ด่วน! สธ.สั่งฟัน "รพ.พระราม2" ไร้มาตรฐาน

ด่วน! สธ.สั่งฟัน "รพ.พระราม2" ไร้มาตรฐาน

จากกรณีเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (14/11/2561) นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม เดินทางเข้ายื่นหนังสือกับนายประเสริฐ ฉวีอินทร์ ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน เพื่อให้ตรวจสอบใบอนุญาตก่อสร้างดัดแปลงอาคาร ตรวจสอบอาคาร และใบอนุญาตเปิดใช้อาคารของโรงพยาบาลพระราม 2 

ด่วน! สธ.สั่งฟัน "รพ.พระราม2" ไร้มาตรฐาน

ด่วน! สธ.สั่งฟัน "รพ.พระราม2" ไร้มาตรฐาน

 

นายอัจฉริยะ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2557 โรงพยาบาลพระราม 2 ได้เกิดเหตุไหม้ และมีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย ซึ่งจากการตรวจสอบในครั้งนั้นทราบว่าไม่มีการติดตั้งสปริงเกอร์ จึงอยากให้ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาคารดังกล่าวว่าภายหลังเกิดเหตุได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วหรือไม่ นอกจากนี้จากการตรวจสอบพบว่ามีการต่อเติมอาคารที่ผิดไปจากแบบที่วางไว้ ส่วนจะมีความผิดหรือไม่นั้นก็ต้องในทางสำนักงานเขตและกรมโยธาเข้าตรวจสอบ

 

ด่วน! สธ.สั่งฟัน "รพ.พระราม2" ไร้มาตรฐาน

นายอัจฉริยะ กล่าวต่อว่า สำหรับโรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ นั้นเป็นโรงพยาบาลลูกในเครือของโรงพยาบาลพระราม 2 ซึ่งหากใครใช้ประกันสังคมก็จะให้ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ นอกจากนี้ยังพบว่าทั้ง 2 โรงพยาบาลมีการทุจริตในการใช้หมอปลอมและพยาบาลปลอม จากนั้นเมื่อมีการรักษาก็ไปเบิกเงินกับหลวงที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตนก็จะทำการยื่นเรื่องตรวจสอบเช่นกัน 

ด่วน! สธ.สั่งฟัน "รพ.พระราม2" ไร้มาตรฐาน

 

ต่อจากกรณีดังกล่าวนั้น นางจันฑนา จินดาถาวรกิจ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ซึ่งได้รับมอบอำนาจจาก นพ.วิศิษฏ์ ตั้งนภากร อธิบดี สบส. ชี้แจงกรณีที่ นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม เข้าร้องเรียนให้ตรวจสอบมาตรฐานของโรงพยาบาลพระราม 2 เนื่องจากไม่รับรักษา น.ส.ช่อลัดดา ทาระวัน อายุ 38 ปี หญิงสาวที่ถูกสามีใช้น้ำกรดกรอกปาก และ สาดใส่ จนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

 

โดยนางจันฑนา ระบุว่า หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน ทาง สบส. จะนำเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เรื่องร้องเรียน คณะที่ 1 ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสถานพยาบาล เพื่อพิจารณาให้ความเห็น ทั้งนี้ได้มีการลงพื้นที่ไปสืบสวนพยานหลักฐาน รวมถึงสอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง เบื้องต้น พบว่าโรงพยาบาลมีความผิดจริง ในประเด็นการรับ และ ส่งต่อผู้ป่วย ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุไว้ ในพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ของกระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการสั่งให้สถานพยาบาลดังกล่าว ปรับปรุงมาตรฐาน ภายในระยะเวลา 15 วัน ก่อนจะมีการลงพื้นที่ไปตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการอย่างละเอียดอีกครั้งและในวันที่ 19 พ.ย. 61 ทางคณะอนุกรรมการฯ จะมีการประชุม เพื่อหาแนวทางการสรุปบทลงโทษในประเด็นที่รอบด้านต่อไป ซึ่งการสอบสวนประเด็นหลัก ๆ จะอยู่ที่การตรวจสอบว่าขณะที่ผู้ป่วยเดินทางไปรักษา มีแพทย์เวรประจำอยู่หรือไม่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก inn