รวมเคสฉาว "โรงพยาบาล" ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

จากเหตุการณ์สลดกรณี นางสาวช่อลัดดา ทาระวัน อายุ 38 ปี ถูกนายคำตัน สิงหนาท อายุ 50 ปี สามี สาดน้ำกรดใส่ ก่อนลูกสาวพาไปโรงพยาบาลพระราม 2 แต่ทางโรงพยาบาลปฏิเสธปัดความรับผิดชอบและให้ไปรักษาโรงพยาบาลอื่นพร้อมกับยื่นเงินค่าโดยสารแท็กซี่ให้ 40 บาท

รวมเคสฉาว "โรงพยาบาล" ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

จากเหตุการณ์สลดกรณี นางสาวช่อลัดดา ทาระวัน อายุ 38 ปี ถูกนายคำตัน สิงหนาท อายุ 50 ปี สามี สาดน้ำกรดใส่ใบหน้า ก่อนลูกสาวพาไปโรงพยาบาลพระราม 2 แต่ทางโรงพยาบาลปฏิเสธปัดความรับผิดชอบและให้ไปรักษาโรงพยาบาลอื่นพร้อมกับยื่นเงินค่าโดยสารแท็กซี่ให้ 40 บาท สุดท้ายนางสาวช่อลัดดาทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทางด้านนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม และครอบครัวนางช่อลัดดา ได้เดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อร้องขอความเป็นธรรมจนมีปากเสียงกัน ส่วนผู้ก่อเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวได้ในเวลาต่อมา 
 
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ความคืบหน้าล่าสุดทาง ร.พ. ยืนยันว่าทำตามขั้นตอนในการรักษา ตามที่ได้แถลงไปทุกประการ แต่หลักฐานได้ส่งมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว จึงไม่อาจนำเสนอได้ และกล่าวต่อว่าก่อนหน้านี้มีสื่อที่เสนอข่าวบิดเบือนไม่ตรงตามความเป็นจริงทางร.พ.จะดำเนินคดีตามกฏหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ยังคงให้ความมั่นใจว่า ร.พ.เปิดมา 20 กว่าปี ถ้าไม่ได้มาตรฐานคงปิดไปแล้ว ส่วนการปรับปรุงร.พ.ถ้าทางกระทรวงสาธารณสุขแนะนำมาก็ต้องทำ

 

รวมเคสฉาว "โรงพยาบาล" ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
 
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ มีกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาของบุคลากรทางการแพทย์และการให้บริการของทางโรงพยาบาลหลายครั้งด้วยกัน เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2561 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก "รักนะ เป็ดโง่" โพสต์ข้อความระบุว่า ตนนั้นสูญเสียหลานเพราะทางโรงพยาบาลไม่ยอมเจาะถุงน้ำคร่ำให้ โดยทางโรงพยาบาลพระราม 2 แนะนำให้พาน้องสะใภ้ (แม่ของเด็ก) ไปส่งฉุกเฉินโรงพยาบาลอื่นเอง โดยอ้างว่าทางโรงพยาบาลไม่พร้อม อย่างไรก็ตามวันที่ 1 ต.ค. 2561 ทางครอบครัวได้ทำการฌาปนกิจเด็กที่เสียชีวิตแล้ว โดยทางครอบครัวยังคงคลางแคลงใจต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ ที่ไม่ยอมรีบรักษา

รวมเคสฉาว "โรงพยาบาล" ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

 

รวมเคสฉาว "โรงพยาบาล" ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

 

ไม่เพียงเท่านี้ เพราะวันที่ 15 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมามีรายงานว่า พ่อแม่ของ นางสาวนศศิธร ศุภฤทธิ์ นศ.มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีนครินทร์ แจ้งความกับตำรวจเพื่อให้โรงพยาบาลชลบุรี ออกมาชี้แจง ภายหลังบุตรสาวเข้ารับการรักษาผนังหัวใจรั่ว แต่กลับต้องเสียชีวิตเนื่องจากความผิดพลาดระหว่างการรักษาจากการที่แพทย์สอดกล้องไปถูกเส้นเลือดทำให้เลือดไหลไม่หยุด ซึ่งทางแม่ของผู้เสียชีวิตเผยว่าก่อนหน้านี้บุตรสาวมีอาการเหนื่อย หายใจไม่เต็มปอด จึงนำส่งโรงพยาบาลพระพุทธโสธร เบื้องต้นแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคผนังหัวใจรั่ว แต่เครื่องมือไม่พร้อมจึงทำใบส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลชลบุรี

กนั้นแพทย์โรงพยาบาลชลบุรี ได้สอดกล้องเพื่อทำการรักษาผนังหัวใจรั่วให้ปิด แต่ปรากฏว่าในช่วงบ่ายของวันเดียวกันกลับนำตัวบุตรสาวเข้าห้องผ่าตัดกะทันหัน 1 ชั่วโมงต่อมามีพยาบาลออกมาบอกว่าผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว ทางแพทย์ออกมาชี้แจ้งเพียงแค่ว่า สอดกล้องเข้าไปในทรวงอก แล้วผิดพลาดถูกเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลภายในไม่หยุดอย่างไรก็ตามทางครอบครัวยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถนำศพกลับไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้เลยหรือไม่ เพราะอาจต้องส่งไปยังสถาบันนิติเวช เพื่อผ่าพิสูจน์หาสาเหตุที่แท้จริงอีกครั้ง
  รวมเคสฉาว "โรงพยาบาล" ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

กับอีกหนึ่งเคส 15 พ.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีหญิงสาวชาวระนองได้รับความเสียหายจากการรักษาของแพทย์หญิงโรงพยาบาลประจำจังหวัดในการผ่าเอาเข็มคุมกำเนิดออกจากแขน แต่ก็หาไม่เจอยิ่งกว่านั้นการเย็บแผลก็ไม่ประณีตพอที่จะทำให้แผลติดกัน จึงได้เดินทางไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง
 
โดยผู้เสียหาย เล่าว่า เมื่อราว 4 เดือนก่อนตนได้ไปฝังเข็มคุมกำเนิดที่โรงพยาบาลแห่งนี้ จนกระทั่งช่วงต้นเดือน พ.ย. ตนได้ไปหาหมอเพื่อขอผ่าออก โดยมีแพทย์ผู้หญิง 2 คน และพยาบาลอีก 1 คนช่วยกันคลำหาเข็มคุมกำเนิดที่แขนของตนแต่หาไม่เจอ จนต้องผ่าเพื่อหาเข็มถึง 4 แผล โดยแผลสุดท้ายผ่าลงไปลึกสุดท้ายพูดเพียงแค่ว่า "ขอโทษนะหาเข็มไม่เจอ"

 

รวมเคสฉาว "โรงพยาบาล" ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

จนกระทั่งแพทย์นัดให้ไปทำการตัดไหมโดยนั่งรอตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงก็ยังไม่ถึงคิ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่าห้ไปตัดไหมที่สถานีอนามัยใกล้บ้านก็ได้ ตนจึงกลับไปตัดไหมที่สถานีอนามัย ปรากฏว่าแผลที่เย็บไม่ติดกัน โดยเฉพาะแผลสุดท้ายมีลักษณะเหวอะหวะ ทางสถานีอนามัยจึงได้แนะนำให้กลับไปโรงพยาบาลอีกครั้ง ด้วยเกรงว่าแผลจะติดเชื้อและได้รับคำแนะนำว่าควรนำเรื่องทั้งหมดร้องเรียนต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองต่อไป

รวมเคสฉาว "โรงพยาบาล" ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
 
เหล่านี้เป็นเพียงเคสตัวอย่างที่มีสาเหตุมาจากความผิดพลาดของการรักษาทางการแพทย์ แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น อย่างไรแล้วทุกคนก็ต่างหวังว่าทางโรงพยาบาลจะนำเรื่องราวเหล่านี้มาเป็นอุทาหรณ์เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการแก่ผู้ป่วยทุกคนต่อไป อย่างไรก็ตามในฐานะผู้เสียหายมีสิทธิที่จะดำเนินการฟ้องร้องให้มีการรับผิดได้ตามฐานของกฎหมายที่มีอยู่ทั้งในส่วนของ คดีแพ่งในส่วนของเรื่องละเมิดตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และคดีอาญาตามประมวลกฎหมายกฎหมายอาญาตามบทที่กำหนดไว้ โดยการเข้าแจ้งกับโรงพักหรือร้องเรียนกับทางโรงพยาบาลหากไม่ได้รับการตอบรับสามารถแจ้งเรื่องดังกล่าวให้ทางกระทรวงสาธารณะสุขเพื่อรับทราบโดยจะมีการตรวจสอบต่อไป

ก่อนหน้านี้มีการผลักดัน ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งทางแพทยสภาไม่เห็นด้วยกับหลักการในร่างดังกล่าวจึงออกมาต่อต้าน เพราะเห็นว่าผู้ให้การบริการสาธารณสุขไม่ได้รับความเป็นธรรมจากร่างกฎหมายฉบับนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเกรงว่าจะเปิดช่องให้เกิดการฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ให้บริการสาธารณสุขมากขึ้น และจะส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ คงต้องดูกันต่อไปว่าในอนาคตจะมีการร่าง พ.ร.บ. ฉบับใดที่จะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของการบริการสาธารณสุข  พร้อมกับเป็นการมอบสิทธิมนุษยชนของผู้รับบริการต่อไปในวันข้างหน้าได้หรือไม่