ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เบิกค่าเสียหายได้อย่างน้อย 3 กรณี โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด

   นับเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรรู้เป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ต่อกันในทุกๆ ปี เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองอย่างที่สุด เมื่อเจอเหตุการณ์ใดถึงจะได้เงินจาก พ.ร.บ.รถยนต์

ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เบิกค่าเสียหายได้อย่างน้อย 3 กรณี โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด

   

นับเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรรู้เป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ต่อกันในทุกๆ ปี เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองอย่างที่สุด เมื่อเจอเหตุการณ์ใดถึงจะได้เงินจาก พ.ร.บ.รถยนต์ และทราบหรือไม่ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถเบิกได้สูงสุดเท่าใด โดยไม่ต้องขึ้นศาลและประกันจะต้องจ่ายให้ภายใน 7 วัน นอกจากนี้ผู้ที่ต้องการเบิกต้องมีเอกสารทั้งหมด 6 อย่าง ตามข้อกำหนดเงื่อนไขได้แก่

1. สำเนากรมธรรม์ประกันภัย
2. สำเนาทะเบียนรถ
3. บันทึกประจำวันตำรวจ
4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
5. ใบเสร็จรับเงิน
6. หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ)

      นอกจากนี้จำนวนผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองได้แก่ผู้ขับขี่ 1 คน และผู้โดยสาร 4 คน ตามจำนวนที่นั่งรถ โดยจะคุ้มครองการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุ 100,000 บาท/คน และค่ารักษาพยาบาลอีก 50,000 บาท/คน ทั้งนี้่ยังมีค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ทำ พ.ร.บ. จะได้รับโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด อีก 3 ข้อได้แก่

1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
3. ถ้าหากเข้าข่ายเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และข้อ 2 จะต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

 

ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เบิกค่าเสียหายได้อย่างน้อย 3 กรณี โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด

ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เบิกค่าเสียหายได้อย่างน้อย 3 กรณี โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด

 

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับ
ความคุ้มครองของการประกันภัยตามกฎหมายที่ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับขณะนี้ กำหนดไว้ ไม่เกิน 50,000 บาท/คน ไม่เกิน 5,000,000 หรือ 10,000,000 บาท/ครั้ง แล้วแต่กรณี โดยอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
    ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีจำนวนเงินดังนี้

- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท 
- กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท 
- กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท

2. ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น

     เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ให้ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว โดยบริษัทรับประกันภัยที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย/ทายาทได้รับแล้ว เป็นดังนี้

- กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลรวมกับค่าสินไหมทดแทน ไม่เกิน 50,000 บาท 
- กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จำนวน 200,000 บาท ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่ ถ้ามีค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตให้นำมารวมด้วย และรวมแล้วเท่ากับ 200,000 บาท

    ในส่วนของคำแนะนำเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าฝ่ายใดจะผิดหรือจะถูก ไม่ต้องรอการพิสูจน์ ผู้ประสบภัยสามารถขอรับ ค่าเสียหายเบื้องต้นได้ จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย หรือจากบริษัทประกันภัย ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจะได้รับเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่ร้องขอ หลังจากนั้นเมื่อมีการพิสูจน์ความผิดเรียบร้อยแล้วบริษัทประกันภัยที่เป็นผู้รับประกันรถคันที่ผิดจะเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายส่วนที่เหลือแก่ผู้ประสบภัยตามจริง แต่ไม่เกินตามที่กฏหมายกำหนดข้างต้น ค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าความคุ้มครองตามพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นี้ ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องค่าเสียหายส่วนที่เกินนี้ ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

 

ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เบิกค่าเสียหายได้อย่างน้อย 3 กรณี โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด

 

         ด้านค่าเสียหายเบื้องต้น กฏหมายบัญญัติให้บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ของ พ.ร.บ. บุคคลที่ 3 จะต้องจ่ายแก่ผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ถึงความรับผิดซึ่งในขณะนี้กำหนดไว้ไม่เกิน 15,000 บาท อัตราค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะต้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัย หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยภายใน 180 วัน นับจากวันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น จำแนกดังนี้ 

ค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ หมายถึง ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่นค่ายา ค่าอาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน ค่าอวัยวะเทียม ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าห้อง ค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล รวมถึงค่าพาหนะนำผู้ประสบภัยไปโรงพยาบาล ทั้งนี้ไม่รวมค่าจ้างพยาบาลพิเศษและ ค่าบริการอื่นทำนองเดียวกัน ค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับการรักษาพยาบาลนี้ ผู้ประสบภัยจะได้รับตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท 

 

ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เบิกค่าเสียหายได้อย่างน้อย 3 กรณี โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด

 

ค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับค่าปลงศพ หมายถึง ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการ จัดการศพซึ่งได้รับจำนวน 15,000 บาท ต่อผู้ประสบภัย 1 ราย ค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีเสียชีวิตภายหลังเข้ารับการรักษา ค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอันเกิดจากรถ แต่ยังไม่เสียชีวิตทันที และเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลระยะหนึ่ง และเสียชีวิตภายหลัง กรณีเช่นนี้ ทายาทจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับค่าปลงศพอีก 15,000 บาท ซึ่งรวมทั้งสองรายการแล้วจะไม่เกิน 30,000 บาท ต่อผู้ประสบภัย 1 ราย

 

ขอบคุณเพจ สถานีตำรวจภูธรเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์