สนช. ไฟเขียว เพิ่มเงินชดเชยลูกจ้างเอกชน หากถูกเลิกจ้าง บวกเพิ่มวันลาคลอด

   ต้องบอกว่าเป็นข่าวดีที่ทำให้คนทำงานใจชื้นขึ้นมาในระดับหนึ่งหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันจนทำให้บริษัทต้องเลิกจ้าง หลังก่อนหน้านี้รัฐบาลเร่งออกกฎหมายดูแลลูกจ้างหลังเกษียณให้ผู้ที่ทำงานได้ยิ้มออกพร้อมทั้งกำหนดรับเงินชดเชยตามอายุงานหลังเกษียณ นอกจากนี้รัฐบาล

   ต้องบอกว่าเป็นข่าวดีที่ทำให้คนทำงานใจชื้นขึ้นมาในระดับหนึ่งหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันจนทำให้บริษัทต้องเลิกจ้าง หลังก่อนหน้านี้รัฐบาลเร่งออกกฎหมายดูแลลูกจ้างหลังเกษียณให้ผู้ที่ทำงานได้ยิ้มออกพร้อมทั้งกำหนดรับเงินชดเชยตามอายุงานหลังเกษียณ นอกจากนี้รัฐบาล ยังมีการเตรียมขยายอัตราค่าชดเชย หากลูกจ้างผู้นั้นทำงานครบ 20 ปี ให้รับค่าชดเชยทันที 400 วัน โดยขณะนี้ทางสำนักประกันสังคมได้เร่งปรับสูตรคำนวณบำนาญชราภาพใหม่ จากอายุ 55 เป็น 60 ปี พร้อมการันตีบำนาญอย่างน้อย 5 ปี หากเกิดเรื่องไม่คาดฝันก่อนจะยกผลประโยชน์ตกสู่ทายาท 

 

สนช. ไฟเขียว เพิ่มเงินชดเชยลูกจ้างเอกชน หากถูกเลิกจ้าง บวกเพิ่มวันลาคลอด


        นอกจากนี้ในส่วนของลูกจ้างที่โดนนายจ้างบังคับให้ออกงานก่อนอายุ 60 ปี สามารถรับบำนาญอย่างน้อย 10 - 30 เท่า ของบำนาญ กระทั่งอายุครบเกณฑ์ ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งหาทางออกให้ลูกจ้างกลุ่มนี้เพื่อให้ชีวิตช่วงบั้นปลายนั้นดีขึ้นและมีความมั่งคงมากกว่าเดิม โดยมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าลูกจ้างและพนักงานบริษัทซึ่งไม่ได้รับบำนาญเหมือนข้าราชการจะมีชีวิตที่ดีขึ้นในช่วงวัยชราโดยกระทรวงแรงงานได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้เกษียณอายุและผู้ที่ทำงานมานานแต่ถูกเลิกจ้าง สิทธิประโยชน์ซึ่งลูกจ้างทุกบริษัทที่เกษียณอายุจะได้รับเพิ่มขึ้นนั้นจะมาจาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ

ส่วนที่ 1 ลูกจ้างต้องได้รับเงินจากนายจ้าง ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ส่วนที่ 2 ส่วนได้รับจากกองทุนประกันสังคมที่ลูกจ้างแต่ละบริษัทได้ส่งเงินเข้ากองทุนไว้ ซึ่งเรื่องนี้ทางสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการปฏิรูประบบบำนาญชราภาพให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

     โดยล่าสุดในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติ 179 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ให้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ผ่านการพิจารณาในวาระ 2 และ 3 เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว โดยสาระสำคัญคือ การปรับเพิ่มอัตราค่าชดเชยให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปได้ค่าชดเชยอัตราใหม่เป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน โดยเป็นการปรับเพิ่มเติมสำหรับคนที่ทำงานมาครบ 20 ปี

 

สนช. ไฟเขียว เพิ่มเงินชดเชยลูกจ้างเอกชน หากถูกเลิกจ้าง บวกเพิ่มวันลาคลอด

 

      ด้านกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีแนวทางในการเพิ่มเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกสัญญาจ้างจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแรงงานเพื่อเพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างให้เป็นธรรมมากยิ่งขึ้นเดิมอัตราค่าชดเชยกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดนั้น กำหนดอยู่ 5 อัตรา ดังต่อไปนี้

 อัตราที่ 1 ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 
 อัตราที่ 2 ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน 
 อัตราที่ 3 ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 
 อัตราที่ 4 ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน 
 อัตราที่ 5 ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
นอกจากนี้กฎหมายฉบับใหม่ที่จะเพิ่มเข้าไปคือ  อัตราที่ 6 หากลูกจ้างทำงานต่อเนื่องครบ 20 ปี จะได้รับเงินค่าชดเชย 400 วัน 

 

สนช. ไฟเขียว เพิ่มเงินชดเชยลูกจ้างเอกชน หากถูกเลิกจ้าง บวกเพิ่มวันลาคลอด


   นอกจากนี้กฎหมายใหม่ ยังเพิ่มสิทธิอื่นๆ เช่นสิทธิลาคลอด กำหนดให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา 45 วัน และอีก 45 วัน ไปรับจากกองทุนประกันสังคม สำหรับ 8 วันที่เพิ่มขึ้นมา ในกรณีที่ลูกจ้างลาครบ 98 วัน นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลา หรือไม่ก็แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกัน นอกจากนี้วันลาเพื่อคลอดดังกล่าว ยังรวมวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนจะคลอดด้วย ซึ่งข้อนี้ต้องมีการเขียนบอกให้ชัดเจนเพื่อให้ทั้งตัวนายจ้างและลูกจ้างเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย 

โดยปัญหาที่ผ่านมาพบว่าการลาเพื่อคลอดบุตร บางฝ่ายตีความว่าต้องคลอดก่อนจึงจะมีสิทธิลา หรือ ตีความว่า ไม่รวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอด จึงมีความเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งหากวันลาคลอด 98 วัน ไปตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักร้อน หรือพักผ่อนประจำปี ก็ให้นับรวมวันหยุดดังกล่าวในระหว่างลาคลอด ด้วย 

สนช. ไฟเขียว เพิ่มเงินชดเชยลูกจ้างเอกชน หากถูกเลิกจ้าง บวกเพิ่มวันลาคลอด