รู้ให้ลึก "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" อันตรายทุกคนรอบข้างรวมถึงลูกน้อย "ชมพู่ อารยา" ยังต้องเผชิญ

   โดยทั่วไปความรู้สึกภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postnatal depression) จะเกิดกับคุณแม่หลังคลอดบุตรในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังการคลอด นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจนกว่าลูกของคุณแม่มือใหม่จะถึงวัยเตาะแตะและมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะเช่นนี้มากขึ้นหากคุณหรือคนในครอบครัวของคุณมีประวัติซึมเศร้าหรือโรค ทางอารมณ์มาก่อน ความรู้สึกเช่นนี้จะมีผลกับบุคคลต่างๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มี อาการบางอย่างที่คุณสังเกตได้

รู้ให้ลึก "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" อันตรายทุกคนรอบข้างรวมถึงลูกน้อย "ชมพู่ อารยา" ยังต้องเผชิญ

 

   โดยทั่วไปความรู้สึกภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postnatal depression) จะเกิดกับคุณแม่หลังคลอดบุตรในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังการคลอด นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจนกว่าลูกของคุณแม่มือใหม่จะถึงวัยเตาะแตะและมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะเช่นนี้มากขึ้นหากคุณหรือคนในครอบครัวของคุณมีประวัติซึมเศร้าหรือโรคทางอารมณ์มาก่อน ความรู้สึกเช่นนี้จะมีผลกับบุคคลต่างๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มี อาการบางอย่างที่คุณสังเกตได้ เช่น

1. ตื่นตระหนกหรือหวั่นกลัวโดยเฉพาะเรื่องลูก เรื่องอนาคต อาจมีพฤติกรรมหวงลูกมากหรือไม่ให้คนอื่นแตะต้องลูก
2. รู้สึกกังวลอยู่ตลอดเวลาเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของตัวคุณ เองและคนรอบข้าง
3. ร้องไห้บ่อย โดยไม่มีสาเหตุชัดเจนหรือไม่มีเหตุการณ์กระตุ้น
4. อยากนอนอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่เคยรู้สึกว่าได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
5. หลับยากหรือมีปัญหาการนอน เบื่ออาหารหรือมีปัญหาการกิน
6. รู้สึกเหมือนกับว่าคุณต้องทำเป็น "ไม่กลัว" ต่อหน้าคนอื่นๆ
7. ไม่สามารถพูดถึงการคลอดลูกได้ หรือพูดเรื่องนี้ไม่หยุดเพราะรู้สึกว่าควบคุมไม่ได้
8. รู้สึกว่าตนเองเป็นแม่ที่ไม่ดี
9. รู้สึกหมดหวังตลอดเวลา
10. แยกตัว ปฏิเสธการเข้าสังคมหรือการพูดคุยตามปกติ
11. รู้สึกว่าตัวเองไม่สบาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ปวดศีรษะ วิงเวียน เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ และแน่นท้อง
12. คิดว่าคุณไม่ผูกพันกับลูกหรือไม่มีความรู้สึกใดๆ กับลูก
13. ไม่รับรู้เรื่องเวลา และไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างสองสามนาทีกับสองสามชั่วโมง

รู้ให้ลึก "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" อันตรายทุกคนรอบข้างรวมถึงลูกน้อย "ชมพู่ อารยา" ยังต้องเผชิญ

 

  ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือกรณีของนักแสดง - พิธีกร ชื่อดัง ชมพู่ อารยา คุณแม่ของสองแฝดแสนซนสายฟ้า-พายุ โดยภายนอกอาจจะเห็นว่าเธอนั้นร่าเริงมีความสุข แต่ใครจะรู้ว่าภายใต้รอยยิ้มของเธอนั้นแฝงไปด้วยภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอดที่เธอต้องเผชิญมันด้วยตัวเองโดยชมพู่ ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารฉบับหนึ่งว่าหลังจากที่เธอคลอด 2 แฝด สายฟ้า-พายุ แล้ว เธอมีอาการนอนร้องไห้เหมือนคนบ้า ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณของภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด โดยช่วงหนึ่งของการสัมภาษณ์เธอกล่าวว่า...

 

รู้ให้ลึก "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" อันตรายทุกคนรอบข้างรวมถึงลูกน้อย "ชมพู่ อารยา" ยังต้องเผชิญ

 

 "หมอเตือนเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดว่า ชมอาจต้องเผชิญ แต่ชมมั่นใจตัวเองไปหน่อยว่า ร่างกายฉันฟิต จิตใจแข็งแรง ไม่น่าเจอปัญหานี้ แต่สุดท้ายเจอจริงๆ บางวันชมร้องไห้เหมือนคนบ้า ทั้งโมโหและอะไรหลายอย่าง นอนน้ำตาไหลอยู่คนเดียว พร้อมตั้งคำถามว่า เราเป็นอะไรเนี่ย" จนเธอต้องค่อยๆ เรียนรู้ปรับพฤติกรรมเพื่อรักษาจนอาการเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ

รู้ให้ลึก "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" อันตรายทุกคนรอบข้างรวมถึงลูกน้อย "ชมพู่ อารยา" ยังต้องเผชิญ

 

         สำหรับภาวะซึมเศร้าหลังให้กำเนิด หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด เป็นโรคทางอารมณ์อย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับการคลอดบุตร ซึ่งอาจพบได้ทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิงอาการสำคัญเช่น มีอารมณ์เศร้าอย่างมาก รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง วิตกกังวล ร้องไห้บ่อย หงุดหงิด การนอนผิดปกติ (เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากผิดปกติ) การกินผิดปกติ (เช่น กินไม่ลง หรือกินไม่หยุด) เป็นต้นส่วนใหญ่มักพบที่เวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน หลังคลอด ภาวะนี้อาจส่งผลเสียต่อทารกได้

        สาเหตุที่แน่ชัดของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นผลของปัจจัยหลายด้านทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดบุตร การอดนอน เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้ได้แก่ การเคยเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรคนก่อน โรคอารมณ์สองขั้ว ประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว ความเครียดทางจิตใจ การมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด การขาดคนช่วยเหลือดูแล หรือการใช้สารเสพติด การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการ แม้สตรีหลังคลอดส่วนใหญ่จะมีช่วงเวลาของความเศร้าและความกังวลหลังคลอด แต่หากอาการเหล่านี้ยังคงเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์หรือเป็นรุนแรง จำเป็นจะต้องสงสัยว่าอาจมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดร่วมด้วย
 

     ในผู้คลอดที่มีปัจจัยเสี่ยง การมีผู้ช่วยเหลือด้านจิตใจอาจเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ การรักษาอาจใช้การทำจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยา รูปแบบการทำจิตบำบัดที่ได้ผลได้แก่ จิตบําบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (IPT) การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (psychodynamic therapy)

 

รู้ให้ลึก "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" อันตรายทุกคนรอบข้างรวมถึงลูกน้อย "ชมพู่ อารยา" ยังต้องเผชิญ

 

        ปัจจุบันหลักฐานส่วนใหญ่สนับสนุนว่าการใช้ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI จะได้ผลซึ่งภาวะซึมเศร้าหลังคลอดพบได้ในหญิงช่วงคลอดประมาณ 15% และยังพบในฝ่ายชายได้ราว 1-26% แล้วแต่การศึกษา โรคจิตหลังคลอดซึ่งเป็นภาวะทางจิตเวชที่พบได้ในช่วงคลอดเช่นกันแต่มีความรุนแรงกว่ามากจะพบได้ในหญิงหลังคลอด 0.1-0.2% ซึ่งภาวะนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการฆ่าทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งพบได้ในอัตรา 8 ใน 100,000 การเกิดในสหรัฐอเมริกา

     โดยคุณแม่มือใหม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วย 7 วิธีง่ายๆ ดังนี้

1.พักผ่อนเยอะๆ พยายามนอนพร้อมกับลูก เวลาลูกตื่นคุณจะได้ไม่เหนื่อยและหงุดหงิด หรือ หากมีคนคอยช่วยดูแลลูกก็พยายามพักผ่อน ดื่มนมอุ่นๆ ฟังเพลงผ่อนคลายและนอนหลับ

2. ทานอาหารมีประโยชน์ ร่างกายของคุณต้องการอาหารที่มีประโยชน์เพื่อรองรับการปรับตัวของร่างกายในการให้นมลูก พยายามอย่าปล่อยให้ตัวเองหิวและขาดอาหารนานนัก เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในร่างกายตก การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เหนื่อย หรือโทรม

3. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำ แต่จริงๆ แล้วการออกกำลังกายช่วยทำให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงสดใส ค่อยๆ ออกกำลังกายเบาๆ อย่างเดินเล่นกับลูกในสวนเล่นโยคะ หรือพิลาทิส เพื่อผ่อนคลาย คุณอาจจะมองหาคลาสออกกำลังกายสำหรับแม่และเด็กที่สามารถให้คุณออกกำลังกายได้พร้อมกับดูแลลูกอยู่ใกล้ๆ ในกรณีที่คุณไม่สามารถหาคนช่วยดูแลลูกได้

4. ลองออกไปพบปะกับคุณแม่คนอื่นดู สำหรับเมืองไทยยังไม่มีการรวมกลุ่มของแม่และลูกที่เกิดในช่วงเดียวกันเหมือนต่างประเทศ แต่คุณสามารถตั้งกลุ่มขึ้นมาเองได้จากการสังเกตและการผูกมิตรกับแม่ที่คลอดในช่วงเวลาใกล้เคียงกับคุณที่โรงพยาบาลเพื่อถามไถ่แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน คุณจะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนอยู่ตัวคนเดียว

5. คอยดูแลและเอาใจใส่ตัวเอง คุณควรดูแลตัวเองให้ดีเพื่อจะได้ดูแลลูกได้อย่างเต็มที่ งานบางอย่างไม่จำเป็นต้องทำก็ปล่อยไปบ้าง ปัญหาใหญ่บางอย่างยังหาทางแก้ไม่ได้ก็พักไว้ก่อน อย่าทำให้ตัวเองเครียดเกินไป คุณควรประเมินว่าพอมีอะไรบ้างที่คุณทำได้
อะไรที่ทำไม่ได้ ที่สำคัญอย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะคะ

6. คนรอบข้างสามารถช่วยได้อย่างไรบ้าง โรคซึมเศร้าหลังคลอดเป็นโรคที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ดังนั้นคุณควรให้ข้อมูลเรื่องโรคซึมเศร้าหลังคลอดแก่คนรอบข้าง และเล่าให้ฟังว่าตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง เมื่อคนรอบข้างคุณเข้าใจเขาก็พร้อมที่จะช่วยเหลือคุณ เช่น การดูแลลูกเพื่อให้คุณมีเวลาพักผ่อน และใช้เวลาร่วมกับสามี สามีอาจช่วยแบ่งเบาภาระในบ้าน เช่น ทำความสะอาด ดูแลลูกให้คุณได้พักผ่อน การช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ สามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายได้มากทีเดียว

7. คุณควรดูแลตัวเองตั้งแต่ตั้งครรภ์ พยายามลดระดับความเครียดลง และยินดีให้คนรอบข้างช่วยแบ่งเบาภาระ เมื่อคุณรู้สึกว่ามีคนรอบข้างคอยดูแลและให้ความช่วยเหลือ เวลาที่คุณมีลูกคุณก็จะมั่นใจว่ามีคนรอบข้างที่คอยอยู่เคียงข้างคุณ แต่ถ้าหากคุณรู้สึกวิตกกังวล หรือรู้สึกว่าตัวเองกำลังแย่ก็ควรปรึกษาคุณหมอนะคะ

        ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ถือเป็นภาวะที่พบได้ในคุณแม่มือใหม่หลายคน ที่ต้องทำและรับมือจริงๆ คือการทำความรู้จักกับมันอย่างเข้าใจ ทั้งคุณสามียังเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่คลายกังวล เมื่อต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเช่นนี้

 

ขอขอบคุณ สสส.  ,  โรคซึมเศร้าหลังคลอด