สังคมช่วยกันตอบ สอบ "ธรรมศึกษา" แต่พระเฉลยคำตอบป้อนให้เด็ก แอบแฝงอื่นใด

ถือเป็นประเด็นที่สร้างความคลางแคลงใจพร้อมกับเกิดการตั้งคำถาม ถึงระบบการศึกษาที่คาบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา กรณีการสอบ "ธรรมศึกษา" เมื่อเพจเฟสบุ๊ก "ครูนอกกรอบ" ได้ทำการเปิดเผยข้อความสนทนา ที่เด็กนักเรียนผู้ทำการสอบธรรมศึกษา ถามแอดมินเพจ โดยระบุว่า  

ถือเป็นประเด็นที่สร้างความคลางแคลงใจพร้อมกับเกิดการตั้งคำถาม ถึงระบบการศึกษาที่คาบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา กรณีการสอบ "ธรรมศึกษา" เมื่อเพจเฟสบุ๊ก "ครูนอกกรอบ" ได้ทำการเปิดเผยข้อความสนทนา ที่เด็กนักเรียนผู้ทำการสอบธรรมศึกษา ถามแอดมินเพจ โดยระบุว่า  

 

สังคมช่วยกันตอบ สอบ "ธรรมศึกษา" แต่พระเฉลยคำตอบป้อนให้เด็ก แอบแฝงอื่นใด

 

การสอบเมื่อวานนี้มีโรงเรียนใดบ้างที่พระไม่ทำเฉลยให้ ทางด้านแอดมินจึงถามกลับว่าเฉลยอย่างไร ซึ่งได้คำตอบกลับมาว่า พระทำการ "กา" เฉลยคำตอบมาให้ เพื่อให้ครูผู้คุมสอบนำไปเฉลยให้เด็ก แต่ทางโรงเรียนขอเฉลยแบบสุ่มไม่เรียงข้อ ส่วนข้อสอบประเภทอัตนัยครูขึ้นกระดานอย่างเปิดเผย นำมาซึ่งคำถามว่า พฤติการณ์ของผู้รับผิดชอบการสอบธรรมศึกษา ที่ดูจะไม่ชอบมาพากลนั้น มีนัยยะแอบแฝงเพื่อเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ทางใดทางหนึ่งหรือไม่
 

พร้อมกันนั้นได้มีชาวโซเชียลออกมาแสดงความเห็นว่า หากเป็นเช่นนี้เด็กจะได้อะไรจากการสอบ เพราะการสอบเป็นการวัดความสามารถ โดยเฉพาะการสอบธรรมศึกษา ที่เป็นการสอบธรรมะซึ่งเป็นการวัดระดับคุณธรรม จริยธรรม ภายในจิตใจของเด็ก

สังคมช่วยกันตอบ สอบ "ธรรมศึกษา" แต่พระเฉลยคำตอบป้อนให้เด็ก แอบแฝงอื่นใด

 

นอกจากนี้ยังมีผู้คอมเม้นต์ว่าการสอบธรรมศึกษาไม่มีความเป็นระบบระเบียบ การจัดสอบปีละครั้งควรจะเป็นการสอบที่มีประสิทธิภาพ และก่อนสอบควรจะมีพระอาจารย์มาให้ความรู้ไม่ใช่สักแต่สอบเพื่อให้ผ่านเกณฑ์
 
ยิ่งไปกว่านั้น มีผู้ที่อ้างว่าตนเป็นกรรมการผู้คุมสอบ เผยว่า วิชาแรกเป็นวิชากระทู้ธรรม โดยพระจะเป็นผู้บอกความช่วงแรก ซึ่งตนก็อธิบายเด็กว่าเขียนเหมือนเรียงความตีสุภาษิต แต่พระกลับเขียนใส่กระดาษให้เด็กลอกตาม ส่วนข้อสอบปรนัยก็เฉลยทุกข้อทั้งที่เป็นเพียงความรู้พื้นฐาน พร้อมทิ้งท้ายว่าการสอบนี้ต้องการอะไร เพราะตนนั้นเป็นผู้คุมสอบมาสองปี นั่งเฉยๆ ทุกครั้งส่วนปีหน้าคิดว่าจะถอนตัวไม่ทำหน้าที่นี้แล้ว

 

สังคมช่วยกันตอบ สอบ "ธรรมศึกษา" แต่พระเฉลยคำตอบป้อนให้เด็ก แอบแฝงอื่นใด

 

สังคมช่วยกันตอบ สอบ "ธรรมศึกษา" แต่พระเฉลยคำตอบป้อนให้เด็ก แอบแฝงอื่นใด

 

 

สังคมช่วยกันตอบ สอบ "ธรรมศึกษา" แต่พระเฉลยคำตอบป้อนให้เด็ก แอบแฝงอื่นใด

 

ขณะเดียวกันมีการคอมเม้นต์อย่างน่าสนใจว่า ระบบการสอบพังมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้และไม่ได้โจ่งแจ้งเหมือนปัจจุบัน เพราะทุกอย่างคือธุรกิจ ถ้าเด็กสามารถทำคะแนนได้สูงก็จะสามารถเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของสถาบันแห่งนั้น แต่บางคอมเม้นต์ก็ยืนยันว่าโรงเรียนของตนไม่มีการเฉลยให้เด็กทำตามความสามารถและให้คะแนนตามเนื้อผ้าถ้าตกก็สามารถสอบใหม่ได้ในปีถัดไป อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไปว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาให้ความกระจ่างต่อเหตุการณ์นี้หรือไม่ อย่างไร . . .


สำหรับการสอบ "ธรรมศึกษา" หรือ "นักธรรม" นั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยก่อนเป็นการสอบแบบปากเปล่า โดยจะให้ผู้เข้าสอบเข้าไปแปลคัมภีร์อรรถกถาต่อหน้าพระเถราจารย์ และพระเถราจารย์จะซักถามผู้เข้าสอบไล่ จึงเป็นที่มาของคำว่า ไล่ความรู้ หรือ สอบไล่ 

 

สังคมช่วยกันตอบ สอบ "ธรรมศึกษา" แต่พระเฉลยคำตอบป้อนให้เด็ก แอบแฝงอื่นใด
  
วิชาที่สอบแต่ละประโยคนั้นก็จะกำหนดพระสูตรต่างๆ สำหรับแต่ละประโยค เริ่มตั้งแต่ประโยค 1 ไปจนถึง ประโยค 9 โดยการสอบนั้น จะมีการสอบตั้งแต่ประโยค 1 ขึ้นไป ถ้าสอบประโยค 1 - 2 ได้ แต่สอบประโยค 3 ไม่ได้ ก็ต้องไปเริ่มสอบประโยค 1 ใหม่ เว้นแต่เมื่อสอบได้ประโยค 3 แล้ว ก็สามารถสอบไล่ไปทีละประโยคหรือหลายประโยคก็ได้ แต่เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 5 การสอบได้แบ่งออกเป็นสองสนามคือปากเปล่าซึ่งเป็นแบบเก่า และสนามข้อเขียน ที่แบ่งการสอบเป็น 3 ชั้น เรียกว่า เปรียญตรี เทียบคุณวุฒิเสมอเปรียญ 4 แบบเก่า เปรียญโท เทียบคุณวุฒิเสมอเปรียญ 5 และเปรียญเอกเทียบคุณวุฒิเปรียญ 7

ล่วงเลยเข้าสู่รัชสมัย รัชกาลที่ 6 จึงได้ปรับหลักสูตรการศึกษา ให้ใช้หลักสูตรของมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นหลัก และเลิกการสอบเปรียญ ตรี โท เอก เปลี่ยนมาเป็นสอบบาลีตั้งแต่ประโยค 1 - 9 ดังในปัจจุบันการสอบพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือ การสอบธรรมสนามหลวง แบ่งการสอบออกเป็น 2 ประเภท คือ การสอบ "นักธรรม" สำหรับพระภิกษุ สามเณร และการสอบ "ธรรมศึกษา" สำหรับฆราวาส 
 
โดยแบ่งชั้นการศึกษาออกเป็น 3 ระดับนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก สำหรับพระภิกษุ สามเณร (ผู้สอบไล่ได้นักธรรมเอกนั้น กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิให้เทียบเท่าประถมศึกษาตอนปลาย) และ ธรรมศึกษาตรี ธรรมศึกษาโท ธรรมศึกษาเอก สำหรับฆราวาส การจัดสอบวัดผลธรรมสนามหลวงนั้นจัดให้มีการสอบปีละ 2 ครั้ง และมีความสะดวกสบายกว่าแต่ก่อนมาก เพราะผู้สมัครสอบไม่ต้องเข้ามาสอบที่ส่วนกลางทั้งหมด แต่ให้มีสนามสอบประจำจังหวัดๆ ละหนึ่งแห่งทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้เป็นส่วนกลาง

ขอบคุณเพจเฟสบุ๊ก ครูนอกกรอบ

สังคมช่วยกันตอบ สอบ "ธรรมศึกษา" แต่พระเฉลยคำตอบป้อนให้เด็ก แอบแฝงอื่นใด