กางกฎหมายทางเท้า กทม.เอาจริงเรียกประชุมนโยบายกวดขันห้ามจยย.ขึ้นฟุตปาธ ใครตาไวได้ส่วนแบ่ง

  ถือเป็นมาตรการที่ดีเพื่อให้ประชาชนมีทางเดินที่ปลอดภัยอีกมาตรการหนึ่งกับการดำเนินโครงการ "จับจริง ปรับจริง" หลัง กทม. ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่เทศกิจ ทั้ง 50 เขต ทั่ว กทม. เพื่อรับทราบนโยบายการกวดขันห้ามผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขึ้นฟุตปาธทางเท้าเพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่เดินอยู่ในที่จัดสรรค์

  ถือเป็นมาตรการที่ดีเพื่อให้ประชาชนมีทางเดินที่ปลอดภัยอีกมาตรการหนึ่งกับการดำเนินโครงการ "จับจริง ปรับจริง" หลัง กทม. ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่เทศกิจ ทั้ง 50 เขต ทั่ว กทม. เพื่อรับทราบนโยบายการกวดขันห้ามผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขึ้นฟุตปาธทางเท้าเพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่เดินอยู่ในที่จัดสรรค์ให้เดินโดยไม่ต้องกลัวหรือคอยหลบรถที่ขับขี่สวนมาเนื่องจากเกิดประเด็นที่ทำให้โลกโซเชียลต้องถกเถียงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ฟุตปาธทางเท้าจากกรณีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนเด็กนักเรียนหญิง รายหนึ่ง บริเวณโรงเรียนบดิทรเดชา 3
ขณะเดินอยู่ จนล้มลงไปกับพื้นพร้อมทั้งได้รับบาดเจ็บช่วงสะโพก และแผลถลอกที่ขา ส่วนรถจักรยานยนต์คันนี้ถูกดำเนินคดีในข้อหาความผิด พ.ร.บ.ทางบก อัตราโทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท และ พ.ร.บ.เกี่ยวกับความสะอาดบนทางเท้า อัตราโทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท

 

กางกฎหมายทางเท้า กทม.เอาจริงเรียกประชุมนโยบายกวดขันห้ามจยย.ขึ้นฟุตปาธ ใครตาไวได้ส่วนแบ่ง

 

กางกฎหมายทางเท้า กทม.เอาจริงเรียกประชุมนโยบายกวดขันห้ามจยย.ขึ้นฟุตปาธ ใครตาไวได้ส่วนแบ่ง

 

 จากเหตุการณ์นี้เองทำให้เกิดโครงการ "จับจริง ปรับจริง" ขึ้นมาอย่างจริงจัง โดยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประชาชนผู้ใดพบผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใด (2) จอด หรือ ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน บนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้และมีบทกำหนดโทษอยู่ในมาตรา 56 ที่ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 17 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท สามารถส่งเบาะแสไปยังเจ้าหน้าที่เทศกิจในเขตท้องที่นั้นๆ หรือผ่านทางศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กทม.1555 ได้ทันที โดยใช้หลักฐาน อาทิ รูป หรือ คลิปวีดีโอที่มองเห็นเลขทะเบียนรถชัดเจน เพื่อใช้เป็นหลักฐาน

 

กางกฎหมายทางเท้า กทม.เอาจริงเรียกประชุมนโยบายกวดขันห้ามจยย.ขึ้นฟุตปาธ ใครตาไวได้ส่วนแบ่ง
 
และหากเป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ต้องเห็นหมายเลขเสื้อและวินที่สังกัด เพื่อนำไปเป็นหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ นำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดเพื่อเปรียบเทียบปรับได้ ซึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดแล้ว เขตจะทำหนังสือไปยังประชาชนที่แจ้งข้อมูลดังกล่าวเข้ามาเพื่อรับค่านำจับจำนวนครึ่งหนึ่งของค่าปรับต่อไปตามมาตรา 48 วรรคสาม ซึ่งมาตรการนี้ดำเนินการอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2560 โดยปัญหาที่พบมากที่สุดในการร้องเรียนเห็นจะเป็นประชาชนมาแจ้งแล้วไม่มีหลักฐานที่เพียงพอจึงทำให้ไม่มีหลักฐานเอาผิดได้

 

กางกฎหมายทางเท้า กทม.เอาจริงเรียกประชุมนโยบายกวดขันห้ามจยย.ขึ้นฟุตปาธ ใครตาไวได้ส่วนแบ่ง

 ด้าน พล.ต.อ.ดร.วิระชัย ทรงเมตตา รองผบ.ตร. ที่รับผิดชอบด้านกฎหมาย ก็ได้โพสต์ไขข้อกฎหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กหญิงรายนี้ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ดร.วิระชัย ทรงเมตตา ว่า การกระทำของผู้ขับขี่เช่นนี้ มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตราประมวลกฎหมายอาญาอัตราโทษสูงสุด จําคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าได้รับบาดเจ็บสาหัส ผิดตาม ป.อาญา มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังมีความผิดข้อหาขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43(7), 157 และพ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 17, 56 โทษสูงสุดปรับไม่เกิน 5 พันบาท

 

กางกฎหมายทางเท้า กทม.เอาจริงเรียกประชุมนโยบายกวดขันห้ามจยย.ขึ้นฟุตปาธ ใครตาไวได้ส่วนแบ่ง