"กรณ์ จาติกวณิช" อดรนทนไม่ไหว ถลกปม ร.ร. นานาชาติ หุ้นการศึกษาตัวแรก ฟันกำไรกับอนาคตชาติตาดำๆ

 เรียกว่าต้องตามติดกันแบบยาวๆ สำหรับทิศทางของหุ้น บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) หรือ SISB ที่ขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จนกลายเป็นหุ้นสถาบันการศึกษาตัวแรกในประเทศไทยที่มีขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้มีโรงเรียนเอกชนชื่อดังเซนต์จอห์นเคยออกมาขอยื่นจดแล้วเมื่อประมาณเกือบ 20 ปี

   เรียกว่าต้องตามติดกันแบบยาวๆ สำหรับทิศทางของหุ้น บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) หรือ SISB ที่ขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จนกลายเป็นหุ้นสถาบันการศึกษาตัวแรกในประเทศไทยที่มีขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้มีโรงเรียนเอกชนชื่อดังเซนต์จอห์นเคยออกมาขอยื่นจดแล้วเมื่อประมาณเกือบ 20 ปี แต่ก็ได้รับเสียงคัดค้านจากประชาชนเป็นอย่างมากในตอนนั้น ทาง ก.ล.ต. ยังพิจารณาให้ไม่ผ่านเนื่องจากกระแสที่สะสมจากประชาชนจึงทำให้เรื่องจดทะเบียนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต้องยกไป จนเวลาผ่าน บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) ก็สามารถเข้าจดทะเบียนพร้อมเปิดขายหุ้นตัวแรกได้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมาด้วยการซุ่มเงียบจนหลายคนไม่รู้มาก่อนนั้นเอง (อ่าน "SISB" ปลุกกระแสสังคม หุ้นโรงเรียนตัวแรกที่ถูกดันเข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อความรู้อนาคตของชาติถูกแปรค่าเป็นธุรกิจค้ากำไร  EP.1)

"กรณ์ จาติกวณิช" อดรนทนไม่ไหว ถลกปม ร.ร. นานาชาติ หุ้นการศึกษาตัวแรก ฟันกำไรกับอนาคตชาติตาดำๆ

       อย่างไรก็ตามในประเด็นเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านออกมาแย้งกับสิ่งที่ บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) หรือโรงเรียนนานาชาติแห่งนี้ได้ทำตั้งแต่ก่อนจดทะเบียน แต่เนื่องจากกระแสไม่ส่งจึงทำให้เรื่องไม่ดังเท่าที่ควรจนกระแสเงียบไปในที่สุด โดย นายกรณ์ จาติกวณิช ได้แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Korn Chatikavanij" ระบุว่า...

  "กรณ์ จาติกวณิช" อดรนทนไม่ไหว ถลกปม ร.ร. นานาชาติ หุ้นการศึกษาตัวแรก ฟันกำไรกับอนาคตชาติตาดำๆ

โรงเรียนนี้ชื่อ Singapore International School Bangkok (SISB) เป็นการร่วมทุนระหว่างไทย/สิงคโปร์ และมีกำไรประมาณปีละ 60-80 ล้านบาทงานนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายกับความเหมาะสมในการนำสถานศึกษาเข้าระดมทุนด้วยวิธียื่นเข้าตลาดหลักทรัพย์ และมีการเปรียบเทียบทางด้านความเหมาะสมกับการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของโรงพยาบาลหรือสถาบันใดควรมากกว่ากันเพื่อจะได้ประโยชน์อย่างสูงสุด

โดยรวมผมไม่สบายใจกับการเข้าตลาดหุ้นโดยโรงเรียนนานาชาติในกรณีนี้ ผมขอลำดับความคิดตามนี้ครับ

1. ผมรับได้กับการแสวงหากำไรพอประมาณโดยโรงเรียนเอกชน กำไรทำให้เกิดการลงทุน และตราบใดที่มีการแข่งขัน ผู้ปกครองจะมีทางเลือกและกลไกตลาดจะทำงานในการกำกับราคาและคุณภาพให้เป็นธรรม

2. แต่ความจริง คือ โรงเรียนเอกชนได้รับการยกเว้นภาระการเสียภาษีกำไร (ภาษีนิติบุคคล) ด้วยเหตุผลว่า รัฐบาลต้องการสนับสนุนการลงทุนโดยเอกชนในกิจการการศึกษา

3. ตามตรรกะการให้สิทธิพิเศษทางภาษีเพื่อให้มีการลงทุน รัฐควรมีเงื่อนไขในการจำกัดสัดส่วนของกำไรที่นำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีการนำกำไรส่วนใหญ่กลับไปใช้ในการลงทุนในโรงเรียนเพิ่มเติมและในกรณีที่มีการขายหุ้น ผู้ถือหุ้นควรต้องเสียภาษีกำไร (Capital Gains) ตามปกติ

4. หากผู้ถือหุ้นต้องการนำโรงเรียนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รัฐควรยกเลิกสิทธิพิเศษทางด้านภาษีของโรงเรียนนั้นๆ เพราะหลักสำคัญของการเป็นบริษัทในตลาดหุ้น คือ การทำกำไรสูงสุดให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่น่าจะตรงกับวัตถุประสงค์การสนับสนุนโรงเรียนเอกชนของรัฐ  

5. ในกรณีโรงพยาบาลเอกชนเราเห็นปัญหาค่ายาและค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการกำกับดูแลให้เป็นธรรม แต่ความต่าง คือ โรงพยาบาลไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีและโรงพยาบาลอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องหาแหล่งทุนมากกว่าโรงเรียน เพราะต้องลงทุนในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีต้นทุนสูงอย่างต่อเนื่อง

6. หน้าที่หลักของรัฐ คือ การยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนรัฐ เพื่อไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องเสียเปรียบผู้มีฐานะที่สามารถส่งลูกหลานเข้าเรียนโรงเรียนเอกชน (และโดยเฉพาะโรงเรียนอินเตอร์) ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วเราจะเห็นว่าโรงเรียนรัฐไม่ได้ด้อยคุณภาพกว่าโรงเรียนเอกชน

7. หากรัฐสนับสนุนโรงเรียนเอกชนด้วยการยกเว้นภาษี แต่ไม่เอาจริงกับการยกระดับมาตรฐานโรงเรียนรัฐ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องคือการขยายช่องว่างความเหลื่อมลํ้าทางโอกาสระหว่างคนไทยที่มีฐานะต่างกัน

"กรณ์ จาติกวณิช" อดรนทนไม่ไหว ถลกปม ร.ร. นานาชาติ หุ้นการศึกษาตัวแรก ฟันกำไรกับอนาคตชาติตาดำๆ

      โดยทั่วไปการเข้าตลาดหุ้นทำให้มีแรงกดดันให้บริษัทต้องเร่งทำกำไร ซึ่งจะผิดวัตถุประสงค์การสนับสนุนทางภาษีโดยรัฐ และการเข้าตลาดหุ้นจะทำให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิขายหุ้นได้โดยไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งในกรณีนี้มีการกำหนดราคาหุ้นไว้กว่า 50 เท่าเงินกำไรที่ปลอดภาษี ประเด็นเหล่านี้กระทรวงการคลังควรต้องพิจารณาครับ

       ทั้งนี้ SISB ถือเป็นบริษัทหนึ่งที่โตมากับกระแสเฟื่องฟูของโรงเรียนนานาชาติในไทย ส่วนใหญ่ 60% ของ 175 แห่งที่ดำเนินการอยู่ใน กทม.และปริมณฑล ที่รับเอาแฟรนไชส์ต่างประเทศเป็นโมเดลธุรกิจ ซึ่งเมื่อต้นปีนี้มีการประเมินว่ามูลค่าตลาดของกลุ่มนี้น่าจะอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท และทำกำไรเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง จนกระทั่งกลุ่มทุนทั้งไทยและต่างชาติเตรียมทุ่มเงินก้อนโตลงทุนมากขึ้น เพราะสร้างรายได้สูง และมีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยเน้นแฟรนไชส์หลักสูตรยอดนิยมเป็นของอังกฤษ อเมริกา ตามมาด้วยจีน (ทั้งไต้หวันและแผ่นดินใหญ่)

"กรณ์ จาติกวณิช" อดรนทนไม่ไหว ถลกปม ร.ร. นานาชาติ หุ้นการศึกษาตัวแรก ฟันกำไรกับอนาคตชาติตาดำๆ

    หลังจากนี้ทุกคนต่างรอให้  SISB นั้นพิสูจน์ตัวเองว่าหลังจากการเปิดขายหุ้นวันแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิการยน 2561 ที่ผ่านมา ทางผู้บริหาร  SISB จะรักษามาตรฐานการสอนให้สอดคล้องกับกระแสทุนนิยม จนไม่ทำให้เสียหลักจริยธรรมของสถานศึกษาที่ควรจะเป็นพร้อมมุ่งเน้นประโยชน์สาธารณะมากกว่าส่วนตน นั่นเป็นเรื่องที่หลายคนต้องติดตามกันยาวๆ เมื่อสถาบันการศึกษากลายเป็นระบบทุนนิยมมากขึ้น