รัฐฯ แจกต่อเนื่อง อนุมัติเพิ่มเงินช่วยเหลือ "ข้าราชการเก่า" กว่า 2 หมื่นล้านบาท

ชาวไทยต่างต้องยินดีปรีดา เมื่อรัฐบาลเข็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนออกมาอย่างต่อเนื่อง จากกรณี "บิ๊กตู่" เล็งเห็นปัญหาการครองชีพในกลุ่มประชากรคนจนกว่า 14 ล้านคนจึงมีการอนุมัติงบประมาณเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเบื้องต้นผ่านมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)

รัฐฯ แจกต่อเนื่อง อนุมัติเพิ่มเงินช่วยเหลือ "ข้าราชการเก่า" กว่า 2 หมื่นล้านบาท

ชาวไทยต่างต้องยินดีปรีดา  เมื่อรัฐบาลเข็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนออกมาอย่างต่อเนื่อง จากกรณี "บิ๊กตู่" เล็งเห็นปัญหาการครองชีพในกลุ่มประชากรคนจนกว่า 14 ล้านคนจึงมีการอนุมัติงบประมาณเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเบื้องต้นผ่านมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) เป็นเงินทั้งสิ้น 38,730 ล้านบาท โดยจะเติมเงินให้กับผู้ถือบัตร คนละ 500 บาท โดยจะเติมเงินให้ระหว่างเดือน ธ.ค. 2561 - ม.ค. 2562  
 
พร้อมช่วยเหลือค่าไฟฟ้าไม่เกิน 230 บาท/ครัวเรือน/เดือน และค่าน้ำประปา 100 บาท/ครัวเรือน/เดือน สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 3.5 ล้านคน จะช่วยเหลือค่าเดินทางไปโรงพยาบาล คนละ 1,000 บาท พร้อมกับมาตรการสนับสนุนค่าเช่าบ้านผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 400 บาทต่อเดือน ให้ตั้งแต่ ธ.ค. 2561-ก.ย. 2562 จำนวน 2.3 แสนคน (อ่านต่อเพิ่มเติม : รัฐฯอัดฉีดเงินกว่าแสนล้าน ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง)
 
ล่าสุดมีรายงาน ให้เหล่าข้าราชการบำนาญได้ยิ่มระรื่นชื่นอุรากันถ้วนหน้า เมื่อ น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือข้าราชการเกษียณที่รับบำนาญ กว่า 2 แสนคน เพื่อให้ผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น โดยจะจัดงบประมาณช่วยเหลือเป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท แบ่งการช่วยเหลือออกเป็น 2 มาตรการ คือ

 

รัฐฯ แจกต่อเนื่อง อนุมัติเพิ่มเงินช่วยเหลือ "ข้าราชการเก่า" กว่า 2 หมื่นล้านบาท

1. ให้ข้าราชการบำนาญสามารถนำบำเหน็จตกทอด 30 เท่าของเงินเดือน มาใช้เป็นบำเหน็จดำรงชีพได้เป็นครั้งที่ 3 ได้อีก 1 แสนบาท มีผู้ได้สิทธิ 6.59 แสนคน เป็นเงิน 2 หมื่นล้านบาท

2. เพิ่มเงินข้าราชการบำนาญที่ได้บำเหน็จน้อยต่ำกว่าเดือนละ 1 หมื่นบาท ให้เป็น 1 หมื่นบาท จำนวน 5.27 หมื่นคน ใช้เงิน 558 ล้านบาท
 
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ ครม.มติเห็นชอบแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561)
 เพื่อปรับเพิ่มเงินให้ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกันทุกประเภท และรวม ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นเมื่อรวมกับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วจะได้รับเงิน เดือนละ 10,000 บาท
 
ทั้งนี้ จะมีการขยายวงเงินบำเหน็จดำรงชีพให้แก่ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่ 70 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เพิ่มอีก 100,000 บาท จากเดิมที่ให้ขอรับได้ในอัตรา 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 400,000 บาท โดยหลังจากมีมติจะให้ขอรับได้ในอัตรา 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับกลุ่มที่เคยขอรับบำเหน็จดำรงชีพไปบางส่วน ให้ขอรับเพิ่มไม่เกินจำนวนเงินที่ยังไม่ครบตามสิทธิ แต่รวมกันแล้วต้อง "ไม่เกิน" 500,000 บาท

 

รัฐฯ แจกต่อเนื่อง อนุมัติเพิ่มเงินช่วยเหลือ "ข้าราชการเก่า" กว่า 2 หมื่นล้านบาท

รัฐฯ แจกต่อเนื่อง อนุมัติเพิ่มเงินช่วยเหลือ "ข้าราชการเก่า" กว่า 2 หมื่นล้านบาท

"หลังจากที่กฎกระทรวงประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับใน 60 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว กรมบัญชีกลางจะร่างหลักเกณฑ์และปรับระบบการจ่ายเงินให้รองรับกับการขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามวงเงินที่กำหนดขึ้นใหม่ และจะประกาศหลักเกณฑ์ให้ทราบโดยเร็วต่อไป การแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้ผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ" น.ส.สุทธิรัตน์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ระบุ 
 
อย่างไรก็ตาม ตามกฏหมายระบบบำเหน็จบำนาญ จำแนกได้ 4 ประเภท คือ 

1.บำนาญพิเศษ ป็นเงินที่รัฐจ่ายให้ข้าราชการ (กรณีมีชีวิต) หรือ ทายาท (กรณีตาย) เป็นรายเดือน ในกรณีที่ข้าราชการขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่นั้น ได้รับอันตรายจนพิการหรือเจ็บป่วยถึงทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ส่วนการได้เงินเป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯที่ทางกฏหมายได้กำหนดไว้
2. บำเหน็จตกทอด เป็นเงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ทายาทผู้มีสิทธิ์ กรณีที่ข้าราชการถึงแก่กรรมระหว่างรับราชการอยู่ หรือผู้ รับบำนาญถึงแก่กรรม โดยทายาทจะได้รับ 30 เท่าของเงินเดือนหรือบำนาญรายเดือน
3. บำเหน็จดำรงชีพ เป็นเงินที่รัฐจ่ายเพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีพแก่ผู้รับบำนาญ จำนวน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนแต่ไม่เกิน 400,000 บาท 
4. บำเหน็จบำนาญปกติ ที่รัฐจ่ายตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา หากรับเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเรียกว่า "บำเหน็จ" และหากเลือกที่จะรับเป็นรายเดือนจะเรียกว่า "บำนาญ"
 
ทั้งนี้ต้องติดตามกันต่อไปว่า หลังจากประกาศใช้กฏกระทรวงระบบบำเหน็จบำนาญจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร

 

รัฐฯ แจกต่อเนื่อง อนุมัติเพิ่มเงินช่วยเหลือ "ข้าราชการเก่า" กว่า 2 หมื่นล้านบาท