ถอดรหัสการรุกคืบของ CP GROUP ธุรกิจ "Delivery" ใครได้ผลประโยชน์ ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ

ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดจริงๆ กับพฤติการณ์กินรวบธุรกิจแบบ "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" ของนายทุกยักษ์ใหญ่ บริษัท CP Group ที่ทุกการเคลื่อนไหวได้สร้างแรงกระเพื่อมกระทบต่อสังคม จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยครั้ง สืบเนื่องจากกรณีก่อนหน้าที่ทาง CP

ถอดรหัสการรุกคืบของ CP GROUP ธุรกิจ "Delivery" ใครได้ผลประโยชน์ ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ

 

ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดจริงๆ กับพฤติการณ์กินรวบธุรกิจแบบ "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" ของนายทุกยักษ์ใหญ่ บริษัท CP Group ที่ทุกการเคลื่อนไหวได้สร้างแรงกระเพื่อมกระทบต่อสังคม จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยครั้ง สืบเนื่องจากกรณีก่อนหน้าที่ทาง CP ได้ดำเนินกลยุทธ์การตลาดด้วยการให้บริการรูปแบบใหม่ โดยการส่งของแบบ Delivery เมื่อสั่งซื้อสินค้าจาก 7-Eleven 100 บาทขึ้นไป โดยไม่คิดค่าบริการ
 
จะเห็นได้ว่าทางแฟรนไชส์ 7-Eleven นั้นมีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มการให้บริการที่มากกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไปหรือร้านโชว์ห่วย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยหวังว่าจะเป็น "ตัวเลือกแรก" ที่ลูกค้านำมาพิจารณา ซึ่งประเด็นนี้เองที่ทำให้มีการแสดงความเห็นจากผู้บริโภคที่แตกต่างกันไป ทั้งเห็นดีเห็นงามเนื่องด้วยมองว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวก ขณะที่อีกด้านกลับมองว่าเป็นการปิดกั้นโอกาสผู้ประกอบการรายย่อยให้พอได้ "ลืมตาอ้าปาก" บนโลกเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงยิ่ง

ถอดรหัสการรุกคืบของ CP GROUP ธุรกิจ "Delivery" ใครได้ผลประโยชน์ ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ

 

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า การให้บริการแบบ "Delivery" เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคที่สามารถติดต่อสื่อสารได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสโดยเฉพาะการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่มีให้เลือกสรรหลากหลาย ตอบสนองต่อวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่นิยมความสะดวกสบายท่ามกลางชีวิตที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ อาทิ พนักงานออฟฟิศที่ไม่อยากเสียเวลาพักเบรกเพื่อหาอาหาร แต่เลือกที่จะสั่งอาหารผ่านเวปไซต์หรือโทรศัพท์แทน เป็นต้น
 
จากข้อมูลเชิงประจักษ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ตลาดของธุรกิจส่งอาหาร ปี 2559 มีมูลค่า 23,500 ล้านบาท ต่อมาในปี 2560 มีการเติบโตขึ้น ที่มูลค่า 26,000 - 27,000 ล้านบาทและในปี 2561 คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 28,000-29,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ามีการเติบโตขึ้นประมาณปีละ 10-15% ประมาณการต่อไปได้ไม่ยากว่าอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าแตะ 50,000 ล้านบาท

ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารเติบโตขึ้นเพียง 2-4% ต่อปีเท่านั้น เหนืออื่นใดการเติบโตนี้มาจากอัตราเงินเฟ้อ และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศ หมายความว่าธุรกิจประเภทอื่นโดยเฉพาะธุรกิจส่งอาหารกำลังเบียดเสียดและอาจเข้ามาแทนที่ได้ในอนาคตอันใกล้

ถอดรหัสการรุกคืบของ CP GROUP ธุรกิจ "Delivery" ใครได้ผลประโยชน์ ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ

 

แต่ก็ไม่สิ้นหวังไปเสียทีเดียวเพราะธุรกิจร้านอาหารหลายแห่งเรียนรู้ที่จะปรับตัว ด้วยการดีลกับบริการส่งอาหารเช่น Lineman หรือ Foodpanda แต่กลับมีปัญหาที่เหล่าผู้บริโภคมองว่าเป็นข้อเสียคือ มีการคิดค่าบริหารส่งเพิ่มคล้ายว่าเป็นการจ่ายเงินซื้ออาหารในราคาที่แพงขึ้น เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นยกตัวอย่างจากกรณี Luckin Coffee ในประเทศจีน ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เพราะสามารถสั่งเมนูผ่านแอพพลิเคชั่น โดยทางร้านจะนำอาหารที่ลูกค้าสั่งไปส่งภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที การเติบโตของธุรกิจก็น่าตกใจไม่น้อยที่พบว่าสามารถขยายสาขาได้มากถึง 900 สาขาในระยะเวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้น
 
ทั้งนี้ทางเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เคยออกมาให้สัมภาษณ์โดยพยายามให้เหตุผลว่าการตลาดของ 7-Eleven ได้ปรับตัวเพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ โดยเฉพาะบริการส่งสินค้า เพราะในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันตลอดเวลา หากทาง 7-Eleven ไม่เริ่มทำวันหนึ่งภายหน้าต้องมีผู้ประกอบการอื่นเข้ามาทำอย่างแน่นอน จะเห็นได้ว่ามุมมองของเจ้าสัวนั้นมุ่งหวังผลกำไรเป็นหลักเช่นเดียวกับนักธุรกิจทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องมีน้ำใจนักกีฬาหรือต้องใส่ใจกับความยุติธรรมในสนามการค้า

 

ถอดรหัสการรุกคืบของ CP GROUP ธุรกิจ "Delivery" ใครได้ผลประโยชน์ ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ

 "เพราะท้ายที่สุดแล้วผู้บริโภคจะเป็นผู้เลือกว่าจะนั่งวินมอเตอร์ไซค์ 20 บาทไปปากซอยเพื่อซื้อของราคา 200 บาท หรือจะสั่งผ่านแอพพลิเคชั่นที่คิดค่าบริการเพิ่มในราคา 45-50 บาท ขณะที่ถ้าสั่งผ่าน 7-Eleven ตามแต่ละสาขาในละแวกโดยตรง จะจ่ายเพียงราคาปกติและมีคนมาส่งให้หน้าบ้านฟรี ซึ่งผู้บริโภคก็เลือกได้ไม่ยากเช่นกัน" เจ้าสัวธนินท์ กล่าวทิ้งท้าย