หนักเลยคนไทย กกพ.ขึ้นค่าเอฟที ดันค่าไฟขยับขึ้นอีกแพงสุดในรอบ 16 เดือน

กลายเป็นกระแสวิพากษวิจารณ์ขึ้นทันที จากกรณีเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2561 น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เผยว่า กกพ.มีมติให้เรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่าเอฟที

หนักเลยคนไทย กกพ.ขึ้นค่าเอฟที ดันค่าไฟขยับขึ้นอีกแพงสุดในรอบ 16 เดือน

 

    กลายเป็นกระแสวิพากษวิจารณ์ขึ้นทันที จากกรณีเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2561 น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เผยว่า กกพ.มีมติให้เรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่าเอฟที สำหรับงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2562 เพิ่มขึ้น จากเดิม 3.5966 บาทต่อหน่วย เพิ่มเป็น 3.6396 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จะเห็นได้ว่าเฉลี่ยแล้วเพิ่มจากงวดก่อน 4.30 สตางค์ต่อหน่วย 
 

 

    หากไม่มีการบริหารจัดการค่าเอฟทีที่เรียกเก็บกับประชาชนค่าเอฟทีจะเพิ่มขึ้น 8.10 สตางค์ต่อหน่วย ค่าดังกล่าวคือ Float time  มีความหมายว่า การลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ เหตุที่ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าเอฟทีมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นที่มิอาจควบคุมได้ เห็นได้จากราคาก๊าซในเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2561 ปรับตัวสูงขึ้น 12.67 บาทต่อล้านบีทียู ราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 3.48 บาทต่อลิตร ราคาน้ำมันเตาเพิ่มขึ้น 1.17 บาทต่อลิตร และราคาถ่านหินเพิ่มขึ้น 114.36 บาทต่อตัน และราคาซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้น 0.08 บาทต่อหน่วย
 

 

หนักเลยคนไทย กกพ.ขึ้นค่าเอฟที ดันค่าไฟขยับขึ้นอีกแพงสุดในรอบ 16 เดือน

 

    ทั้งนี้ทางกกพ.มีมติให้นำเงินสะสมรวมทั้งสิ้น 10,367 ล้านบาท จากการเรียกเก็บค่าเอฟทีจำนวน 3,298 ล้านบาท รวมกับเงินค่าบริหารเอฟทีและค่าปรับจากผู้ประกอบการจำนวน 5,547 ล้านบาท และเม็ดเงินลงทุนจากการไฟฟ้าที่ไม่ได้ลงทุนตามแผนอีกจำนวน 1,522 ล้านบาท อนึ่งเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและลดการผันผวนของการปรับเพิ่มค่าเอฟทีที่ส่งผลกระทบต่อค่าบริหารไฟฟ้า และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละครัวเรือนทางหนึ่งอีกด้วย

    สถานการณ์ความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงขณะนี้ ทำให้ กกพ. คาดการณ์ได้ว่าราคาเชื้อเพลิงยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องสัมพันธ์กับอัตราค่าเอฟทีงวดถัดไปช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค. 2562 ดังนั้นจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อบริหารจัดการเงินสะสมสำหรับดูแลค่าไฟให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ให้กระทบต่อค่าครองชีพน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจองค์รวมเป็นสำคัญ
 

 

    ทาง กกพ. ยังได้ขอความร่วมมือไปยัง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อวิเคราะห์ลดสัดส่วนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) พร้อมประสานไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้พิจารณาแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีความเหมาะสมเพื่อเพิ่มปริมาณการซื้อไฟฟ้าจากประเทศใกล้เคียงที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าในประเทศอีกด้วย

 

หนักเลยคนไทย กกพ.ขึ้นค่าเอฟที ดันค่าไฟขยับขึ้นอีกแพงสุดในรอบ 16 เดือน
 

 

    สำหรับสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยในปี 2561 ในภาพรวมพบว่า เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 2.4 % อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวเช่นโรงแรม รวมถึงภาคการส่งออก และการลงทุนภาคเอกชน ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้นประเภทที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะพื้นฐาน ตามความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการใช้สินค้าและการส่งออกที่ขยายตัวตามลำดับ

    ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มีการใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงได้แก่ห้างสรรพสินค้า อพาร์ตเมนต์ เกสเฮ้าส์ และโรงแรม โดยการใช้ไฟฟ้าสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น ในช่วง 8 เดือนแรกของปีพบว่า มีจำนวน 25.9 ล้านคน ภาคครัวเรือนมีสัดส่วนที่ไม่สูงไปจากเดิมมากนัก เนื่องจากมีฝนตกนอกฤดูกาลอากาศไม่ร้อน เป็นปัจจัยที่ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศ
 

 

    เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรแล้วเหตุปัจจัยที่นำมาสู่การขึ้นค่าไฟฟ้านั้น มิได้ขึ้นอยู่กับใครหรือผู้ใด แต่เป็นเพราะตัวแปรอันหลากหลายที่อยู่เหนือการควบคุม การช่วยกันประหยัดพลังงานในทุกภาคส่วนจึงเป็นทางออกหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณา

 

 

หนักเลยคนไทย กกพ.ขึ้นค่าเอฟที ดันค่าไฟขยับขึ้นอีกแพงสุดในรอบ 16 เดือน