เพื่อสุขภาพจริงๆ เครือข่ายฯ หนุนเก็บภาษีเค็ม โซเดียมมากไปเป็นห่วง หวังช่วยคนไทยสุขภาพดี

สืบเนื่องจากวันที่ 7 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา อธิบดีกรมสรรพากรเผยว่าจากการเก็บภาษีของกรมสรรพากรประจำปีงบประมาณ 2562 ทะลุเป้าหมายถึง 4.7% มากกว่าปี 2561 จำนวน 83,912 ล้านบาท ซึ่งมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งจากการบริโภคภายในประเทศและจากการนำเข้า

  เพื่อสุขภาพจริงๆ เครือข่ายฯ หนุนเก็บภาษีเค็ม โซเดียมมากไปเป็นห่วง หวังช่วยคนไทยสุขภาพดี  

 

    สืบเนื่องจากวันที่ 7 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา อธิบดีกรมสรรพากรเผยว่าจากการเก็บภาษีของกรมสรรพากรประจำปีงบประมาณ 2562 ทะลุเป้าหมายถึง 4.7%  มากกว่าปี 2561 จำนวน 83,912 ล้านบาท ซึ่งมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งจากการบริโภคภายในประเทศและจากการนำเข้า และยืนยันว่าตลอดปีจะสามารถเก็บได้กว่า 2 ล้านล้านบาท (อ่านต่อเพิ่มเติม : สรรพากรยิ้มร่า เก็บภาษีแรกปีงบประมาณ 62 ทะลุเป้า เปิดแผนรุกหนักใช้ระบบดิจิทัลเชื่อมข้อมูลทั่วถึงตั้งเป้า 2 ล้านล้านบาท) 

 

    จนมีการตั้งคำถามต่อมาว่าเป็นจำนวนเงินที่มากเกินไปหรือไม่ ถึงแม้ว่าทางกรมฯ จะยืนยันว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นภาษีในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวได้ดี เพราะการเพิ่มภาษีจะทำเมื่อประเทศอยู่ในสภาวะเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น

 

 

เพื่อสุขภาพจริงๆ เครือข่ายฯ หนุนเก็บภาษีเค็ม โซเดียมมากไปเป็นห่วง หวังช่วยคนไทยสุขภาพดี
 

 

    ล่าสุด 8 พ.ย. 2561 มีประเด็นเกี่ยวกับการเก็บภาษีที่กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นอีกครั้ง เมื่อนายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เผยว่า ขณะนี้กำลังมีแผนปรับเปลี่ยนจากกรมเก็บภาษีที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี

 

    ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าที่มีน้ำตาลมาก โดยต่อไปจะเสนอให้ ครม. เห็นชอบเก็บภาษีสินค้าที่มีไขมันและความเค็มมาก ซึ่งเป็นอีกต้นเหตุสำคัญในการทำลายสุขภาพ สำหรับรูปแบบการพิจารณาเพื่อเก็บภาษีนั้น จะยังคงใช้แบบเดียวกับการเก็บภาษีความหวาน หากมีมติเห็นชอบจะมีระยะเวลาให้ผู้ประกอบการได้เตรียมความพร้อมปรับสูตรอาหารอาจอยู่ในกรอบเวลา 5 ปี ซึ่งหากทางผู้ประกอบการสามารถลดไขมันหรือความเค็ม ก็จะทำให้อัตราภาษีลดลง

 

 

เพื่อสุขภาพจริงๆ เครือข่ายฯ หนุนเก็บภาษีเค็ม โซเดียมมากไปเป็นห่วง หวังช่วยคนไทยสุขภาพดี

    ทางด้าน ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เรื่องทั้งหมดยังคงเป็นเพียงข้อเสนอ แต่ถ้าหากมีการเก็บภาษีเค็มจริงก็ถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะจะมีการมุ่งเป้าไปยังสินค้าที่มีความเค็มสูงเป็นอันดับแรก ซึ่งในภาพรวมย่อมกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่นิยมบริโภครสเค็มเป็นประจำ เพราะการปรับต่อมรับรสนั้นอาจต้องใช้เวลา เบื้องต้นจะต้องปรับให้ลดลงไม่เกิน 10% ระดับนี้ลิ้นของผู้บริโภคจะจับความต่างไม่ได้ จึงต้องลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำคัญที่สุดสิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยคือการรณรงค์ลดบริโภคเค็ม 

 

    ทั้งนี้จากข้อมูลเชิงสถิติพบว่าคนไทยส่วนใหญ่บริโภคโซเดียมที่มากับอาหารรสเค็ม เกินกว่าที่ร่างกายต้องการประมาณ 2 เท่า โดยเมื่อ 8 ปีก่อนคนไทยบริโภคเกลือมากถึง 4 พันมิลลิกรัมต่อวัน ขณะที่ร่างกายมีขีดจำกัดและความต้องการเพียง 2 พันมิลลิกรัมเท่านั้น แต่โดยรวมก็เห็นได้ว่าคนไทยเริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น จากสินค้าต่างๆ ที่มีการปรับสูตรให้มีความเป็นมิตรต่อร่างกายผู้บริโภคอีกประการอาจเป็นเพราะอาหารสุขภาพหรืออาหารคลีนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

 

 

เพื่อสุขภาพจริงๆ เครือข่ายฯ หนุนเก็บภาษีเค็ม โซเดียมมากไปเป็นห่วง หวังช่วยคนไทยสุขภาพดี

    การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปนั้น ร่างกายต้องรับภาระในการกรองของเสียมากขึ้น โดยภาระดังกล่าวจะตกไปอยู่ที่ "ไต" เมื่อไตทำงานหนักขึ้น ในระยะยาวจะนำไปสู่ภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังต่อไปนี้

 

1. บวมน้ำ อาการบวมทางกายภาพหาใช่เป็นการบวมจาก "ไขมัน" เสมอไป เพราะการบริโภคเกลือโดยที่ไม่มีการดื่มน้ำบริสุทธิ์ชดเชยเพื่อปรับสมดุล ร่างกายจะกักเก็บน้ำในร่างกายมากขึ้น ในกลุ่มนี้ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมคือ 1 ลิตร ต่อ น้ำหนักตัว 30 กิโลกรัม 

2. ความดันโลหิตสูง เมื่อร่างกายกักเก็บน้ำมากขึ้น ทำให้ระบบร่างกายโดยรวมเสียสมดุล รวมไปถึงระบบหัวใจ เมื่อหัวใจทำงานหนักขึ้น ในระยะยาวอาจทำให้หัวใจวายอย่างเฉียบพลันจนเสียชีวิตในที่สุด โดยมีรายงานว่าในประเทศอังกฤษมีคนเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 170,000 คนต่อปี

3. กระดูกพรุน มีผลวิจัยยืนยันว่าการบริโภคเกลือมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกระดูกโดยตรง เพราะการบริโภคเกลือมากจนเกินไปจะทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกเสื่อม

4. หอบหืด การบริโภคเกลือมากๆ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ตรงกันข้ามหากบริโภคอย่างพอเหมาะ จะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น 

5. มะเร็งกระเพาะอาหาร เกลือมีฤทธิ์ในการทำลายผนังกระเพาะอาหารหากบริโภคในปริมาณที่มาก เมื่อกระเพาะเป็นแผลอาจทำให้ติดเชื้อ จนเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

    อย่างไรก็ตามหากบริโภครสเค็มอย่างพอเหมาะจะช่วยให้กระตุ้นความอยากอาหาร และปรับความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อีกทั้งเกลือทะเลยังมีสารไอโอดีน ที่สามารถป้องกันโรคคอหอยพอกได้ ส่วนประเด็นการเก็บภาษีที่มีความเค็มจะถูกนำมาบังคับใช้หรือไม่นั้น คงต้องติดตามกัน

 

 

เพื่อสุขภาพจริงๆ เครือข่ายฯ หนุนเก็บภาษีเค็ม โซเดียมมากไปเป็นห่วง หวังช่วยคนไทยสุขภาพดี