9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงาน

เหนื่อยกว่างานคือ "คน" เปิด 9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงานที่คุณควรรู้

การทำงานของคนเราในปัจจุบันนั้น สิ่งหนึ่งที่ได้ยินมาตลอดคือ ต้องมีความอดทนในการทำงาน เราต่างพบเจอผู้คนจำนวนมาก ที่หลากหลายนิสัย ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้างปะปนกันไป คุณเคยได้ยินไหมว่า "ทำงานไม่เหนื่อยหรอก เหนื่อยกับคนมากกว่า!!"

9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงาน

ช่วงนี้ได้ข่าวคนรู้จักกัน “ลาออก” เยอะมาก โดยเฉพาะคนที่ อายุเกิน 50 ปี ลูกเรียนจบมีงานทำแล้ว หมดภาระหนี้สินก้อนใหญ่ ไม่ใช่คนเหล่านี้จะตัดช่องน้อยแต่พอตัว แต่ส่วนใหญ่เท่าที่สนทนากัน คือ “เบื่อ” เบื่อระบบ มีแต่ “ตัวชี้วัด” มากมาย มากดดัน ทั้งๆ ที่ผลลัพธ์ปลายทาง ก็เห็นกันจะๆ สร้างตึกเท่าไหร่ไม่เคยพอ คนไข้ ยังล้นเหมือนเดิม แสดงว่าภาวะสุขภาพไม่ได้ดีขึ้น เหมือนภาพที่สร้าง

9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงาน

แต่เงินกับคนดันจำกัดมีแต่น้อยลง แล้วก็แค่สั่งด้วยประโยคอุดมการณ์ ขั้นสูงสุดเท่ห์ๆแต่กินไม่ได้ “ทำงานห้ามพูดถึงเรื่องเงิน” เบื่อคนร่วมงาน วุฒิภาวะไม่มี อาวุโสไม่สน บางคนแค่หัวโขนในวิชาชีพ นึกว่าจะด่า จะโวยยังไงก็ได้ ขอถ่ายทอดคำพูดจริงๆให้ฟังละกัน “มึงจ่ายเงินเดือนให้กูเหรอ? ถึงมาวีนอย่างกะนายจ้าง นึกว่าตัวเองใหญ่กว่า เหรอ?” เบื่อความยุติธรรม ต่อให้คิดมาเถอะ

9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงาน

ระบบสุดยอด เกณฑ์ชัดเจน สุดท้ายก็อีหรอบเดิม คือ กลายเป็นซับซ้อนซ่อนเงื่อน เพื่อน/เจ้านายทรยศ รักใครชอบใครก็ให้คนนั้นเยอะอยู่ดี เบื่อความเหลื่อมล้ำ เยียวยากันเข้าไป กลัวเด็กใหม่ลาออก ไม่ต้องสนใจตรรกะ ทำไมคนมาทีหลังเงินเดือนเกินคนทำงานมาเป็นสิบปี? พอเงินมันล้ำหน้ากว่า เด็กมันไม่สนหรอกคำว่า “ประสบการณ์” มันคิดว่ามันแน่ สอนยังไงเรื่องอะไรมันจำเป็นต้องฟัง ทีคนเก่านี่จะไปไหนก็ช่างใช่ไหม? ถ้าไม่พอใจก็ออกไปสิจะได้ไม่ต้องจ่ายค่า เออรี่ รีไทน์

9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงาน

เสียดายฝีไม้ลายมือประสบการณ์หลายๆ คนที่ยังเป็นประโยชน์ต่อระบบราชการเยอะแต่อย่างว่าแหละ…โลกนี้คนดีอยู่ยาก “ปัญหาที่ต้องพบเจอทุกที่ สังคมสมัยนี้ คนดีอยู่ยากขึ้นทุกวัน”

และเรามี 9 ข้อคิดสำหรับคนทำงานหนักมาฝาก

สิ่งแรกที่ควรรู้คือ หยุดคาดหวังความยุติธรรมจากการทำงานหนัก

9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงาน
หากคุณมองว่าตัวเองเป็นคนที่ทำงานหนัก ให้ถามตัวเองวาสผลของงานที่ได้รับจากการทำงานเกิดจากการทุ่มเทกายใจอย่างเต็มที่หรือเป็นประสิทธิ์ภาพในการทำงานหนักที่ใช้เวลามากกว่าคนอื่น หากคุณเห็นคนอื่นทำงานสบายๆแต่ประสบความสำเร็จหรือได้รับการยอมรับทางสังคมมากกว่า สิ่งที่คุณควรคิดคือ "ทำไมคุณไม่สามารถทำได้อย่างเขา" แล้วจงหาข้อเสียของตัวเอง หากเกิดจากความผิดพลาดของตัวเองก็อย่าถามหาความยุติธรรมใดๆ "สิ่งเหล่านี้มันคือการแสดงให้เห็นว่า ตัวคุณนั้นยอมรับความผิดพลาด และความลำบากในชีวิตอย่างไรต่างหาก ยิ่งร้องแรกแหกกระเชิงหาความเห็นใจ ตอนที่ตัวเองทำผิดพลาด คุณจะเป็นได้แค่ตัวประหลาดในออฟฟิศเท่านั้น" 

เพราะชีวิตจริงไม่มีคำว่า “ยุติธรรม” มีแต่คุณต้องรีบ “ทำ” เพื่อให้ปัญหามัน “ยุติ”
สุดท้ายแล้ว... ความยุติธรรมนั้นหันหน้าให้กับผู้ชนะเสมอ

 

ข้อที่ 2 ขอให้คุณจงรีบเก็บเกี่ยวประสบการณ์ป่านการทำงานหนัก ในทุกๆสถานการณ์ 
ถ้าคุณเลือกที่จะ “บ่น” คุณก็จะไม่ได้อะไร แต่ถ้าคุณเลือกที่จะ “ค้นหา” คุณอาจจะเจอเพชรล้ำค่าในตัวคุณ แต่... ถ้าหากคุณไม่ได้อะไรจากการทำงานหนักเลยแม้แต่นิด คุณควรถามตัวเองด้วยคำถามว่า... “คุณใช้ชีวิตแบบนี้ได้อย่างไร”

 

ข้อที่ 3 ในโลกนี้ยังมีอักหลายคนที่ทำงานหนักมากกว่าคุณ 
ถ้าคุณเห็นคนที่สบาย นั้นคือเปลือกที่คุณเห็น เปลือกที่เรียกว่าความสำเร็จของเขา โดยที่คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าก่อนถึงจุดนนี้เขาต้องเผชิญกับอะไรบ้าง จริงอยู่ที่ว่า การทำงานหนัก (Work Hard) ต่างกับการทำงานอย่างฉลาด (Work Smart) แต่ถ้าคุณอยากจะประสบความสำเร็จ คุณจงเลือกทำงานหนักอย่างฉลาด แล้วทุกโอกาสในชีวิตจะเป็นของคุณอย่างแน่นอน  

 

ข้อที่ 4 การทำงานหนัก ไม่เกี่ยวกับความร่ำรวย
ขอให้คุณอย่าเชื่อคำสอนของผู้ใหญ่ที่สอนว่า ความรวยเกิดจากการทำงานหนัก เพราะความรวยที่แท้จริงเกิดจาก 3 สิ่งนี้
1.ความถนัดและเชี่ยวชาญในงาน ถ้าคุณเป็นคนทีมีความสามารถเฉพาะทาง ผลตอบแทนของคุณก็ย่อมจะสูงขึ้น ลองคิดดูสิว่า ถ้าคุณสามารถขึ้นเป็น Top 5 ของสายอาชีพที่คุณทำอยู่ได้ รายได้ของคุณจะมากขึ้นแค่ไหน
2.การวางแผนการเงิน แน่นอน ถ้าคุณรู้จักเก็บออมและเอาเงินไปลงทุนชนิดที่เรียกว่า “ถูกที่และถูกเวลา” แค่การเก็บเงินเดือนละ 5,000 บาทก็อาจจะทำให้คุณเป็นมหาเศรษฐีโดยที่ไม่รู้ตัว
3.การทำธุรกิจ ถ้าคุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าเงินทองจะไหลมาเทมา

 

ข้อที่ 5 ยิ่งทำงานหนักยิ่งต้องเห็นคุณค่าของเวลา 

9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงาน
คุณค่าของเวลาในมิติแรก คือ “ความอาวุโสจากการทำงานหนัก” ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร คุณยิ่งไม่สามารถทำตัวเหมือนเด็กที่เพิ่งเข้าทำงานได้อีกต่อไป คุณไม่สามารถตัดสินใจผิดพลาดได้เมื่อคุณกลายเป็นผู้บริหาร ดังนั้นจงใช้เวลาในการทำงานหนักของแต่ละช่วงพัฒนา “วัยวุฒิ” และ “ความเก๋า” ให้มากที่สุด อย่าลืมถามตัวเองเสมอว่าตอนนี้เราเป็นใคร เรากำลังจะไปที่จุดไหน และสิ่งที่กำลังทำอยู่ในวันนี้มันใช่หรือไม่ เพราะเราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้...

คุณค่าของเวลาในมิติที่สอง คือ “ความเชี่ยวชาญในการบริหารเวลา” 
เพราะการบริหารเวลาที่ผิดพลาดจะทำให้คุณสร้างเงื่อนไขของคำว่า "เดี๋ยวก่อน" หรือ "ไว้ทีหลัง" ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมันจะกลายเป็นคำว่า "ไม่ได้ทำ" สิ่งสำคัญรอบตัวอื่นๆของคุณยังมี ต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เป็น ไม่เช่นนั้นหากไม่มีโอกาส การมานั่งเสียใจภายหลังก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาได้

 

ข้อที่ 6 สุขภาพ “กาย” และ “ใจ” คือ “ขุมพลัง” ในการทำงานหนัก
ไม่ว่าจะงานหนักแค่ไหน แค่เพียงเห็นรอยยิ้มของคนที่เรารักก็หายเหนื่อย สิ่งเหล่านี้คือความจริง ไม่ใช่ว่าการออกกำลังกายไม่สำคัญ แต่สุขภาพทางใจก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม พลังใจที่ดีนั้น... ถ้าวันนี้ยังไม่มีใครสร้างให้คุณได้ จงเลือกที่จะสร้างให้ตัวเองก่อน แล้วอย่าลืมเผื่อแผ่ไปยังคนรอบข้างที่มีความสัมพันธ์กับคุณด้วย

 

ข้อที่ 7 จงทำงานที่ดี งานที่ดีกว่า และงานที่ดีที่สุด

9 ข้อคิดและความจริงของคนวัยทำงาน
เรียนรู้ข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อสร้างสรรค์งานคุณภาพในปัจจุบัน และสร้างฝันสู่อนาคต การทำงานที่ดีนั้น มันต้องผ่านการลงมือทำ และทำมันซ้ำๆจนกว่าจะเจอคำว่า ดีที่สุด!! เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก ชิ้นงานที่คุณคิดว่าดีและทุ่มเทเวลากับมันอย่างหนักนั้น คุณจะสังเกตเห็นข้อบกพร่องตามมาเต็มไปหมด ผมขอบอกเลยว่านั่นไม่ใช่ผลของการทำงานหนัก หรือมันเป็นงานไม่ดี แต่นี่คือหลักฐานในการพัฒนาของคุณต่างหาก 

 

ข้อที่ 8 งานหนักไม่ใช่สาเหตุของการเปลี่ยนงาน
งานหนักไม่ใช่คำตอบของการลาออก แต่คุณควรตัดสินใจลาออกเมื่องานนั้นไม่ได้พัฒนาคุณอีกต่อไป

 

ข้อที่ 9 คุณไม่สามารถทำงานหนักไปตลอดชีวิต
ชีวิตของคุณไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานหนัก ต่อให้บริหารเวลาดีแค่ไหนแต่ร่างกายก็ต้องการการพักผ่อน ชื่นชมความงามระหว่างชีวิค ถ้าวันนี้การทำงานหนักคือ “ความจำเป็น”   จงทำมันเพื่อให้มองเห็น “อนาคตที่ดี”   และ... ถ้างานหนักไม่เคย “ฆ่าคน” คุณยิ่งเป็นคนที่ต้อง “ฆ่ามัน” ออกไปจากชีวิต