ย้อนเส้นทาง เมิ่ง เวินโจว "ทายาทหัวเหว่ย" จากพนักงานออกบูธก่อนขึ้นสู่ตำแหน่ง CFO

สืบเนื่องจากกรณีการจับกุมตัว เมิ่ง เวินโจว (Meng Wanzhou) ผู้บริหาร ฝ่ายการเงิน บริษัทหัวเหว่ย เทคโนโลยีของจีน ในประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา ข้อหาการละเมิดการคว่ำบาตรอิหร่าน ฐานแอบทำธุรกิจค้าขายร่วมด้วย หากผิวเผินอาจมองว่าเป็นกรณีการค้าโดยทั่วไป ทว่าเบื้องลึกกลับไม่เป็นเช่นนั้น

ย้อนเส้นทาง เมิ่ง เวินโจว "ทายาทหัวเหว่ย" จากพนักงานออกบูธก่อนขึ้นสู่ตำแหน่ง CFO

 

สืบเนื่องจากกรณีการจับกุมตัว เมิ่ง เวินโจว (Meng Wanzhou) ผู้บริหาร ฝ่ายการเงิน บริษัทหัวเหว่ย เทคโนโลยีของจีน ในประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา ข้อหาการละเมิดการคว่ำบาตรอิหร่าน ฐานแอบทำธุรกิจค้าขายร่วมด้วย หากผิวเผินอาจมองว่าเป็นกรณีการค้าโดยทั่วไป ทว่าเบื้องลึกกลับไม่เป็นเช่นนั้น 

เมื่อพบว่าก่อนหน้านี้ทางสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณถึงความหวาดระแวงและอาการวิตกจริตที่มีต่อค่ายเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ มาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งสะท้อนโดยนัยว่าเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำของหัวเหว่ยที่มีบทบาทเป็นอย่างสูงอาจครอบงำ สหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรจนกระทบต่อความมั่นคงของประเทศในภายหน้า (อ่านต่อเพิ่มเติม : ถอดรหัสเหตุจับกุมผู้บริหาร "หัวเหว่ย" ร้าวฉานสัมพันธ์ สหรัฐ-จีน)


อย่างไรก็ตามความคืบหน้าคดีระหว่างประเทศนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนทางกฏหมาย เมื่อ เมิ่ง เวินโจว ได้รับการประกันตัวด้วยทรัพย์สินมูลค่า 7 ล้าน 5 แสนดอลลาร์ โดยให้เหตุผลว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ มีอาการความดันโลหิตสูง และตนเป็นผู้บริสุทธิ์ พร้อมที่จะสู้คดีในสหรัฐฯ หากถูกส่งตัวไป ขณะนี้ เมิ่ง เวินโจว ถูกยึดหนังสือดินทาง และจะต้องใส่เครื่องรัดข้อเท้าติดจีพีเอส เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ทราบหากเธอหนีออกจากนครเเวนคูเวอร์ประเทศเเคนาดา นอกจากนี้เธอถูกกักบริเวณให้อยู่ที่บ้านพักของเธอในนครเเวนคูเวอร์ ช่วงเวลา 5 ทุ่มถึง 6 โมงเช้า แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ของศาลแคนาดานำมาซึ่งการเผชิญหน้าทางการฑูตที่รุนแรงอย่างเลี่ยงไม่ได้

ย้อนเส้นทาง เมิ่ง เวินโจว "ทายาทหัวเหว่ย" จากพนักงานออกบูธก่อนขึ้นสู่ตำแหน่ง CFO

 

ภูมิหลังของเธอนั้น ถือว่าอยู่ในตระกูลผู้มีอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะพ่อของเธอคือ เหริน เจิ้งเฟย (Ren Zengfei) ที่นอกจากจะเป็นผู้ก่อตัวหัวหว่ยแล้ว ในอดีตยังเคยเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติคอมมิวนิสต์อีกด้วย แต่ในเวลาต่อมา เหริน เจิ้งเฟย ได้หย่าร้างกับแม่ของ เมิ่ง เวินโจว เธอจึงเลือกใช้นามสกุลของแม่

ย้อนกลับไปปี 2536 เธอได้เริ่มเข้าทำงานในหัวเหว่ย เพราะก่อนหน้านี้เธอทำงานในธนาคารด้านการก่อสร้างของประเทศจีน (China Construction Bank) หลังจากเข้าสู่หัวเหว่ยเธอรับผิดชอบงานหลายตำแหน่ง แต่โดยหลักจะเป็นด้านการเงิน ตั้งแต่งานไฟแนนซ์ไปจนถึงการบริหารจัดการสินทรัพย์ และบัญชี และล่าสุดก่อนโดนจับกุมตัวกับตำแหน่ง CFO (Chief Financial Officer) คือ ผู้อำนวยการสายการเงิน ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดด้านการบัญชีและการเงินของบริษัทหรือองค์กร
 

ครั้งหนึ่ง เมิ่ง เวินโจว เคยให้สัมภาษณ์ว่าก่อนที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงนั้น เมื่อครั้งที่หัวเหว่ยยังเป็นบริษัทขนาดเล็ก เธอต้องทำหน้าที่ตั้งแต่ฝ่ายขายไปจนถึงเลขานุการ พร้อมออกบูธด้วยเช่นกัน กระทั่งปี 2540 บทบาทของเธอถูกจับตามองยิ่งขึ้นเมื่อเธอสำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านบัญชีจาก มหาวิทยาลัย Huazhong เพราะเธอก้าวหน้าในการทำงานอย่างก้าวกระโดดจนมีคาดการณ์ว่าในอนาคตเธออาจก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของหัวเหว่ยอีกด้วย

 

ย้อนเส้นทาง เมิ่ง เวินโจว "ทายาทหัวเหว่ย" จากพนักงานออกบูธก่อนขึ้นสู่ตำแหน่ง CFO

อีกความตอนหนึ่งที่น่าสนใจ ที่ตัวเธอเคยกล่าวไว้ว่า หัวเหว่ยเป็นบริษัทที่โชคดีเพราะได้ครอบครองหัวใจสำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นั่นก็คือ "เทคโนโลยี" เอาไว้ได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันหัวเหว่ยเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนใหญ่อันดับ 2 ของโลก มีรายได้รวมปีหนึ่งกว่า 90 พันล้านดอลลาร์ แต่ก็ยังพบปัญหาบางประการคือจะวางกลยุทธ์อย่างไรเพื่อจะยกระดับจากตลาดระดับกลาง ขึ้นสู่ตลาดระดับสูงได้ เพราะในอนาคตอาจทำให้หัวเหว่ยได้รับการยอมรับในด้านแบรนด์ เทียบเท่าแอปเปิ้ล หรือโซนี่

ตลอดระยะเวลาการเติบโตของหัวเหว่ยนั้น มาจากการพัฒนาในองค์กรของตัวเองมากกว่าที่จะเข้าซื้อกิจการจากบริษัทอื่น ซึ่งเรียกว่าการวิศวกรรมผันกลับ (reverse engineering) คือ นำเอาเทคโนโลยีต่างประเทศ มาทำการวิเคราะห์ และก็อาศัยการค้นคว้าวิจัยด้วยบุคลากรของตน มาผลิตชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อนำมาใช้แทนของเดิม 

 

ย้อนเส้นทาง เมิ่ง เวินโจว "ทายาทหัวเหว่ย" จากพนักงานออกบูธก่อนขึ้นสู่ตำแหน่ง CFO

ทั้งนี้เธอยังมีโรคประจำตัว คือโรคความดันโลหิตสูงหรือ Hypertension เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ใหญ่ เฉลี่ยแล้วตกประมาณ 25-30% ของประชากรโลกที่อยู่ในกลุ่มผู้ใหญ่ทั้งหมด ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยมีความดันอยู่ในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงออกมาในทันที แต่มักจะมีอาการจากผลข้างเคียงจากการเป็นโรคหัวใจ และจากการเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง หรือสำหรับบางคนก็เกิดจากอาการของโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง อย่างเช่น อาการของผู้ป่วยเบาหวาน หรือจากการเป็นโรคอ้วน เป็นต้น

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงนั้นมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน แต่โดยหลักคือ

1. เกิดจากพันธุกรรม 
2. เกิดจากโรคอ้วนหรือร่างกายมีน้ำหนักที่เกินตัว 
3. เกิดจากการมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอ
4. เกิดจากการเป็นโรคไตเรื้อรัง
5. บริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ
6. ไม่ออกกำลังกาย