เปิดอัตชีวประวัติ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" มรณภาพ 100 ปี รูปที่ 4 ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย

เปิดอัตชีวประวัติ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" มรณภาพ 100 ปี รูปที่ 4 ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย

เปิดอัตชีวประวัติ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" มรณภาพ 100 ปี รูปที่ 4 ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย

 

ถือเป็นการสูญเสียอีกครั้งของวงการพระพุทธศาสนาหลังเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 61  พระพรหมมุนี (สุชิน อัคคชิโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะประธานกรรมการวัดสัมพันธวงศาราม ออกมาเปิดเผยการมรณภาพอย่างสงบของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม กรรมการมหาเถรฯ และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต) ขณะเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยโรคชราภาพ สิริรวมอายุ 100 ปี 316 วัน พรรษา 81 ทั้งนี้พระเทพสังวรญาณ (จิรพล อธิจิตโต) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม และคณะกรรมการวัดสัมพันธวงศาราม เบื้องต้นคาดว่าจะมีพิธีสรงน้ำศพ ในวันที่ 12 พ.ย. หรือวันที่ 13 พ.ย.นี้ สำหรับประวัติของ พระพรหมมุนี ถือเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่มีประชาชนให้ความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างมาก โดยท่านอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เคยดำรงตำแหน่งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชมีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง "คันถธุระ" จนประสบผลสำเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้น้อมนำหลักธรรมค่าสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม

 

เปิดอัตชีวประวัติ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" มรณภาพ 100 ปี รูปที่ 4 ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย

 

  เปิดอัตชีวประวัติ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" มรณภาพ 100 ปี รูปที่ 4 ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย

 

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เกิด ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ) โยมบิดาชื่อช่วย โยมมารดาชื่อกา นามสกุล ก่อบุญ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 11 คน นอกจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วยังมีผลผลิตทางธรรมจากบ้านบ่อชะเนงและเป็นญาติกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีก 2 รูป คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย ป.ธ.7) เจ้าอาวาสวัดบ่อชะเนง และเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ (รูปปัจจุบัน) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้บรรพชาเมื่อ พ.ศ. 2472 ที่วัดบ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) โดยมีญาคูโม้เป็นพระอุปัชฌาย์ และ ต่อมาได้ออกธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ผ่านจังหวัด ร้อยเอ็ด สารคาม ขอนแก่น ได้บรรพชาญัติเป็นสามเณรธรรมยุต โดยมี หลวงปู่สิงห์ ขนฺตญาคโม ณ.วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ขณะอายุ 20 ปี ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 โดยมีพระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณรังษี (สุวรรณ ชุตินฺธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัดเส็ง ทินฺนวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ภายหลังรับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระเนกขัมมมุนี)

 

เปิดอัตชีวประวัติ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" มรณภาพ 100 ปี รูปที่ 4 ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย

 

หลังอุปสมบท ได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2481 สามารถสอบได้นักธรรม ชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พ.ศ. 2499 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และอื่นๆ ตามลำดับ ในปี พ.ศ.2560 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจริญอายุวัฒนมงคลครบ 100 ปีแม้ท่านจะมีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ แต่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แต่ยังคง ปฎิบัติวิปัสนากัมมัฏฐาน เน้นการฝึกจิต ตามแบบสายพระภิกษุธรรมยุตฝ่ายกองทัพธรรมสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สามารถผสมผสานและปฏิบัติได้อย่างลงตัวเหมาะสม จนมีคำเรียกขานในศรัทธาชนว่าท่านเป็นพระกัมมัฏฐานกลางกรุง และถือเป็นพระรูปที่ 4 ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย ที่มีอายุถึง 100 ปี

 

ขอบคุณรูปจากเฟซบุ๊ก คณะศิษย์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์