บทสรุปดราม่าข้ามชาติ "โขนไทย-โขนเขมร" คนไทยได้เฮ ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน

สืบเนื่องจากปมดราม่าเดือน ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา กรณีรัฐบาลไทยเตรียมยื่นเรื่องต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เพื่อขอขึ้นทะเบียนศิลปะการแสดงชั้นสูง "โขน" ให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

บทสรุปดราม่าข้ามชาติ "โขนไทย-โขนเขมร" คนไทยได้เฮ ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน

สืบนื่องจากปมดราม่าเดือน ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา กรณีรัฐบาลไทยเตรียมยื่นเรื่องต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เพื่อขอขึ้นทะเบียนศิลปะการแสดงชั้นสูง "โขน" ให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หมายถึงรูปแบบวัฒนธรรมซึ่งมีลักษณะจับต้องไม่ได้ อย่างศิลปะ การเล่าเรื่อง การเต้นรำ หรือประเพณีอื่นๆ ที่ต่างจากวัฒนธรรมซึ่งจับต้องได้อย่างโบราณสถานหรือโบราณวัตถุ 
  
เหตุการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งข้อถกเถียงระหว่างชาวไทยและชาวกัมพูชา เมื่อฝ่ายกัมพูชายืนยันว่าตนเองก็เป็นเจ้าของโขนเช่นเดียวกัน บานปลายจนเกิดการปลุกระดมเฮโลถล่มคอมเม้นต์ในเพจของ ยูเนสโก กันอย่างดุเดือด ขณะนั้นทางยูเนสโก เผยว่า จะยังไม่มีการนำโขนไทยไปขึ้นทะเบียน เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตรงข้ามกับฝั่งกัมพูชาที่มีความได้เปรียบในการขึ้นทะเบียนมากกว่า เพราะเคยจดทะเบียนศิลปะการแสดง "ละโคนพระกรุณา" หรือ Royal Ballet of Cambodia ซึ่งเป็นการแสดงรามเกียรติ์ที่สวมหน้ากากคล้ายกับโขนของไทย ตั้งแต่ปี 2551

 

บทสรุปดราม่าข้ามชาติ "โขนไทย-โขนเขมร" คนไทยได้เฮ ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน

อย่างไรก็ตามทางผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ก็ต่างพากันร่วมแสดงความเห็นเพื่อหาทางออก โดยระบุว่าการขึ้นทะเบียนโขนให้เป็นมรดกโลกจะช่วยให้โขนได้รับการอนุรักษ์ และกลายเป็นที่รู้จักในระดับโลก ดังนั้นการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโขนร่วมกัน ระหว่างไทยและกัมพูชา หรือให้แต่ละประเทศต่างคนต่างยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
 
เพราะไม่เพียงแต่ไทยและกัมพูชาเท่านั้น ที่มีการแสดงโขนแต่ยังพบว่าลาว และเมียนมา ต่างก็มีโขนเป็นของตัวเอง จึงน่าจะขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของอาเซียนร่วมกันได้ แต่ทั้งนี้ต้องปราศจากอคติซึ่งกันและกัน และที่สำคัญเพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทเป็นประเด็นทับซ้อนแต่ละประเทศต้องขอขึ้นทะเบียนแยกกัน เนื่องจากโขนไทยและโขนกัมพูชามีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่ากัมพูชาหรือไทย วัตถุประสงค์แรกสุดของโขนก็คือการแสดงเพื่อความบันเทิงให้แก่ผู้ชม

 

บทสรุปดราม่าข้ามชาติ "โขนไทย-โขนเขมร" คนไทยได้เฮ ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน

ล่าสุด 30 พ.ย. 2561 นับว่าเป็นข่าวดีของทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา เมื่อยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้ทั้งโขนไทยและโขนกัมพูชา ซึ่งโขนไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคือ "การแสดงโขนในประเทศไทย" หรือ "Khon masked  dance drama in Thailand" ส่วนโขนของกัมพูชาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคือ "ละครโขน" หรือ "Lkhon Khoal Wat Svay Andet"

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ระบุว่า "ทั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นการขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนกับการขึ้นทะเบียนการแสดงโขนในประเทศไทย เนื่องจากการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เป็นความภาคภูมิใจของประเทศที่นำเสนอให้ขึ้นทะเบียนไม่ใช่การจดลิขสิทธ์หรือการแสดงความเป็นเจ้าของ ที่สำคัญการแสดงโขนของกัมพูชาและการแสดงโขนในประเทศไทยต่างมีแบบแผนที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและเป็นเครื่องแสดงความภาคภูมิของประเทศ"

 

บทสรุปดราม่าข้ามชาติ "โขนไทย-โขนเขมร" คนไทยได้เฮ ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน
 
นอกจากนี้คณะกรรมการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมยังได้เตรียมเสนอมรดกภูมิปัญญาของไทย ต่อยูเนสโกเพื่อขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติในปีต่อไป อาทิ นวดแผนไทย โนรา และจะมีการศึกษาแนวทางการเสนอมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่มีความคล้ายคลึงกันกับประเทศต่างๆ เพิ่มเติมต่อไป 
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาเคลื่อนไหว ผ่านเฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ระบุว่า "ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม ฟื้นฟู สืบสาน และพัฒนาการแสดงโขนในทุกมิติ ผมขอประกาศอย่างภาคภูมิใจว่า การแสดงโขนในประเทศไทยได้รับการขึ้นบัญชีเป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโก เป็นสมบัติให้คนไทยและทั่วโลกรุ่นหลังได้ศึกษาวัฒนธรรมอันสวยงามจากประเทศของเราครับ"

 

บทสรุปดราม่าข้ามชาติ "โขนไทย-โขนเขมร" คนไทยได้เฮ ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน