ประวัติ "นางนพมาศ" อิสตรีผู้เพียบพร้อม แห่ง "ราชวงศ์พระร่วง"

แว่วเสียงสกุณาพาตะวันลับของฟ้า ราตรีเข้าย่างกรายแสงนวลแห่งจันทราก็ปรากฏ เทศกาลขอขมาพระแม่คงคาก็ได้เริ่มขึ้น "วันลอยกระทง" เป็นประเพณีอันชวนพิศมัยที่ไม่เคยเลือนหายไปตามสายธารแห่งกาลเวลา หากถูกปลุกขึ้นด้วย "รากเหง้า" ของความเป็นไทยที่ซึบซัมวัฒนธรรมส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

ประวัติ "นางนพมาศ" อิสตรีผู้เพียบพร้อม แห่ง "ราชวงศ์พระร่วง"

 

แว่วเสียงสกุณาพาตะวันลับของฟ้า ราตรีเข้าย่างกรายแสงนวลแห่งจันทราก็ปรากฏ เทศกาลขอขมาพระแม่คงคาก็ได้เริ่มขึ้น "วันลอยกระทง" เป็นประเพณีอันชวนพิศมัยที่ไม่เคยเลือนหายไปตามสายธารแห่งกาลเวลา หากถูกปลุกขึ้นด้วย "รากเหง้า" ของความเป็นไทยที่ซึบซัมวัฒนธรรมส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น อันควรค่าแก่การธำรงไว้ และนอกเหนือจาก "การลอยกระทง" ที่พึงปฏิบัติกันเป็นประจำ อีกหนึ่งเสน่ห์คือเวทีมรสพแห่งสีสัน เต็มไปด้วยสตรีในชุดไทยโบราณ คุ้นเคยกันในนาม "นางนพมาศ" ที่มีประวัติความเป็นมาอัดแน่นไปด้วยความสนเท่ห์และน่าค้นหายิ่ง
 
นางนพมาศ หรือบ้างก็เรียกกันว่า เรวดี นพมาศ เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนางเรวดีมีรูปลักษณ์และคุณสมบัติที่งดงามเยี่ยงสตรีในอุดมคติ อีกทั้งยังมีความรู้ในศาสตร์หลากแขนงเพียบพร้อมทุกด้าน สติปัญญาแหลมคมจนทำให้นางได้เข้ารับราชการในสมัยพระยาลิไท ต่อมาจึงได้ขึ้นมาเป็นสนมเอก และเปลี่ยนชื่อเป็น "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" ในเวลาต่อมา
 
พงศาวดารบางฉบับบันทึกไว้ว่า นางนพมาศสร้างคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงอยู่เสมอ โดยมีเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ คือ

 

ประวัติ "นางนพมาศ" อิสตรีผู้เพียบพร้อม แห่ง "ราชวงศ์พระร่วง"

1. ภายหลังเข้ารับใช้ในวังได้เพียง 5 วัน ตรงกับวันพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน และนำไปถวายพระร่วงเจ้าเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้ายิ่งนัก

2. ทุกเดือนห้ามีพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า "ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น" จนกลายเป็นต้นแบบของพานขันหมากเวลาแต่งงาน จนถึงปัจจุบัน

3. นางนพมาศได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า "แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้"

 

ประวัติ "นางนพมาศ" อิสตรีผู้เพียบพร้อม แห่ง "ราชวงศ์พระร่วง"
 

อีกทั้งยังมีการบันทึกเพิ่มเติมถึงนางนพมาศไว้ว่า "ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อเสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน"

นอกจากนี้ นางนพมาศ ยังได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย โดย ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ นี้แต่งด้วยร้อยแก้วมีกลอนดอกสร้อยแทรก ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกัน

 

ประวัติ "นางนพมาศ" อิสตรีผู้เพียบพร้อม แห่ง "ราชวงศ์พระร่วง"
 
อย่างไรก็ตามยังคงมีความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนว่า นางนพมาศเป็นผู้ริเริ่มประเพณีลอยกระทง เพราะจากข้อเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช ระบุว่าความจริงประเพณีลอยกระทงและตาม(จุด)ประทีปนี้ ความจริงได้เกิดมีขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย(ภาคกลาง) และมีขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทยที่เรียกว่า "ลานนา" นับเป็นเวลาช้านานมาแล้ว  แต่ต่อมาในสมัยพระร่วงเจ้า นางนพมาศเป็นผู้คิดตกแต่งและประดิษฐ์รูปกระทงให้ผิดแผกจากผู้ประดิษฐ์อื่นๆ เท่านั้น 
 

นางนพมาศนับเป็นสตรีที่มีความสมบูรณ์แบบจนถูกหยิบยกให้มาเป็นต้นแบบของการประกวด "นางนพมาศ" ใน "วันลอยกระทง"

 

ประวัติ "นางนพมาศ" อิสตรีผู้เพียบพร้อม แห่ง "ราชวงศ์พระร่วง"