รถเมล์ 4 พันคัน หยุดวิ่ง กว่า 100 เส้นทางกระทบ อ้างทนมา 4 ปี รัฐฯ ไม่ยอมขึ้นค่าโดยสารตามสัญญา

นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง (สมาคมรถร่วมฯ) เปิดเผยว่าวันนี้ 19 พ.ย. 2561 จะมีการรวมตัวแทนจากสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชนและผู้ประกอบการรถร่วมขสมก. ประมาณ 300 คน

รถเมล์ 4 พันคัน หยุดวิ่ง กว่า 100 เส้นทางกระทบ อ้างทนมา 4 ปี รัฐฯ ไม่ยอมขึ้นค่าโดยสารตามสัญญา

นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง (สมาคมรถร่วมฯ) เปิดเผยว่าวันนี้ 19 พ.ย. 2561 จะมีการรวมตัวแทนจากสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชนและผู้ประกอบการรถร่วมขสมก. ประมาณ 300 คน เดินทางไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อ ทวงถามกรณีที่ได้ยื่นขอปรับขึ้นค่าโดยสารรถธรรมดา 3 บาท จากเดิม 9 บาท ขึ้นเป็น 12 บาทต่อเที่ยว
 
ส่วนรถปรับอากาศ จะถือโอกาสขอปรับเพิ่มระยะทางละ 2 บาท จากเดิม 13 บาทต่อเที่ยว เป็น 15 บาทต่อเที่ยว โดยจะยื่นหนังสือทวงถาม 2 ฉบับ ต่อนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 1 ฉบับ และส่งตัวแทนไปยื่นถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอีก 1 ฉบับ เรื่องดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก กระทรวงคมนาคมไม่ทำตามสัญญาที่บอกไว้ ซึ่งก่อนหน้านี้เสนอว่าจะปรับราคาให้ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2561 แต่ก็เงียบหายไป แม้ว่าผลการศึกษาเรื่องโครงการค่าโดยสารจะเสร็จไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยเป็นข้อเสนอเกี่ยวกับ อัตราค่าโดยสารที่ทาง ขสมก. ยื่นเรื่องเสนอไปก่อนหน้านี้
 
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุดทางกรมขนส่งได้ให้เหตุผลว่า อธิบดีกรมการขนส่งเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งใหม่ อาจต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาและพิจารณารายละเอียดเสียก่อน ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ได้ ทว่า สมาชิกร่วม ขสมก. ทนต่อไปอีกไม่ไหวแล้วจึงต้องออกมาทวงถาม

รถเมล์ 4 พันคัน หยุดวิ่ง กว่า 100 เส้นทางกระทบ อ้างทนมา 4 ปี รัฐฯ ไม่ยอมขึ้นค่าโดยสารตามสัญญา

อย่างไรก็ตามทางสมาชิกร่วมขสมก. กล่าวว่าขณะนี้ มีรถประมาณ 4,000 คัน จำนวน กว่า 100 เส้นทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงจำต้องหยุดวิ่งให้บริการ เพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว และยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน แต่อยากให้เข้าใจฝั่งผู้ประกอบการบ้าง เพราะก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการต่างจำใจให้บริการมาโดยที่ไม่มีการปรับค่าโดยสารมานานกว่า 4 ปี แต่ไม่สามารถรับภาระได้อีกต่อไปแล้ว

โดยทางผู้ประกอบการให้เหตุผลว่า ค่าโดยสารปัจจุบันไม่สัมพันธ์กับต้นทุนที่แท้จริง ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐบาลที่สั่งให้เปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลเป็น NGV ปัญหาการจราจรติดขัดที่รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เที่ยววิ่งลดลง รวมถึง ค่าเช่าอู่ และพื้นที่จอดเพิ่มขึ้น ตลอดจนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับประกันอุบัติเหตุุและ ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าจะมีการปรับอัตราค่าโดยสารเมื่อปี 2558 แต่ก็เป็นเพียงการช่วยเหลือเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงแต่อย่างใด

นอกจากรถร่วมขสมก. หมวด 1 แล้ว ขณะนี้ก็ได้รับทราบว่ารถร่วม ขสมก.หมวด 2 และหมวด 3 จะเดินทางยื่นข้อเรียกร้องขอปรับขึ้นราคาเช่นกัน เพราะผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้รถร่วมทั้งระบบหันมาจับมือกันแล้ว เพราะเจอปัญหาเดียวกัน
 
ประเด็นดังกล่าวนำมาซึ่งการตั้งคำถามจากประชาชนถึงคุณภาพการให้บริการของรถเมล์เช่นกัน เนื่องจากพบว่าตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ ทางผู้ประกอบการอาจไม่เอาใจใส่ในการยกระดับให้เป็นไปตามมาตรฐานเท่าที่ควร ทั้งการไม่ยอมจอดตามป้ายรับส่ง รวมถึงมารยาทในการขับขี่ไม่ยอมจอดชิดซ้ายจอดรถขวางเลน ขับขี่โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยบนท้องถนนจนนำมาซึ่งอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง

 

รถเมล์ 4 พันคัน หยุดวิ่ง กว่า 100 เส้นทางกระทบ อ้างทนมา 4 ปี รัฐฯ ไม่ยอมขึ้นค่าโดยสารตามสัญญา

รถเมล์ 4 พันคัน หยุดวิ่ง กว่า 100 เส้นทางกระทบ อ้างทนมา 4 ปี รัฐฯ ไม่ยอมขึ้นค่าโดยสารตามสัญญา

นอกจากนี้ปัญหาด้านบุคลากรก็กลายเป็นปัญหาเรื้อรังทั้งกระเป๋ารถเมล์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับผู้โดยสาร รวมถึงความใจร้อนและขาดวิจารญาณของคนขับรถที่ ไม่เคารพกฏจราจร ไม่มีน้ำใจ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทหรือการใช้ความรุนแรงอย่างที่พบเห็นไม่เว้นในแต่ละวัน จากตัวเลขของกองนโยบายและแผนงาน สำนักผังเมือง กรุงเทพฯ เผยว่านับตั้งแต่ปี 2535 ปริมาณผู้ใช้รถเมล์ของ ขสมก. มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิม 4 ล้านคน ลดลงเหลือเพียง 1 ล้านคนในปี 2554
 
ส่วนหนึ่งอาจเพราะว่าผู้โดยสารเลือกที่จะใช้บริการขนส่งประเภทอื่นมากขึ้น และการซื้อรถส่วนตัวก็สามารถทำได้สะดวกกว่าแต่ก่อน จะเห็นได้ว่าประชาชนบางส่วนยอมที่จะจ่ายเงินแพงกว่าเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย และสวัสดิภาพของตน ขณะที่บางกลุ่มจำต้องยอมใช้บริการรถเมล์ต่อไปอาจด้วยข้อจำกัดบางประการ

 

รถเมล์ 4 พันคัน หยุดวิ่ง กว่า 100 เส้นทางกระทบ อ้างทนมา 4 ปี รัฐฯ ไม่ยอมขึ้นค่าโดยสารตามสัญญา