พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

หลังจากที่หลายประเทศทั่วโลกต่างผ่อนปรนกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาทางการแพทย์หรือเพื่อสันทนาการได้อย่างถูกต้อง แต่กัญชายังถือเป็นสิ่งเสพติดให้โทษประเภท 5 ในไทย ซึ่งผู้เสพต้องระวางโทษปรับ หรือจำคุก ส่วนรัฐบาลเพิ่งเริ่มหาทางแก้กฎหมายเปิดช่องให้ศึกษาวิจัยพืชเสพติดได้อย่างถูกต้อง 

แม้ผู้ป่วยไทยบางส่วนลักลอบใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคร้ายมาหลายปีแล้วก็ตาม โดยในประเทศไทยได้มีหลายสถาบันทางการแพทย์ และมหาวิทยาลัย พยายามคิดค้นสกัดสารจากกัญชา เพื่อใช้รักษาโรคต่างๆ 

 

 

ก่อนหน้านี้ทางคณะเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต ได้คิดค้นสารสกัดกัญชาเพื่อบำบัดโรคมะเร็ง ที่พัฒนาวิจัยขึ้นมา เป็นแบบสเปรย์พ่นปาก  ผ่านการทดลองในสัตว์เรียบร้อย  เหลือเพียงการทดลองในคน ที่อย.ยังไม่อนุญาต และได้มีการร้องขอให้คสช.ปลดล็อกให้ทำการวิจัยขั้นต่อไปได้ เพื่อไม่ให้ตำรับยาไทยโบราณ   ภูมิปัญญาตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ใช้ประโยชน์และได้รับการต่อยอด

 

พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

 

 

ต่อมาทางด้านคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษมีมติเลื่อนการยกระดับ กัญชา จากยาเสพติดประเภท 5 เป็นประเภท 2 ออกไปก่อน เพื่อรอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความทางกฎหมายให้ชัดเจนว่า สามารถทำได้หรือไม่นั้น 
 

ล่าสุดทางด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการพิจารณาการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ได้เปิดเผยถึงประเด็นดังกล่าวว่า  การเลื่อนออกไปก่อนก็ถือว่า ดี ตรงที่หากรอร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็จะครอบคลุมมากกว่า และจากไทม์ไลน์ก็คิดว่าน่าจะทันในรัฐบาลชุดนี้

 

 

แต่ที่กังวลคือ กลัวว่าที่ทำกันมาหมดจะไม่สามารถใช้ได้จริง เนื่องจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กลับทำบางสิ่งที่อาจส่งผลให้ประเทศเสียหายได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งที่ต้องแจ้งนายกรัฐมนตรีด่วน เพราะที่ผ่านมากรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับเรื่องจากบริษัทต่างชาติ ที่เข้ามาขอยื่นจดสิทธิบัตรสารจากกัญชา ทั้งๆที่ทำไม่ได้ เพราะสารที่บริษัทต่างชาติมาจดเป็นสารในธรรมชาติของกัญชา

 

 

พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

 


ตามกฎหมายสิทธิบัตรไม่ได้ให้จด แต่จะจดได้ก็ต่อเมื่อเป็นสารสังเคราะห์ ถือว่าผิดพลาดมาก  “ที่สำคัญเมื่อบริษัทนั้นมายื่นเรื่องขอสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญากลับรับเรื่อง และตามขั้นตอนได้ประกาศในเว็บไซต์เพื่อให้มีคนมาคัดค้าน ซึ่งให้ระยะเวลาคัดค้าน คือ 90 วัน ปรากฏว่าผ่านพ้นไปแล้ว แต่ยังเหลือขั้นตอนคัดค้านได้อีก ปัญหาคือ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า กรมทรัพย์สินฯ จะยืนฝั่งคนไทย เพราะการกระทำแบบนี้ถือว่าผิดพลาดมาก” 

 

 

ที่กังวลคือ หากบริษัทต่างชาติได้สิทธิบัตร สิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งการเดินหน้าปลดล็อกกฎหมายเพื่อผู้ป่วย ทั้งการเดินหน้าขององค์การเภสัชกรรม ทั้งโรงงานกึ่งอุตสาหกรรม และการพัฒนาสายพันธุ์ การสกัดสารใช้งบ 120 ล้านจะทำได้อยู่หรือไม่ นี่เป็นสิ่งที่น่าห่วง

 

 

พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

 

 

พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

 


นอกจากนี้ในเฟซบุ๊กของ  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ใช้ชื่อว่า ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ยังได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า "ต้องรับผิด และถูกตรวจสอบ รายละเอียดเบื้องลึก  กรรมการปฎิรูประบบสาธารณสุข นายแพทย์โสภณ เมฆธนและคณะขององค์การเภสัชกรรม และดร. นันทกาญจน์ ให้เห็นว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ทำตามคู่มือ บกพร่องตั้งแต่ต้น ยังมาแถอีก และให้เห็นว่าแม้ยื่นตรวจสอบแล้วก็ไม่ทำอะไร 
ตามคู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2555 กำหนดให้มีการตรวจสอบเบื้องต้นก่อนประกาศโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นคำขอผ่านระบบ PCT หรือระบบปกติ การตรวจสอบเบื้องต้นกำหนดให้ตรวจสอบ ม. 17 , ม. 9 ก่อน (ตามคู่มือหน้า 4 และ 263) ดังนั้น คำขอรับสิทธิบัตรที่ติด ม. 9 ต้องถูกตัดออก โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรายงานอธิบดีให้ดำเนินการยกคำขอ 

 

 

จากข้อมูลสิทธิบัตรที่ทางองค์การเภสัชกรรมตรวจสอบประกาศโฆษณาจากเวปไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาพบว่ามีคำขอรับสิทธิบัตรเกี่ยวกับสารสกัดจากกัญชาซึ่งมีข้อถือสิทธิที่ขัดต่อ ม. 9 (1) เนื่องจากซึ่งเป็นสารสกัดจากพืชที่มีอยู่ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการขอถือสิทธิรวมไปถึงการใช้บำบัดรักษาโรค ซึ่งขัดต่อ ม. 9(4) ซึ่งคำขอรับสิทธิบัตรเหล่านี้ต้องโดนยกคำขอโดยไม่มีการปล่อยหลุดมาจนถึงขั้นตอนการประกาศโฆษณา ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่บกพร่อง และจากการที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้คำตอบว่ายังไม่มีการออกเลขสิทธิบัตรให้

 


แต่ในแง่ของกฏหมายนั้นคำขอนี้ได้รับการคุ้มครองนับตั้งแต่วันยื่นคำขอในราชอาณาจักรแล้ว ตาม ม. 36 ดังนั้น จึงทำให้เป็นข้อกังวลแก่นักวิจัยไทยเป็นอย่างมาก  และนอกจากนี้ทางองค์การเภสัชได้ตรวจสอบพบว่ามีบางคำขอยื่นตรวจสอบการประดิษฐ์แล้ว แต่ก็ยังไม่มีการพิจารณาจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยกตัวอย่างเช่น


1. เลขที่คำขอ 0501005232 วันยื่นคำขอ 07/11/2548 วันประกาศโฆษณา 15/03/2550 วันยื่นตรวจสอบการประดิษฐ์ 15/01/2551 ขอถือสิทธิ สารผสมทรานส์-(-)-เดลตา9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือทรานส์-(+)-เดลตา9-เตตราไฮโดร แคนนาบินอล ที่สารผสมทรานส์-(-)-เดลตา9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอลประกอบด้วยอย่างน้อยประมาณ 98 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักของทรานส์-(-)-เดลตา9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอลยึดตามปริมาณทั้งหมดของ แคนนาบินอยด์ และสารผสมทรานส์-(+)-เดลตา9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอลประกอบด้วยอย่างน้อย ประมาณ 98 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักของทรานส์-(+)-เดลตา9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอลยึดตามปริมาณทั้งหมดของ แคนนาบินอยด์

 

 


จากคำขอนี้พบว่ายื่นตรวจสอบตั้งแต่ปี 2551 ผ่านมาสิบปี ก็ยังไม่มีการพิจารณาใดๆ ออกมาว่าจะออกเลขสิทธิบัตรให้หรือจะยกคำขอ

 


2. เลขที่คำขอ 0601002456 วันยื่นคำขอ 30/05/2549 วันประกาศโฆษณา 09/11/2550 วันยื่นตรวจสอบการประดิษฐ์ 08/11/2555 ขอถือสิทธิ สารผสมซึ่งประกอบรวมด้วย ทรานส์-(+-)-เดลตา 9-เตตระไฮโดรแคนนาบินอลที่เป็นผลึก และพาหะที่ยอมรับได้ในทางเภสัชกรรม

 


จากคำขอนี้พบว่ายื่นตรวจสอบตั้งแต่ปี 2555 ผ่านมาหกปี ก็ยังไม่มีการพิจารณาใดๆ ออกมาว่าจะออกเลขสิทธิบัตรให้หรือจะยกคำขอ

 


3. เลขที่คำขอ 0901002471 วันยื่นคำขอ 03/06/2552 วันประกาศโฆษณา 21/06/2556 วันยื่นตรวจสอบการประดิษฐ์ 06/06/2561 ขอถือสิทธิ สารรวมที่เป็นยาสำหรับใช้รักษาโรคมะเร็งประกอบด้วย สารรวมของแคนนาบินอยด์ในปริมาณที่ได้ผลในการทำเคมีบำบัดซึ่งรวมเอาปริมาณยาซึ่งถูกพิจารณาในระดับต่ำกว่าปริมาณที่สารประกอบนั้นจะถูกใช้เพียงชนิดเดียว

 

พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

 

 

ลักษณะข้างต้นนี้ เท่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยาสามัญก็ประสบกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ในกรณีคำขอรับสิทธิบัตรที่เราเรียกกันว่า evergreening patent ซึ่งมีหลายคำขอที่มีความคลุมเครือ ไม่มีการออกเลขสิทธิบัตรให้จนกระทั่งครบระยะเวลาการคุ้มครอง 20 ปี สิ่งเหล่านี้มันดูเหมือนว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในประเทศ แต่เป็นการเอื้อประโยชน์ต่างชาติ"

 

 

พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

 

 

 

พลาดชุดใหญ่ แพทย์จุฬาฯจวกแรงกรมทรัพย์สินฯ ปล่อยต่างชาติจดสิทธิบัตรกัญชา แจงชัดงานนี้คนไทยเสียเปรียบเต็มๆ

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha