สละเวลา 2 นาที เพื่ออนาคตที่ดีของลูก "คุณค่าของใบปริญญาที่ไม่เท่ากัน"

สละเวลา 2 นาที เพื่ออนาคตที่ดีของลูก "คุณค่าของใบปริญญาที่ไม่เท่ากัน"

เชื่อว่าไม่มีพ่อแม่คนใดไม่รักลูก ตั้งแต่แรกตั้งครรภ์ ฝากท้องอย่างดี คลอดอย่างดี หมออย่างดี และมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยเลยที่หวังให้ลูกมีอนาคตที่ดี แน่นอนว่าพ่อแม่หลายคนมักมองว่า หากลูกมีการศึกษาที่ดี อยู่ในดรงเรียนดีๆ เรียนกวดวิชาเยอะๆก็จะทำให้ลูกโตไปมีอนาคตที่ดีได้ จนกลายเป็นการ "ตีค่าการศึกษาให้ลูก" ในระดับที่สูงจนเกินไป

 

สละเวลา 2 นาที เพื่ออนาคตที่ดีของลูก "คุณค่าของใบปริญญาที่ไม่เท่ากัน"

 

– เด็ก 2 ขวบเพิ่งเดินแข็ง
เราก็ส่งเข้าเนอสเซอรี่ ปีละ 8 หมื่น กลัวลูกจะพัฒนาการช้าไม่ทันเพื่อน … กลายเป็นส่งลูกอายุน้อยเกินไปติดหวัดที่โรงเรียน เพราะเด็กยังไม่มีภูมิต้านทาน

 

– อนุบาลยันประถม

 

สละเวลา 2 นาที เพื่ออนาคตที่ดีของลูก "คุณค่าของใบปริญญาที่ไม่เท่ากัน"


เราจัดเต็ม ทั้งใน นอกหลักสูตร เด็กอนุบาล3 ต้องกวดวิชาสอบเข้าป.1 และเสริมด้วยวาดภาพ จินตคณิต ว่ายน้ำ ไวโอลิน อังกฤษ จีน ไทย เทควันโด้ อูคูเลเล่ ฯลฯ กลัวลูกจะเก่งไม่รอบด้าน กลัวจะน้อยหน้าเด็กข้างบ้าน ลูกเลิกเรียนเดินแทบไม่ตรงทาง (ผมว่า เรียนได้ แต่อย่าเยอะจัด จนเด็กร้องขอกลับบ้าน)

 

– มัธยม อมเปรี้ยวอมหวาน
คราวนี้หนักเลย เรียนพิเศษตอนเย็นที่สยาม เสาร์อาทิตย์ จัดเต็มวัน พ่อแม่ยอมทรมานไปนอนบนทางเดินตึกอ.อุ๊ ตึกสยามกิตติ์ เพื่อส่งข้าวส่งน้ำลูกรัก ปิดเทอมไม่มีพัก ส่งลูกเรียนซัมเมอร์ยุโรป ออสเตรลีย บางทีเด็กไม่อยากไป พ่อแม่นี่แหละดันก้นให้ไป
 

บางบ้านหมดเงินกับลูกปีละ 6-7 แสน ยังไม่ทันเข้ามหาลัยกดไปเป็นสิบล้าน!!!

 

พอลูกเรียนจบ บางคนไปคาดหวังว่า ลูกฉันเลี้ยงมาอย่างพิเศษใส่ไข่ เพิ่มข้าว

 

ดังนั้นจะจ้างลูกฉัน มันต้องแพงกว่าสิ …นี่ส่งเรียนไปสิบกว่าล้านนะ

 

“ปัญหาคือ คุณค่าของใบปริญญา … พ่อแม่ กับ นายจ้าง มองไม่เท่ากัน”

 

พ่อแม่ชาวไทย ตีค่าใบปริญญาลูกรักสูงมาก เพราะเราอยู่ในกระบวนการจ่ายเงินจริง มาอย่างยากลำบาก ยาวนาน 20 ปี นายจ้าง กลับตีค่าไม่สูงเท่า

 

สละเวลา 2 นาที เพื่ออนาคตที่ดีของลูก "คุณค่าของใบปริญญาที่ไม่เท่ากัน"

 

คำถามใหญ่ของเขามี 3 คำถาม คือ
1. ลูกคุณทำอะไรเป็นบ้าง
2. ลูกคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาบ้าง และ
3. ลูกคุณจะมาสร้างความสำเร็จอะไรให้ที่นี่

 

อย่าลืมว่า ยุคนี้คือ ตลาดแรงงานที่เปิดกว้าง
- เด็กอินเดีย ปากี พร้อมจะบินมาทำงานที่กรุงเทพ เขียนโค้ด เขียนโปรแกรม อังกฤษเป็นไฟ แถมขยันขันแข็ง
- เด็กฟิลิปปินส์ อินโด มาเลย์ พร้อมจะบินมาทำงานที่กรุงเทพ พวกเขาภาษาดีมาก ลอจิกดี คุมโปรเจคต์ พรีเซนต์ดีไม่แพ้ฝรั่ง
- เด็กจีน …ไม่ต้องพูดถึง ความขยันอ่าน ขยันขายของ ขยันพบลูกค้า ใจสู้ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ โดนด่าไม่ยุบ พวกนี้คือยอดเซลล์แมน

 

ปริญญา มหาลัย คณะ … มันเริ่มจะเบลอๆ ไม่ศักดิ์สิทธิ์ เหมือนรุ่นพ่อแม่เมื่อเด็กไทยต้องสอบสัมภาษณ์กับ Head Hunter สิงคโปร์ โดยมีนายจ้างเป็นฝรั่ง จีน อินเดีย แน่นอนว่าย่อมมีเด็กไทยบางคน ได้ไปต่อเจริญรุ่งเรืองโกอินเตอร์…แต่ก็มีจำนวนมากที่แป้กตั้งแต่อายุยังน้อย

> เมื่ออาชีพการงานเดิมๆกำลังหดตัว..จาก Disruptive Technology
> เมื่อองค์กรกำลังปรับตัวให้ลีน(Lean)บาง ให้คล่องตัวมีประสิทธิภาพด้วยดิจิตอล …Digital Transformation
> เมื่องานดีเงินดี กำลังเต็มไปด้วยการแข่งขันที่สูงลิ่ว ด้วยตลาดเคลื่อนย้ายเสรีแรงงานเสรี… Globalizaion

 

พ่อแม่จะใช้ชุดความคิดเดิม แบบสมัยรุ่นตัวเองเพิ่งเรียนจบ ก็คงไม่ได้

 

ถ้าพ่อแม่ชาวไทย(ส่วนหนึ่ง)ที่ลงทุนกับการศึกษาลูกด้วยเงินจำนวนมากๆ และแนวโน้มมีแต่จะรุนแรงขึ้น

 

สละเวลา 2 นาที เพื่ออนาคตที่ดีของลูก "คุณค่าของใบปริญญาที่ไม่เท่ากัน"

 

เราจะลองประหยัดเงินบางส่วน แล้วใช้เงินก้อนเดียวกันนี้ เตรียมให้ลูกไว้ เริ่มทำธุรกิจ ได้ใช้ความพยายามลองผิดลองถูก ริเริ่ม สร้างสรร เป็นผู้ประกอบการ ในยุคสมัยที่อาชีพการงานไม่เป็นใจในอีก 10-15 ปีข้างหน้า

 

เราจะลอง เผื่อเวลา จากการศึกษาที่จัดเต็ม(เกิน)ไป ให้เขาได้ลองเรียนรู้ ริเริ่ม ลองเขียนหนังสือ ลองเขียนโปรแกรมสร้างแอพ ลอง design ลองรับงานแปล ลองขายของ ลองลงทุน ฯลฯ

 

ลองหาเงินด้วยตัวเองให้ได้ ก่อนที่เขาจะจบมหาลัย อันนี้ ช่วยเขาได้ ไม่แพ้การศึกษาในระบบที่แสนแพง พ่อแม่ได้ภูมิใจ ลูกได้ภูมิต้านทานและความแกร่ง

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก นิ้วโป้ง Fundamental VI