"ซีพี" ลงทุนร่วมกับจีน เดินหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมหวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0

กลายเป็นประเด็นที่ต้องเกาะติดอีกครั้งกับความเคลื่อนไหวของบริษัททุนยักษ์ใหญ่ CP All ที่ก่อนหน้านี้ได้เดินหน้าด้วยกลยุทธ์การตลาดตามฉบับนายทุนกินรวบทุนธุรกิจตั้งแต่ การทดลองให้บริการรูปแบบใหม่ โดยการส่งของแบบ Delivery เมื่อสั่งซื้อสินค้าจาก 7-Eleven

กลายเป็นประเด็นที่ต้องเกาะติดอีกครั้งกับความเคลื่อนไหวของบริษัททุนยักษ์ใหญ่ CP All ที่ก่อนหน้านี้ได้เดินหน้าด้วยกลยุทธ์การตลาดตามฉบับนายทุนกินรวบทุนธุรกิจตั้งแต่ การทดลองให้บริการรูปแบบใหม่ โดยการส่งของแบบ Delivery เมื่อสั่งซื้อสินค้าจาก 7-Eleven ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ต่อมากับการให้บริการ รับ-ส่งพัสดุด่วน ภายใต้แนวคิด "สปีด-ดี รับ-ส่งพัสดุด่วน 24 ชั่วโมง ส่งง่าย รับสะดวก" 

 

"ซีพี" ลงทุนร่วมกับจีน เดินหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมหวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0

 

ไม่เพียงแต่เท่านี้เพราะพบว่ารูปแบบการให้บริการของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคมและวิถีชีวิตชุมชนอยู่ตลอดเวลาไม่ได้มีแค่การวางขายสินค้าตามชั้นวาง แต่ถูกเพิ่มเติมด้วยบริการอำนวยความสะดวกครบวงจร เช่น บบางสาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีบริการ ซัก อบ รีด และซักแห้ง ตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ธุรกิจ SME มืออาชีพที่เชี่ยวชาญธุรกิจด้านนี้มาเช่าพื้นที่ อ่านต่อเพิ่มเติม : กะไม่ให้ใครได้ผุดได้เกิด 7-11 เอาอีกดันธุรกิจรับ-ส่งพัสดุ ซักผ้ายังได้ ผู้ประกอบการอื่นๆ เตรียมร้องขอชีวิตกันให้ดี

 

"ซีพี" ลงทุนร่วมกับจีน เดินหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมหวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0

 

CP ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 เริ่มต้นด้วยธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อ ภายใต้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven ในประเทศไทย โดยบริษัทได้รับสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจาก 7-Eleven, Inc. สหรัฐอเมริกา และได้เปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒพงษ์เมื่อปี 2532 ปัจจุบัน CP ขับเคลื่อนด้วย 8 ธุรกิจใหญ่ด้วยกันได้แก่

1. การเกษตร และอาหาร
2. ธุรกิจค้าปลีก
3. การสื่อสารและโทรคมนาคม
4. อีคอมเมิร์ซและธุรกิจดิจิทัล
5. ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
6. ธุรกิจยานยนต์
7. ธุรกิจเวชภัณฑ์
8. การเงินและการธนาคาร

 

"ซีพี" ลงทุนร่วมกับจีน เดินหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมหวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0

 

ยกตัวอย่างกิจการที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี อาทิ C.P. LOTUS เป็น บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (121:HK) ประกอบกิจการร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และซุปเปอร์มาร์เก็ตในจีน ในชื่อ LOTUS มีรายได้ 50,328 ล้านบาท ขาดทุน 2,683 ล้านบาท ,SIAM MAKRO CO., LTD. ประกอบธุรกิจค้าส่ง โดยดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค ภายใต้ชื่อ MAKRO มีรายได้รวม 172,790 ล้านบาท เป็นกำไร 5,412 ล้านบาท และ TRUE CORPORATION ประกอบด้วย  True Online ให้บริการอินเตอร์เน็ต รายได้รวม 28,300 ล้านบาท กำไร 3,704 ล้านบาท True Move H ให้บริการโทรศัพท์มือถือ รายได้รวม 93,876 ล้านบาท ขาดทุน 4,878 ล้านบาท True Vision ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก รายได้รวม 12,406 ล้านบาท ขาดทุน 1,375 ล้านบาท

 

"ซีพี" ลงทุนร่วมกับจีน เดินหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมหวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0

ล่าสุด 17 พ.ย. 2561 นายสุนทร อรุณานนท์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในเครือ CP เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทมีแผนจะลงทุนพัฒนาในโครงการนิคมอุตสาหกรรมในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ด้วยการร่วมมือกับบริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จากประเทศจีน ทำการจัดตั้ง บริษัท ซีจี คอร์เปอเรชั่น จำกัด ให้เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการอุตสาหกรรม และดำเนินกิจการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรม ซีพีจีซี ที่ อำเภอนิคมพัฒนา และ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

 

มีรายงานเพิ่มเติมว่าทาง CP เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 50% และบริษัทกว่างซีฯ จีน ถือ 48% ส่วนอีก 2% เป็นบริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง ไทยแลนด์ ภายใต้เงินทุน 3,500 ล้านบาท แต่หากรวมที่ดินเป็นเงินลงทุน 6,000-7,000 ล้านบาท โดยมีพื้นที่โครงการทั้งหมด 3,068-1-15 ไร่  แบ่งเป็น เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 2,205 ไร่ เขตพาณิชยกรรม 112 ไร่ พื้นที่ระบบสาธารณูโภค 443 ไร่ พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 307 ไร่ ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการในปีหน้า และคาดว่าเฟสแรกจะแล้วเสร็จในปี 2563

 

พร้อมกันนั้นยังกล่าวเพิ่มเติมว่าจะมีการบูรณาการในหลายหน่วยงาน เช่น สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยน และพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมวิทยาศาตร์ไทย และจีน เพื่อยกระดับนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวให้เป็นนิคมที่มี  เทคโนโลยีขั้นสูง คุณภาพสูง มูลค่าสูง 

 

"ซีพี" ลงทุนร่วมกับจีน เดินหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมหวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0

 

อย่างไรก็ตามทาง CP ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการดังกล่าว มุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล อย่าง อิเล็กทรอนิกส์, ดิจิทัล, เครื่องมือแพทย์, เกษตรไฮเทคแปรรูป และยานยนต์สมัยใหม่ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ตามแนวนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC คาดว่าในอนาคตจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศจากการจ้างงานที่ไม่น้อยกว่า 20,000 อัตรา และเกิดการลงทุนที่ไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท