิดร้าน “เลสเตอร์ซิตี้แฟน” แห่งแรก ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม และยังได้รับสัมปทานให้ดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินจากสายการบินไทยและแอร์เอเชียเอ็กซ์"

 

 

ย้อนรอยเส้นทางธุรกิจ  "เสี่ยวิชัย" ผู้สร้างอาณาจักรแสนล้าน "คิงเพาเวอร์"

 

 

ต่อเนื่องจากจนถึงปัจจุบัน ที่สามารถกระจายร้านค้าที่เป็นดิ้วตี้ฟรี ในทุกๆหัวมุมเมือง ไม่ว่าจะเป็น ที่รางน้ำ ศรีวารี พัทยาและภูเก็ต ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเสี่ยวิชัย ที่ต้องการให้คิงเพาเวอร์เป็นบริษัทอันดับแนวหน้า ที่สามารถขายสินค้าปลีก และพร้อมที่จะให้บริการในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยวที่ดีที่สุด และผลประกอบการของคิงเพาเวอร์ เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดูแลของเสี่ยวิชัย ในการทุ่มเทกำลังใจและแรงการในการประกอบธุรกิจในครั้งนี้ ซึ่งตัวเลขการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้รวมกว่า แสนล้านบาท 

 

 

แต่นอกจากนี้ ศรีวัฒนประภาไม่ได้มีแค่บริษัทคิงเพาเวอร์เท่านั้น ยังเป็นเจ้าของเลส์เตอร์ซิตี้ (ค.ศ. 2005) แต่ยังมีโรงแรมพูแมนที่อยู่ใกล้ๆ คิงเพาเวอร์รางน้ำอีกด้วย และยังมี โรงละครอักษรา รวมถึงภัตตาคารรามายณะ ล่าสุดคือการซื้อทรัพย์สินบางส่วนของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ร้านค้าปลีก ที่อาคารรีเทลมหานครศิลป์ โรงแรมจุดชมวิว observation deck รวมถึงที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วม และได้เปลี่ยนชื่อเป็น"คิงเพาเวอร์มหานคร" เพื่อต่อยอดธุรกิจเดิมที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามคิงเพาเวอร์ก็ต้องดำเนินต่อไปภายใต้การดูแลของครอบครัวศรีวัฒนประภาต่อไป ของแสดงความเสียใจต่อครอบครัวศรีวัฒนประภาอีกครั้งหนึ่ง 

 

 

 

ย้อนรอยเส้นทางธุรกิจ  "เสี่ยวิชัย" ผู้สร้างอาณาจักรแสนล้าน "คิงเพาเวอร์"

(เสี่ยวิชัย)

 

 

ย้อนรอยเส้นทางธุรกิจ  "เสี่ยวิชัย" ผู้สร้างอาณาจักรแสนล้าน "คิงเพาเวอร์"

(เลสเตอร์ซิตี้)

 

 

ขอบคุณ King Power