วิกฤตแห่ง "เมืองน้ำหอม" เมื่อ "ปัจเจกนิยม" กลืนกิน ระบอบเก่าจักถูกฟื้นคืน ฤา สิ้นแล้วซึ่งสำนึกของประชาธิปไตย?

เมื่ออารยะถดถอย กลียุคเข้าคืบคลาน กลิ่นน้ำหอมรัญจวนแห่งดินแดนศิวิไลซ์ ก็ถูกแทนที่ด้วยสาบคาวเลือด พร้อมกับสัญชาตญาณของปัจเจกถูกปลุกเร้า อำนาจรัฐถูกท้าทาย วิถีแห่งประชาธิปไตยเริ่มสั่นคลอน ผลบั้นปลายจะเป็นอย่างไร...ใครเล่ารู้ได้

เมื่ออารยะถดถอย กลียุคเข้าคืบคลาน กลิ่นน้ำหอมรัญจวนแห่งดินแดนศิวิไลซ์ ก็ถูกแทนที่ด้วยสาบคาวเลือด พร้อมกับสัญชาตญาณของปัจเจกถูกปลุกเร้า อำนาจรัฐถูกท้าทาย วิถีแห่งประชาธิปไตยเริ่มสั่นคลอน ผลบั้นปลายจะเป็นอย่างไร...ใครเล่ารู้ได้

 

วิกฤตแห่ง "เมืองน้ำหอม" เมื่อ "ปัจเจกนิยม" กลืนกิน ระบอบเก่าจักถูกฟื้นคืน ฤา สิ้นแล้วซึ่งสำนึกของประชาธิปไตย?

 

ล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบเดือน กับเหตุจลาจลในกรุงปารีสที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะปิดม่านลงในเร็ววัน นับเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ที่สถานการณ์รุนแรงในระดับที่ทางการฝรั่งเศสจำต้องสั่งนำรถหุ้มเกราะมาระงับเหตุ แม้นว่าจะค้านกับสายตาประชาคมโลก เนื่องด้วยขัดกับหลักการแก้ปัญหาแบบประนีประนอมอย่างสิ้นเชิง 

ในเบื้องแรกจากสภาพการณ์ที่ปรากฏทำให้รับรู้โดยง่ายว่ามาจากประเด็นความไม่พอใจเรื่องการขึ้นภาษีเชื้อเพลิง ที่ทางประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ใช้เป็นตัวชูโรงนโยบาย เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงหาได้เป็นการขึ้นภาษีโดยเปล่า หากแต่หมุดหมายหลักเพื่อเป็นการยกระดับการใช้พลังงานสะอาดแต่มีราคาแพงกว่า ให้เป็นไปดั่งสัจจะวาจาที่มาครงได้ลั่นไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งหาเสียง อันจะนำไปสู่การแก้ไขและฟื้นฟูวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกในระยะยาว

 

วิกฤตแห่ง "เมืองน้ำหอม" เมื่อ "ปัจเจกนิยม" กลืนกิน ระบอบเก่าจักถูกฟื้นคืน ฤา สิ้นแล้วซึ่งสำนึกของประชาธิปไตย?

หากทว่าแลดูเหมือนหนทางจะมิได้ราบรื่น หากมีอันต้องสะดุดลงเมื่อ "การขึ้นภาษี" ได้ส่งผลสะท้อนกลับยังเรื่องปากท้องของประชาชนอย่างเลี่ยงมิได้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่ถูกเชิดชูเป็นต้นแบบของประชาธิปไตยตะวันตกอย่างฝรั่งเศส เมื่อมวลชนเรือนแสนออกประท้วงประหนึ่งคลื่นมนุษย์ไหลบ่าท่วมท้นถนนณ็องเซลิเซ่ และส่อเค้าทวีความรุนแรงมากขึ้นจนดูกลายว่าจะเป็นวิกฤตการณ์การเมือง

เพราะในขณะที่ทางการแสดงจุดยืนชัดเจนโดยการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสลายการชุมนุม แต่ประชาชนก็ไม่ยอมลดราวาศอก จนเกิดการนองเลือดสุ่มเสี่ยงจะบานปลายมากยิ่งขึ้นท้ายที่สุดฝ่ายที่จำต้องยอมถอยคือรัฐบาลมาครงยินยอมประกาศระงับการขึ้นภาษีน้ำมันไว้ชั่วคราว 

 

วิกฤตแห่ง "เมืองน้ำหอม" เมื่อ "ปัจเจกนิยม" กลืนกิน ระบอบเก่าจักถูกฟื้นคืน ฤา สิ้นแล้วซึ่งสำนึกของประชาธิปไตย?

 

ดูเหมือนว่าการตัดสินใจของรัฐบาลจะช้าเกินกว่าจะทันการ เมื่อปรากฏว่าการประท้วงมิได้จำกัดประเด็นอยู่เพียงแค่ "การขึ้นภาษีเชื้อเพลิง" อีกต่อไป เพราะมีการยกอ้างเหตุผลนานัปประการมาสนับสนุนการชุมนุม โดยเฉพาะการที่รัฐบาลส่งเสริมภาคเอกชน จนคล้ายว่าเป็นการกดขี่ผู้ยากไร้ ส่งเสริมคนมั่งมี ทำให้เป้าประสงค์ของมวลชนขณะนี้คือการ "ล้มรัฐบาล" ผนวกกับการผสมปนเปด้านทรรศนะในกลุ่มผู้ชุมนุม นอกเหนือจากกลุ่มซ้ายจัดที่ไม่พอใจในตัวมาครงโดยตรง ยังมีกลุ่มนิยมความรุนแรงที่อาศัยจังหวะสร้างสถานการณ์ให้ย่ำแย่มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ้งกลับเป็นการสะท้อนอย่างประจักษ์ว่า สำนึกของชนชาวฝรั่งเศส กำลังสวนทางกับวิถีตามครรลองของการปกครองประเทศโลกที่หนึ่ง จาก "เสรีนิยม" ในอุดมคติ ได้ถูกดูดเข้าสู่วังวนอันเสื่อมทรามของ "ปัจเจกชนนิยม" ที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว ไปเสียแล้ว

 

วิกฤตแห่ง "เมืองน้ำหอม" เมื่อ "ปัจเจกนิยม" กลืนกิน ระบอบเก่าจักถูกฟื้นคืน ฤา สิ้นแล้วซึ่งสำนึกของประชาธิปไตย?

เพราะความมุ่งหมายของมาครง ก็ยืนยันชัดเจนว่า การขึ้นภาษีน้ำมันในครั้งนี้ เป็นไปเพียงเพื่อต้องการปกป้องสภาวะแวดล้อมจากการใช้ และเผาไหม้น้ำมัน เพราะประเด็นสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็น "วาระแห่งมวลมนุษยชาติ" ไปแล้ว แต่ปัจเจกชนนิยมฝรั่งเศส กลับยังย่ำอยู่กับที่ด้วยการถือมั่นเอาประโยชน์ส่วนตนเป็นสรณะ

และถึงแม้ว่า "ความขัดแย้ง" จะเป็นส่วนหนึ่งของ "ประชาธิปไตย" แต่ "ม็อบเสื้อกั้กเหลือง" ก็มิได้แสดงออกถึงแก้ปัญหาแบบ "สันติอหิงสา" หรือคงไว้ซึ่งความเป็น "อารยะ" แม้แต่น้อย

อีกหนึ่งประการสำคัญที่สามารถบ่งชี้ชัดว่า มิอาจกล่าวอย่างตีขลุมว่าแนวคิดชาวฝรั่งเศสยึดติดและผูกขาดกับประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี ได้อีกต่อไป เมื่อพบว่ามีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ในกลุ่มผู้ชุมนุมมากขึ้น นำไปสู่การเรียกร้องฟื้นคืนระบบกษัตริย์แต่เดิม มาแทนที่ระบบการปกครองที่ถูกอุปโลกน์ถือมั่นว่าเป็นตัวแทนของความศิวิไลซ์มายาวนาน แต่ทางสถาบันฯก็ยังคงสงวนท่าที มีเพียงการการเคลื่อนไหวผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย แสดงออกถึงความปรารถนาดีให้ทุกฝ่ายคลายความตึงเครียดและใช้เหตุผลกันให้มากขึ้น

 

วิกฤตแห่ง "เมืองน้ำหอม" เมื่อ "ปัจเจกนิยม" กลืนกิน ระบอบเก่าจักถูกฟื้นคืน ฤา สิ้นแล้วซึ่งสำนึกของประชาธิปไตย?

หากถามถึงความเป็นไปได้ในการสถาปนาระบบเก่า จากข้อเท็จจริงจะพบว่ามีอุปสรรคตรงที่ "ประวัติศาสตร์ชาติฝรั่งเศส" มิได้ถูกบอกเล่าหรือนำมาอภิปรายโดยให้สถาบันฯเป็นแกนกลางหลัก จึงมีสถานภาพเป็น "สัญลักษณ์" ทั้งยังพยายามลดทอนบทบาทและความสำคัญไปตามกาลเวลา ฝรั่งเศสจึงขาดพลังของ "ราชาชาตินิยม" ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการปลุกระบบเก่าให้ฟื้นคืนมาอีกครั้ง 

อันจะเห็นได้ว่าทั้งรูปแบบ "จักรวรรดิ" หรือ "ราชอาณาจักร" จะเป็น "จักรพรรดิ" หรือ "กษัตริย์" หากขาดพลังดังกล่าวก็มิอาจเป็นไปได้โดยสะดวยดายนัก

เมื่อเสถียรภาพของประชาธิปไตยที่มีอายุอานามนานกว่า 230 ปีกำลังสั่นคลอน รัฐบาลฝรั่งเศสจะสามารถยืดหยัดทนแรงเสียดทานต่อพลังมวลชนได้อีกกี่ชั่วโมงยามนั้น มิอาจคาดเดา แต่สำคัญที่ว่าขออย่าให้ประตูแห่ง "อาชญากรรมรัฐ" อันเป็นหนทางแห่งความวิบัติ ต้องเปิดออก...เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

 

วิกฤตแห่ง "เมืองน้ำหอม" เมื่อ "ปัจเจกนิยม" กลืนกิน ระบอบเก่าจักถูกฟื้นคืน ฤา สิ้นแล้วซึ่งสำนึกของประชาธิปไตย?