แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านรายใครไม่ผ่านรอบแรก ยื่นเรื่องได้ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2561

ก่อนหน้านี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้ออกมาเปิดเผยข่าวการคืนแวต (VAT) เป็นจำนวนเงินสูงสุด 500 บาท ต่อเดือน แก่ผู้ที่ถือบัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการรัฐ จำนวนกว่า 11.4 ล้านคน ที่มียอดการใช้จ่าย 7,000 - 8,000 บาทต่อเดือน

แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านรายใครไม่ผ่านรอบแรก ยื่นเรื่องได้ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2561

ก่อนหน้านี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้ออกมาเปิดเผยข่าวการคืนแวต (VAT) เป็นจำนวนเงินสูงสุด 500 บาท ต่อเดือน แก่ผู้ที่ถือบัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการรัฐ จำนวนกว่า 11.4 ล้านคน ที่มียอดการใช้จ่าย 7,000 - 8,000 บาทต่อเดือน โดยจะมีกำหนดการเริ่มจ่ายคืนในเดือน พ.ย. 2561 - เม.ย. 2562 ในระยะทดลอง 6 เดือนแรกถึงผลตอบรับของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการรัฐ สำหรับเงื่อนไขในการรับ(VAT) คืน อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ "ผู้ถือบัตรคนจน" ฟังทางนี้ เผยวิธีการ "รับเงินแวต" คืนแบบง่ายๆ มีเงินใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
 
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด 17 พ.ย. 2561 มีรายงานว่านายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผยว่า หลังจากรัฐบาล เปิดลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)ภายใต้โครงการ "ไทยนิยมยั่งยืน" ระหว่างวันที่ 15 พ.ค.-30 มิ.ย. 2561 พบว่ามีผู้มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 4.5 ล้านราย และมีผู้ผ่านคุณสมบัติได้รับสิทธิจำนวน 3.1 ล้านคน คิดเป็น 68% ของผู้มาลงทะเบียน โดยผู้ที่คุณสมบัติผ่านสามารถยืนยันตนเพื่อรับบัตรคนจนและจะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป

 

แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านรายใครไม่ผ่านรอบแรก ยื่นเรื่องได้ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2561

ทั้งนี้ผู้ที่คุณสมบัติไม่ผ่าน สามารถยื่นเรื่องอีกครั้งได้ระหว่างวันที่ 16-30 พ.ย. 2561 และทางกระทรวงฯจะประกาศ ผลการอุทธรณ์อีกครั้งในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2561 สำหรับความคืบหน้ามาตรการชดเชยเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยใช้ข้อมูลจากภาษีมูลค่าเพิ่ม จากข้อมูลการใช้จ่ายระหว่างวันที่ 1-14 พ.ย. 2561 อยู่ที่ 5.57 แสนราย คิดเป็นเงิน 145 ล้านบาท พบว่ามีจำนวนภาษีแวตกว่า 9 ล้านบาท ซึ่งทางภาครัฐพร้อมในการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าว จำนวน 5% เข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ให้แก่ผู้มีบัตรคนจน พร้อมมอบเงินชดเชยอีก 1% เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารชนิดพิเศษที่กรมบัญชีกลางแก่ผู้ถือบัตร
 
สำหรับความคืบหน้าของร้านธงฟ้าประชารัฐ ร้านประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้านค้าเอกชนอื่นที่จดทะเบียนภาษีแวต และสมัครเข้าร่วมมาตรการดังกล่าว ขณะนี้มีทั้งหมดประมาณ 4,000 ร้าน โดยผู้มีสิทธิจะได้รับเงินชดเชยต่อเมื่อชำระราคาสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านบัตรคนจน  ทั้งจากวงเงินกระเป๋าสวัสดิการหรือวงเงินที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเติมเองใน e-Money เฉพาะที่ร้านธงฟ้าประชารัฐ ภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 เท่านั้น

 

แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านรายใครไม่ผ่านรอบแรก ยื่นเรื่องได้ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2561

ส่วนร้านค้าเอกชนอื่นที่สมัครเข้าร่วมมาตรการ ให้ผู้ถือบัตรสังเกตสัญลักษณ์เป็นสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่า "จ่ายด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จากกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money PromptCard)" กรณีนี้ผู้ถือบัตรสามารถใช้ได้เฉพาะส่วนของเงินใน e-Money ในการชำระสินค้าเท่านั้นโดนจะได้รับเงินชดเชยคืนเช่นกัน

"ร้านค้าที่พร้อมเข้าร่วมโครงการ จำนวน 4.24 พันร้านค้านี้ มีทั้งร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าเอกชน แต่หากดูในรายละเอียดแล้วจะพบว่า ปัจจุบันมีร้านธงฟ้าประชารัฐ จำนวน 3.06 หมื่นร้านค้า แต่เป็นร้านค้าที่มีการจดทะเบียนภาษีแวต และมีคุณสมบัติพร้อม เพียง 3.88 พันร้านค้าเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีร้านธงฟ้าขนาดเล็กที่ตอบรับการติดเครื่อง POS เพียง 940 ร้านค้าเท่านั้น จากทั้งหมด 2.31 พันร้านค้า โดยส่วนใหญ่ปฏิเสธ และให้เหตุผลว่ายังไม่พร้อม รวมถึงกลัวโดนตรวจสอบภาษีด้วย" นายลวรณ ระบุ
 
โครงการบัตรคนจนจะแบ่งการช่วยเหลือออกเป็น 2 ประเภท คือ ส่วนแรกจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ และส่วนที่สองจะช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายการเดินทาง 

 

แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านรายใครไม่ผ่านรอบแรก ยื่นเรื่องได้ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2561

แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านรายใครไม่ผ่านรอบแรก ยื่นเรื่องได้ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2561

1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อการเกษตรจากร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าอื่น ๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยรัฐบาลจะให้เงินในบัตรไปซื้อสินค้า แต่เงินดังกล่าวจะไม่สามารถนำไปซื้อ สุราหรือบุหรี่ได้ เพราะไม่ใช่สินค้าอุปโภคที่จำเป็น
2. ช่วยลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง ประกอบด้วย ค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า รถโดยสารของ บขส. และรถไฟ

ส่วนการลงทะเบียนคนจน ทำได้โดยเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนและ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไปลงทะเบียนได้ที่ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมถึงตามสถานที่อื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งมีประกาศในชุมชน เช่น ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เป็นต้น

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงไทย
- สำนักงานคลังจังหวัด
- สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด (สังกัดกรมบัญชีกลาง)
- สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทุกเขต

โดยต้อง ลงทะเบียนคนจน รอบ 2 เพียงที่ใดที่หนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถ ลงทะเบียนคนจน ซ้ำได้หลายแห่ง

 ส่วนในอนาคตนั้นทางกระทรวงฯ ยืนยันว่าอาจมีนโยบายช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ได้รับความช่วยเหลือต้องเข้ามาพัฒนาความรู้ พัฒนาอาชีพด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมต่อไป