ลอยกระทง "ประเพณียี่เป็ง" ความสำคัญที่ต้องอนุรักษ์

เรียกได้ว่าใกล้เข้ามาทุกขณะกับวันเทศกาลลอยกระทงตามหมายกำหนดสำหรับปีนี้ คือวันที่ 22 พ.ย. 2561 ถือเป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง เมื่อนางสุจิตรา จงชาณสิทโธ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า

ลอยกระทง "ประเพณียี่เป็ง" ความสำคัญที่ต้องอนุรักษ์

เรียกได้ว่าใกล้เข้ามาทุกขณะกับวันเทศกาลลอยกระทงตามหมายกำหนดสำหรับปีนี้ คือวันที่ 22 พ.ย. 2561 ถือเป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง เมื่อนางสุจิตรา จงชาณสิทโธ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีลอยกระทงควบคู่กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมคงความเอกลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่น และเพื่อเป็นการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวไปยังแต่ละภูมิภาค
 
ททท. จึงจัดงานประเพณีลอยกระทงทั่วประเทศ 9 พื้นที่ ได้แก่ 

1. งานสีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง "ลอยกระทงกาบกล้วยเมืองแม่กลอง" ณ วัดภุมรินทร์กุฎีทอง จังหวัดสมุทรสงคราม
2. งานประเพณีเดือนยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่
3. งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
4. งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง จังหวัดตาก
5. งานเทศกาลลอยกระทงสี วัดไทรอารีรักษ์ จังหวัดราชบุรี
6. งานสะเปาจาวละกอน จังหวัดลำปาง
7. งานลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร และงานลอยกระทงกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8. งานสมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป จังหวัดร้อยเอ็ด และ 9. งาน River Festival 2018 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 4 "สุข แสง ศิลป์" ที่ ท่ามหาราช วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
9. งาน Chao Phraya River of Live ที่ ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร

ลอยกระทง "ประเพณียี่เป็ง" ความสำคัญที่ต้องอนุรักษ์

ทั้งนี้ นางสุจิตรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่าปีนี้ลอยกระทงจะตรงกับวันพฤหัสบดี ซึ่งไม่ใช่วันหยุดแต่ทางภาครัฐและเอกชนก็ร่วมมือกันจัดงานอย่างเต็มที่ให้ออกมาดีที่สุด เห็นได้จากการให้ความสำคัญกับเมืองรองนอกเหนือจากพื้นที่หลักที่จัดอยู่เป็นประจำทุกปี ในบางพื้นที่จะมีการขยายวัดเพื่อให้เต็มอิ่มกับประเพณี อาทิ งานเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ขยายจาก 5 วันเป็น 10 วัน งานถวายโคมแด่องค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัย และ จังหวัดลำพูน ขยายจาก 3 วัน เป็น 7 วัน ขณะนี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออากาศเริ่มหนาวเย็น เข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี และคาดว่าะพื้นที่ที่ ททท. ให้การสนับสนุนการจัดงานประเพณีลอยกระทง จะมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะพื้นที่จัดงานหลัก เช่น เชียงใหม่
 
ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีลอยกระทงตามวัฒนธรรมล้านนา จัดขึ้นในวันที่ 2 ของชาวล้านนา  ยี่เป็ง เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง โดยจะเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 13 ค่ำ ในวันนี้จะเป็นวันจ่ายเพื่อเตรียมของไปทำบุญเลี้ยงพระ จะเรียกวันนี้ว่า "วันดา" เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ ผู้หลักผู้ใหญ่รวมถึงผู้มีศรัทธาจะนำของไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และจะถือโอกาสไปถือศีลฟังธรรม

ลอยกระทง "ประเพณียี่เป็ง" ความสำคัญที่ต้องอนุรักษ์

 

ลอยกระทง "ประเพณียี่เป็ง" ความสำคัญที่ต้องอนุรักษ์

ที่สำคัญจะมีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ภายในกระทงจะมีของกินข้าวของเครื่องใช้ เพื่อเป็นทานแก่ผู้ยากจนต่อไป และเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงจะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กที่เตรียมไว้ไปลอยที่แม่น้ำ ในคืนดังกล่าวบ้านเรือนจะเต็มไปด้วยแสงไฟสว่างไสว ที่ชาวล้านนาจุดบูชา เรียงรายทั่วทุกครัวเรือน บริเวณที่จุด ได้แก่ บันได หน้าต่าง ยุ้งข้าว นอกจากนี้ ยังจุดโคมไฟใส่ค้างแขวน บริเวณหน้าบ้านประดับตกแต่งด้วยซุ้มประตูป่า ปักโคมหูกระต่ายเรียงรายทั้งสองฝากของท้องถนนในหมู่บ้าน  
 
และที่ขาดไม่ได้คือโคมไฟ ตามวัฒนธรรมของล้านนาแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ
1. โคมติ้ว คือ โคมไฟขนาดเล็กที่ชาวบ้านจะถือไปในขบวนแห่และนำไปแขวนไว้ที่วัด
2. โคมแขวน คือ ใช้แขวนบูชาพระพุทธรูปแบบด้วยกันเช่น รูปดาว รูปตะกร้า โดยปกติจะใช้แขวนตามวัดหรือตามหิ้งพระก็ได้
3. โคมพัด คือ เป็นโคมรูปกรวยด้านในจะตัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ เมื่อจุดโคมแสงไฟจะทำให้เกิดเงาบนกรวย ปรากฏเป็นภาพเคลื่อนไหวคล้ายหนังตะลุง
4. โคมลอย คือ โคมใหญ่โปร่งมีรูปร่างคล้ายบอลลูนจุดโคม ความร้อนจากเปลวไฟ จะทำให้โคมลอยตัวขึ้น การปล่อยโคมลอยนี้จะทำกันที่วัดหรือตามบ้านเรือน มีความเชื่อว่าจะทำให้ความโชคร้ายและสิ่งไม่ดีลอยไปกับโคม

ลอยกระทง "ประเพณียี่เป็ง" ความสำคัญที่ต้องอนุรักษ์

ลอยกระทง "ประเพณียี่เป็ง" ความสำคัญที่ต้องอนุรักษ์