คืบหน้า "ไลอ้อนแอร์" เที่ยวบินมรณะ 737 หรือนักบินไม่รู้เรื่องปุ่มเครื่องบิน

สืบเนื่องอุบัติเหตุสลด เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา ที่พรากเอาผู้โดยสารสายการบินไลอ้อนแอร์ ในเครื่อง เที่ยวบิน JT-610 โบอิ้ง 737 ทั้ง 188 ชีวิต จมหายไปในท้องทะเลนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา ภายหลังบินขึ้นจากสนามบินได้เพียง 13 นาที

คืบหน้า "ไลอ้อนแอร์" เที่ยวบินมรณะ 737 หรือนักบินไม่รู้เรื่องปุ่มเครื่องบิน

สืบเนื่องอุบัติเหตุสลด เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา ที่พรากเอาผู้โดยสารสายการบินไลอ้อนแอร์ ในเครื่อง เที่ยวบิน JT-610 โบอิ้ง 737 ทั้ง 188 ชีวิต จมหายไปในท้องทะเลนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา ภายหลังบินขึ้นจากสนามบินได้เพียง 13 นาที เท่านั้น จากรายงานระบุว่า หลังจากนักบินทำการเทคออฟไต่ขึ้นระดับความสูง 5,000 ฟุต (1,524 เมตร) นักบินได้ทำการติดต่อมาที่หอบังคับการเพื่อขออนุญาตนำเครื่องกลับมาลงจอด ทว่าหลังจากนั้นเครื่องบินลำดังกล่าวได้หายไปจากจอเรดาห์อย่างไม่ทราบสาเหตุ และหอบังคับการไม่สามารถทำการติดต่อได้นับแต่นั้น
 
ต่อมาจากการวิเคราะห์เศษซากเครื่องที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยพบ ผู้เชี่ยวชาญสามารถสรุปได้ว่า เครื่องยนต์ยังทำงาน ขณะดิ่งลงทะเลชวาด้วยความเร็วสูง ก่อนที่จะปะทะผิวน้ำอย่างรุนแรงจนแตกออกเป็นเสี่ยง ผิดกับที่สันนิษฐานไว้ในเบื้องต้นว่าสาเหตุน่าจะมาจากหักกลางอากาศเพราะความล้าของโลหะ แต่จากรูปการณ์สามารถยืนยันได้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น แต่แล้วในวันที่ 8 พ.ย. 2561 สาเหตุของโศกนาฏกรรมยังไม่ทันจะคลี่คลาย ได้เกิดเหตุระทึกขวัญขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีรายงานว่าสายการบินไลอ้อนแอร์โบอิ้ง 737-900ER เที่ยวบินที่ JT633 เกิดอุบัติเหตุปลายปีกชนเสาไฟจนเกิดความเสียหายแต่โชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ นำมาซึ่งคำถามถึงความปลอดภัยของสายการบินว่ามีมาตรฐานมากน้อยเพียงใด

 

คืบหน้า "ไลอ้อนแอร์" เที่ยวบินมรณะ 737 หรือนักบินไม่รู้เรื่องปุ่มเครื่องบิน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ความคืบหน้าล่าสุดจากอุบัติเหตุ เที่ยวบิน JT 610 ตามรายงานสำนักข่าวต่างประเทศ เผยว่า ศาสตราจารย์บิจาน วาซิกห์ จากคณะเศรษฐศาสตร์และการเงิน มหาวิทยาลัยการบินเอ็มบรี-ริดเดิ้ลของสหรัฐฯ และนางแมรี เชียโว อดีตผู้ตรวจราชการประจำกระทรวงคมนาคมของสหรัฐ เริ่มตั้งคำถามถึงสาเหตุที่แท้จริงของโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ เพราะขณะนี้ผ่านมาเป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์แล้วแต่พนักงานสืบสวนของอินโดนีเซียยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่แท้จริงได้ จนมีการพุ่งเป้าไปยังอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับมุมปะทะของเครื่องบินลำดังกล่าวว่า อาจมีการป้อนข้อมูลผิดพลาดหรือไม่
 
ตอกย้ำความคลางใจดังกล่าวจากคำพูดของ นายเอ็ดเวิร์ด ซีเรต ซีอีโอของไลอ้อนแอร์ ก่อนหน้านี้ ว่าเครื่องบินลำที่เกิดเหตุ เพิ่งมีปัญหาด้านเทคนิค และถูกซ่อมที่ท่าอากาศยานที่บาหลีก่อนจะบินมาที่กรุงจาการ์ตา แต่กลับมีแจ้งเตือนให้วิศวกรที่จาการ์ตาซ่อมเครื่องนี้อีกครั้ง เข้าใจกันโดยง่ายว่าเครื่องบินถูกซ่อมทั้งหมดสองครั้ง แต่นายเอ็ดเวิร์ดยืนยันว่าการซ่อมก่อนขึ้นบินเป็นขั้นตอนปกติของเครื่องบินทุกลำ

คืบหน้า "ไลอ้อนแอร์" เที่ยวบินมรณะ 737 หรือนักบินไม่รู้เรื่องปุ่มเครื่องบิน

 

คืบหน้า "ไลอ้อนแอร์" เที่ยวบินมรณะ 737 หรือนักบินไม่รู้เรื่องปุ่มเครื่องบิน

ทั้งนี้มีการพุ่งเป้าไปที่บริษัทโบอิ้งโดยตรงเพราะเป็นเครื่องบินลำใหม่มีฐานผลิต ในเมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา และเพิ่งนำมาใช้งานได้ไม่นาน (ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2561) และเป็นรุ่นล่าสุดที่ออกมาแทนที่ 737-800 ทำให้ญาติของผู้โดยสารตัดสินใจฟ้องดำเนินคดี พร้อมกล่าวหาว่าการออกแบบเครื่องบินรุ่นใหม่ของโบอิ้ง ไม่ปลอดภัยและบกพร่อง มีความเป็นไปได้ที่ไม่แจ้งนักบินให้ทราบเรื่องปุ่มควบคุมเครื่องบิน เพราะเป็นเครื่องรุ่นใหม่ ข้อสันนิษฐานนี้ผู้สันทัดกรณีเห็นพ้องกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะอาจจะช่วยทำให้ผู้โดยสารบนเครื่องรอดชีวิตก็เป็นได้
 
มีการตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า กรณีมีการปลดระวางเครื่องเก่าและส่งมอบลำใหม่ว่าจะเป็นตระกูลเดียวกัน สายการบินก็จำเป็นต้องส่งนักบินไปเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม แต่ข้อบกพร่องก็คือโบอิ้งปล่อยให้นักบินไปทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับระบบใหม่ด้วยตนเอง พฤติการณ์ดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นการมองข้ามปัญหาเล็กๆ น้อยๆ โดยที่อาจไม่ได้ตั้งใจ
 
สรุปความได้ว่า เครื่องรุ่นใหม่นี้นับเป็นเครื่องแรกที่ตกจากเหตุปัจจัยข้างต้น อาจเป็นปัญหาจากตัวบุคลากรที่ไม่คุ้นชินกับระบบ เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันว่ามีสาเหตุจากเครื่องขัดข้องแต่เพียงอย่างเดียว ต่างจากก่อนหน้านี้ที่เป็นอุบัติเหตุจากความขัดข้องของตัวเครื่องเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามสายการบินไลอ้อนแอร์เป็นสายการบินราคาประหยัดประสบปัญหาด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางผู้โดยสารที่ไว้วางใจเลือกใช้บริการสายการบินนี้ก็ไม่ปรารถนาให้เกิดเหตุการณ์สลดซ้ำรอยอีก

 

คืบหน้า "ไลอ้อนแอร์" เที่ยวบินมรณะ 737 หรือนักบินไม่รู้เรื่องปุ่มเครื่องบิน