เป็นบุญตาที่ได้เห็น ชาวนครฯฮือฮา พบช้างป่าเชือกงาม ตรงตามตำราโบราณ เชื้อสายช้าง ร.9 ตระกูลวิษณุพงศ์

นับว่าเป็นความโชคดีของนายสำเริง ละม้าย หัวหน้าชุดผลักดันช้างอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ซึ่งนำเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฯ เข้าไปตรวจป่า ในบริเวณ หมู่ 6 ต.นาเหรง อ.นบพิตำ และหมู่ 1 ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันสัตว์ป่าขนาดใหญ่

 

  เป็นบุญตาที่ได้เห็น ชาวนครฯฮือฮา พบช้างป่าเชือกงาม ตรงตามตำราโบราณ เชื้อสายช้าง ร.9 ตระกูลวิษณุพงศ์

 

    นับว่าเป็นความโชคดีของนายสำเริง ละม้าย หัวหน้าชุดผลักดันช้างอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ซึ่งนำเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฯ เข้าไปตรวจป่า ในบริเวณ หมู่ 6 ต.นาเหรง อ.นบพิตำ และหมู่ 1 ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันสัตว์ป่าขนาดใหญ่เข้ามาทำร้ายพืชสวนของชาวบ้านบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้จากการเข้าตรวจพบช้างป่า 1 เชือก เดินเข้ามาหากินบริเวณใกล้หมู่บ้าน ในสวนผลไม้ และยางพารา โดยมีการถ่ายคลิปวิดีโอและภาพไว้ด้วย

 

    หลังจากนั้นเมื่อนายสัตวแพทย์พรภิรมย์ ฟุ้งตระกูล สัตวแพทย์อาสามูลนิธิเพื่อนช้างภาคใต้ ได้เห็นภาพช้างป่าเพศผู้เชือกดังกล่าวอย่างละเอียดแล้ว รู้สึกตื่นเต้น เพราะมีขนาดใหญ่ ลักษณะโคนงาใหญ่อวบ ผิวหนังตึงมีสีนิลเสมอทั้งร่าง มีกล้ามเนื้อสมส่วน หลังโค้งลาดสวยงาม และมีลักษณะสำคัญตรงตาม ช้างตระกูลวิษณุพงศ์ กล่าวคือสีผิวมีสีดำเสมอกันทั้งตัว งาขาวสีเช่นเดียวกับสังข์ รูปร่างสูงใหญ่สวยงามสมส่วน เดินสง่างาม นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากที่พบช้างมงคลเช่นนี้ 

 

เป็นบุญตาที่ได้เห็น ชาวนครฯฮือฮา พบช้างป่าเชือกงาม ตรงตามตำราโบราณ เชื้อสายช้าง ร.9 ตระกูลวิษณุพงศ์

 

    ทั้งนี้ในทางพันธุกรรมยังเชื่อว่าสายพันธุ์ช้างนครศรีธรรมราช มีความเชื่อมโยงผูกพันกับพระเศวต ช้างสำคัญประจำรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นช้างในถิ่นนครศรีธรรมราช รอยต่อกับจังหวัดกระบี่ ดังนั้นเชื่อว่าเชื้อสายลักษณะพันธุกรรม ความเป็นมงคลของช้างจะมีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากพื้นที่ของป่าถิ่นอาศัยไม่ได้ห่างไกลกัน ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งล้ำค่าของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่น่าภาคภูมิใจ 

 

  นอกจากนี้นายสัตวแพทย์พรภิรมย์ ฟุ้งตระกูล ยังเชื่อว่าสมัยโบราณนานมาช้างนครศรีธรรมราชถูกคัดเลือกให้ร่วมทำศึก เมื่อครั้งประเทศมีภัย หลังจากเสร็จภารกิจเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ทำการปล่อยช้างเหล่านี้คืนสู่ป่า จึงเชื่อว่ามีการสืบพันธ์ถ่ายทอดความเป็นสายพันธ์มงคลสู่รุ่นลูกหลานต่อไป จนถึงยุคปัจจุบัน

 

 

เป็นบุญตาที่ได้เห็น ชาวนครฯฮือฮา พบช้างป่าเชือกงาม ตรงตามตำราโบราณ เชื้อสายช้าง ร.9 ตระกูลวิษณุพงศ์

 

     สำหรับช้างป่าลักษณะดีเชือกนี้ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช จะร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่คอยดูแล รักษาร่วมกับกรมอุทยาน โดยคาดว่ามีช้างป่าอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวอีก 3 - 4 โขลง และจะพบได้บ่อยใน พื้นที่พรหมคีรี และ อ.นบพิตำ ที่มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์

  โดยตำราคชศาสตร์ว่าไว้ว่า มีช้างเผือกมงคล 4 ตระกูลได้แก่

1. ช้างตระกูลพรหมพงศ์ หมายถึง ช้างเผือกตระกูลที่พระพรหมเนรมิต มักจะมีเนื้อหนังอ่อนนุ่ม หน้าใหญ่ ท้ายต่ำ ขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ  ขึ้นขุมละ 2 เส้น สีขาว โขมดสูง คิ้วสูง น้ำเต้าแฝด มีกระเต็มตัว ขนที่หลังหู ปาก ขอบตามีสีขาว อกใหญ่ งาสีเหลืองเรียวรัดงดงาม มีทั้งหมด 10 หมู่ ที่โดดเด่นที่สุดคือ ฉัททันต์ ผิวกายขาวดั่งเงินยวง งาสีเงินยวง อุโบสถ ขนและงาสีทองเป็นช้างแห่งอายุยืนยง สูงส่งด้วยวิทยาการ ในชาดกกล่าวถึง พระพุทธเจ้าครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ในชาติภพที่เป็นช้างเผือกจะถือกำเนิดเป็น พระยาฉัททันต์  

 

2. ช้างตระกูลอิศวรพงศ์ หมายถึง ช้างเผือกตระกูลที่พระอิศวรเนรมิต ผิวกายดำสนิท งาอวบ งอนเสมอกันทั้งสองข้าง เท้าใหญ่ น้ำเต้ากลม คอย่น ขณะเยื้องย่าง อกใหญ่ หน้าเชิด แยกเป็น 8 หมู่ ที่โดดเด่นที่สุด คือ อ้อมจักรวาล มีงาขวางามกว่างาซ้ายอ้อมโอบงวง และกัณฑ์หัตถ์งาซ้ายจะยาวกว่างาขวา อ้อมโอบงวงเช่นกัน เป็นช้างแห่งความสุข และเจริญด้วยทรัพย์สินและอำนาจ

 

 

เป็นบุญตาที่ได้เห็น ชาวนครฯฮือฮา พบช้างป่าเชือกงาม ตรงตามตำราโบราณ เชื้อสายช้าง ร.9 ตระกูลวิษณุพงศ์

3. ช้างตระกูลวิษณุพงศ์ หมายถึง ช้างเผือกตระกูลที่พระวิษณุเนรมิต ผิวหนา ขนหนาเกรียน สีทองแดง อก คอ คางใหญ่ หางยาว งวงยาว หน้าใหญ่ นัยน์ตาขุ่น หลังราบ แยกเป็น 6 หมู่ ที่โดดเด่นที่สุด คือ สังขทันต์ มีงาอวบเรียวเหมือนสังข์ร้องได้ 2 เสียง ตอนเช้าเป็นเสียงเสือ ตกเย็นเป็นเสียงไก่ขัน และดามหัสดินทร์ มีกายสีทองแดง เป็นช้างแห่งชัยชนะ พลาหาร ธัญญาหาร และน้ำฝนจะอุดมสมบูรณ์

 

4. ช้างตระกูลอัคนีพงศ์ หมายถึง ช้างเผือกตระกูลที่พระอัคนีเนรมิต ท่วงทีงดงาม เดินเชิดงวง อกใหญ่ งาทั้งสองโค้งพอจรดกัน สีเหลืองจนสีขาวปนแดง ผิวกายคล้ายสีใบตองตากแห้ง แยกเป็น 42 หมู่ ที่น่าสังเกต คือ ช้างที่มีผิวกายประหลาดแต่ตกชั้น หรือขาดคชลักษณ์สำคัญอื่นๆ จะอยู่ในตระกูลนี้ด้วย หากได้ขึ้นระวางเป็นช้างสำคัญ ผิวกายจะปกติ แต่รูปร่างปราดเปรียว งาจะอวบสั้น คชลักษณ์งดงามกว่าช้างสามัญธรรมดาทั่วไป ซึ่งก็จัดอยู่ในตระกูลนี้เช่นกัน ส่วนช้างตามคชลักษณ์ที่สองจะเรียกว่า "ช้างเนียม"  ในราชพงศาวดารได้รับพระราชทินนามเป็น  มณีจักราก็อยู่ในตระกูลนี้ โดยช้างตระกูลอัคนีพงศ์ ยังแบ่งเป็นช้างเผือก และช้างเนียม