"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" สามารถกดเงินสดได้ 7 ส่วน เช็คให้ชัวร์ก่อนถอนใช้

เรียกว่ากำลังเป็นกระแสอยู่ขณะนี้กับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่รัฐบาลหวังช่วยกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยให้มีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในทุกๆเดือน ไม่ว่าจะเป็นการรูดซื้อสินค้าที่รัฐเป็นผู้กำหนดหรือแม้แต่ค่าโดยสารรถสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า รถบขส. และรถไฟ ให้ประชาชนผู้ถือบัตรมีกำลังในการใช้เงินมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้บัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี้

  เรียกว่ากำลังเป็นกระแสอยู่ขณะนี้กับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่รัฐบาลหวังช่วยกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยให้มีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในทุกๆเดือน ไม่ว่าจะเป็นการรูดซื้อสินค้าที่รัฐเป็นผู้กำหนดหรือแม้แต่ค่าโดยสารรถสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า รถบขส. และรถไฟ ให้ประชาชนผู้ถือบัตรมีกำลังในการใช้เงินมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้บัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี้ยังสามารถกดเงินได้ เปรียบเสมือนเป็นบัตรเอทีเอ็ม ไปในตัว โดยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีการแบ่งวงเงินเดิมออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

1. เงินสำหรับซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น จำนวน 200-300 บาท/เดือน (หากเข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพจะได้เพิ่มเป็น 300-500 บาทซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถกดได้)  

 2. ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาท/3 เดือน  

3. ค่าใช้จ่ายรถโดยสารสาธารณะ ได้แก่ ค่ารถเมล์และรถไฟฟ้า 500 บาท/เดือน, ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาท/เดือน และค่าโดยสารรถไฟ 500 บาท/เดือน 

โดยเงินในบัตรทั้ง 3 ส่วนนี้ ผู้ถือบัตรไม่สามารถกดหรือถอนออกมาเป็นเงินสดได้ (ยกเว้นเงินจากโครงการฝึกอาชีพ) เพราะเป็นวงเงินที่สำรองไว้ใช้ผ่านเครื่องชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ของหน่วยงาน หรือ ร้านค้าที่กำหนดเท่านั้น และล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 61 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้เคาะออกมาตรการช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 4 มาตรการสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจนั้นดีขึ้น โดยมีวงเงินเพิ่มทั้งหมดที่สามารถกดไปใช้ได้ คือ

 

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" สามารถกดเงินสดได้ 7 ส่วน เช็คให้ชัวร์ก่อนถอนใช้

1.ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายปลายปี 500 บาท/คน ในเดือนธันวาคม 2561 

2. ช่วยเหลือค่าไฟฟ้า-ค่าน้ำประปา 10 เดือน 
          - ค่าไฟฟ้า วงเงิน 230 บาท/ครัวเรือน/เดือน (ธันวาคม 2561-กันยายน 2562)
          - ค่าน้ำประปา วงเงิน 100 บาท/ครัวเรือน/เดือน (ธันวาคม 2561-กันยายน 2562)

3. ค่าเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ 1,000 บาท/คน

4. ค่าเช่าบ้านสำหรับผู้สูงอายุ 400 บาท/เดือน (ธันวาคม 2561-กันยายน 2562)

 

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" สามารถกดเงินสดได้ 7 ส่วน เช็คให้ชัวร์ก่อนถอนใช้

 

 หากสรุปสั้นๆ อย่างเข้าใจง่ายว่า วงเงินที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถกดเงินสดออกมาใช้ได้ มีทั้งสิ้น 7 วงเงินด้วยกันได้แก่

1. วงเงินที่ได้เพิ่มเติมจากการร่วมโครงการฝึกอาชีพ 100-200 บาท/เดือน
2. เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ 50-100 บาท/เดือน
3. เงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผู้มีรายได้น้อย ไม่เกิน 500 บาท/เดือน
4. เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายช่วงปลายปี 500 บาท 
5. ช่วยค่าน้ำประปา-ไฟฟ้า โดยน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาท/เดือน และค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 230 บาท/เดือน 
6. ค่าเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ 1,000 บาท  
7. ค่าเช่าบ้านผู้สูงอายุ 400 บาท/เดือน

  "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" สามารถกดเงินสดได้ 7 ส่วน เช็คให้ชัวร์ก่อนถอนใช้

 

 นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ถอนเงินสดได้เหมือนกับบัตร ATM ทั่วไปเลย โดยรหัสที่ใช้ถอนเงินครั้งแรก จะเป็นเลข 6 หลักสุดท้ายของบัตรประชาชนผู้ถือบัตร ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนรหัสทันทีได้ที่ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย ตามขั้นตอนนี้  

- สอดบัตรและใส่รหัสเดิมให้ถูกต้อง 
- เลือกบริการ "อื่นๆ"  
- เลือก "เปลี่ยนรหัส ATM"
- ทำการตั้งรหัสผ่านใหม่จำนวน 6 หลัก  
 หลังจากได้เปลี่ยนรหัส 6 หลักเรียบร้อยแล้ว เท่านี้ก็จะสามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปถอนเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุได้แล้ว ด้วยขั้นตอน ดังนี้  
1. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและใส่รหัส 6 หลักใหม่ 
2. เลือก "ถอน/โอน/อื่น ๆ" 
3. เลือก "ถอนเงิน" 
4. เลือกประเภทบัญชี "บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์" 
5. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ (ขั้นต่ำ 100 บาท)   

 

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" สามารถกดเงินสดได้ 7 ส่วน เช็คให้ชัวร์ก่อนถอนใช้

          ขณะเดียวกันผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐยังสามารถนำเงินที่เติมไว้ในบัตรไปใช้ทำธุรกรรมอื่นๆ ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝากเงิน โอนเงิน ผ่านตู้ ATM/ADM ธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศแบบฟรีค่าธรรมเนียม, ชำระค่าสินค้าตามจุดรับเงินต่างๆ ที่รองรับบัตรคนจน และชำระสินค้าตามร้านค้าอื่นๆ ที่มี เครื่องหมาย PromptCard  
   
         สำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ โอนเข้าบัตรทุกวันที่ 15 ของเดือน สามารถนำบัตรคนจนไปถอนเงินสดออกมาใช้ได้ผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย และสาขาของธนาคารกรุงไทย ด้วยวิธีและขั้นตอนเดียวกันกับการถอนเงินที่เติมเข้าบัตรคนจนปกติเลย แต่ก็อย่าลืมไปเปลี่ยนรหัส 6 หลักเดิมก่อนด้วย ถึงจะสามารถถอนเงินได้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ที่ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยและธนาคารกรุงไทยทุกสาขา

   นอกจากนี้อีกหนึ่งความสามารถของบัตรคนจนที่หลายคนอาจยังไม่รู้ คือ สามารถสมัครใช้งาน Internet Banking ได้ด้วย ผ่านบริการ KTB netbank ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งผู้สมัครจะต้องมีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทยด้วย โดยสามารถสมัคร KTB netbank ได้ทั้งที่สาขาธนาคารกรุงไทยโดยตรง หรือสมัครด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน หรือ ตู้ ATM

 

ขอบคุณ kapook