แค่ "ยืมเพื่อน" ทำรับไม่ได้...ย้อนเกล็ด "อัศวินควายดำ" ซุกหุ้นอีรุงตุงนัง สู่วลีเด็ด "บกพร่องโดยสุจริต"

สืบเนื่องจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ปม "นาฬิกาหรู" และ "แหวนเพชร" ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ที่ไม่ได้ถูกนำขึ้นบัญชีทรัพย์สิน ประกอบกับคำอ้างของ พล.อ.ประวิตรที่ยืนยันมาตลอดว่า "เป็นของเพื่อน" ส่วนแหวนนั้น "เป็นของแม่" จึงนำมาซึ่งความคลางแคลงใจแก่สังคมว่าจริงเท็จมากน้อยเพียงใด

แค่ "ยืมเพื่อน" ทำรับไม่ได้...ย้อนเกล็ด "อัศวินควายดำ" ซุกหุ้นอีรุงตุงนัง สู่วลีเด็ด "บกพร่องโดยสุจริต"

 

สืบเนื่องจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ปม "นาฬิกาหรู" และ "แหวนเพชร" ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ที่ไม่ได้ถูกนำขึ้นบัญชีทรัพย์สิน ประกอบกับคำอ้างของ พล.อ.ประวิตรที่ยืนยันมาตลอดว่า "เป็นของเพื่อน" ส่วนแหวนนั้น "เป็นของแม่" จึงนำมาซึ่งความคลางแคลงใจแก่สังคมว่าจริงเท็จมากน้อยเพียงใด

กระทั่งวานนี้ 27 ธ.ค. 2561 มีถ้อยแลงจาก ป.ป.ช. ที่ลบล้างทุกคำครหาจนหมดสิ้น เมื่อ นายวรวิทย์ แถลงที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ 5 เสียง 3 ยกคำร้องกรณีดังกล่าว โดยเห็นว่านาฬิกาเป็นของนายปัฐวาท สุขศรีวงศ์ ที่ให้ พล.อ.ประวิตร ยืมใช้ จำนวน 21 เรือน ซึ่งเสียงข้างน้อยยังเห็นว่า ยังไม่มีมูลเพียงพอนั้นให้ดำเนินการสอบเพิ่มเติม ส่วนอีกเรือนแม้ยังหาไม่ได้ว่าเป็นของนายปัฐวาทชอบให้เพื่อนยืมเป็นเรื่องปกติ แต่เข้าใจได้ว่าให้ยืม  ส่วนแหวนจำนวน 12 วง นั้นผลสอบพยานหลักฐานรับฟังได้ว่าเป็นมรดกที่ได้รับจากมารดา  ไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ จึงเห็นว่าไม่มีมูลเพียงพอว่าพลเอกประวิตร แสดงบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ

แค่ "ยืมเพื่อน" ทำรับไม่ได้...ย้อนเกล็ด "อัศวินควายดำ" ซุกหุ้นอีรุงตุงนัง สู่วลีเด็ด "บกพร่องโดยสุจริต"

 

อย่างไรก็ตามกระแสสังคมบางส่วนก็ยังยืนกรานที่จะไม่ยอมรับต่อคำตัดสินของ ป.ป.ช. ด้วยถือมั่นว่ากรณีดังกล่าวไม่มีความโปร่งใส ซึ่งก็ว่ากันไปตามแต่ทัศนะของแต่ละคนเพราะล้วนมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ แต่ควรจะนำเสนอด้วยข้อเท็จจริง และว่ากันไปตามข้อกฏหมาย

แต่อย่าลืมว่าครั้งหนึ่งสังคมไทยเคยมีการทุจริตที่เห็นกันอยู่ตำตา หากสังคมกลับทำเมินเฉยเสียประหนึ่งไม่เคยมีเรื่องทำนองนี้เกิดขึ้น กับเหตุการณ์ที่นักการเมืองถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่า "จงใจ" ซุกซ่อนบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ถือเป็นคดีที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในชื่อ "คดีทักษิณซุกหุ้น" ซึ่งในเวลาต่อมากลายมาเป็นวลี "บกพร่องโดยสุจริต"

แค่ "ยืมเพื่อน" ทำรับไม่ได้...ย้อนเกล็ด "อัศวินควายดำ" ซุกหุ้นอีรุงตุงนัง สู่วลีเด็ด "บกพร่องโดยสุจริต"

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2544 ที่นายทักษิณ ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดฐานจงใจยื่นทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ เพราะซุกหุ้นไว้กับ "คนใช้" และ "คนขับรถ" จนในเวลาต่อมาศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดมาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งหาดผิดจริงย่อมส่งผลให้ นายทักษิณ ต้องลงจากเก้าอี้นายกฯ

แน่นอนว่านายทักษิณ พยายามดิ้นรนต่อสู้ทางคดีความอย่างสุดความสามารถ พร้อมระดมกำลังปลุกมวลชนทั้ง พลพรรคเพื่อไทยตลอดจนเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 ไม่เว้นแม้กระทั่งชาวบ้านตาดำๆ เพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังมีนักวิชาการและนักคิดบางกลุ่มก้อนออกมา "เลี่ยงบาลี" ยกอ้างให้ใช้หลักทางรัฐศาสตร์แทนนิติศาสตร์ โดยเฉพาะนายแพทย์เสม พริ้งพวง หรือหมอเสม ล่ารายชื่อประชาชนหลายล้านรายชื่อหนุนให้ทักษิณเป็นนายกต่อ ให้ฉายาว่าเป็น "อัศวินควายดำ" เพราะให้เหตุผลว่านายทักษิณ เป็นนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งและเสียงส่วนใหญ่มาจากเกษตรกร ซึ่งมีความเป็นเครื่องมือทำมาหากิน จึงเปรียบเสมือนอัศวิน 

แค่ "ยืมเพื่อน" ทำรับไม่ได้...ย้อนเกล็ด "อัศวินควายดำ" ซุกหุ้นอีรุงตุงนัง สู่วลีเด็ด "บกพร่องโดยสุจริต"
 

กระทั่งเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาคดี นายทักษิณ ก็ดันทุรังให้การว่ามิได้จงใจยื่นทรัพสินย์หนี้สินอันเป็นเท็จ กลับทำประหนึ่ง "ปัดสวะให้พ้นตัว" ด้วยการอ้างว่า ตอนยื่นบัญชีนั้น ตนสั่งการให้เลขานุการเป็นผู้ยื่นแทน ดังนั้นหากมีความผิดพลาดระหว่างการยื่นก็เป็นเพียงความ "บกพร่อง" ไม่ได้มีเจตนา "ทุจริต" แต่อย่างใด สาเหตุเกิดขึ้นจากการที่ตนนั้น "บกพร่องโดยสุจริต" ไม่สมควรต้องถูกลงโทษตามรัฐธรรมนูญ จะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามแต่ หรือจะเป็นช่องวางทางกฏหมาย ศาลรัฐธรรมนูญกลับมีมติให้นายทักษิณพ้นผิดด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2554 เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2544 ไปเสียงอย่างนั้น

แค่ "ยืมเพื่อน" ทำรับไม่ได้...ย้อนเกล็ด "อัศวินควายดำ" ซุกหุ้นอีรุงตุงนัง สู่วลีเด็ด "บกพร่องโดยสุจริต"

เปรียบเทียบกับกรณีของ พล.อ.ประวิตร ที่ถึงแม้ว่าจะคลางแคลงใจในตอนแรก แต่จากข้อเท็จจริงทั้งหมดทั้งมวลก็มีน้ำหนักเพียงพอว่า เป็นนาฬิกาที่ยืมมาจาก นายปัฐวาท ผู้มหาเศรษฐีถือครองนาฬิกาหรูกว่า 200 เรือน และเป็นเพื่อนสนิทตั้งแต่ชั้นอนุบาล "จริง" จึงไม่มีเหตุผลใดที่ต้องแจ้งขึ้นบัญชีทรัพย์สินเพราะไม่ใช่ของตน อีกทั้งจะเห็นได้ว่า พล.อ.ประวิตร นั้นคลุกคลีกับงานด้านการเมืองมาเป็นเวลานาน มีหรือจะบกพร่องในหน้าที่ด้วยการ "จงใจ" หลีกเลี่ยงหลักปฏิบัติของข้าราชการ

 

ว่ากันไปตามเนื้อผ้าคำว่า "ยืมเพื่อน" ก็ไม่ได้เป็นการแก้ตัวหรือให้การภาคเสธแบบ "บกพร่องโดยสุจริต" ที่กลายเป็นวลีเด็ดทางการเมืองจนถึงทุกวันนี้ ตรงกันข้ามเหตุการณ์ดังกล่าวกลับหายเข้ากลีบเมฆมิได้ถูกนำมาพูดถึง...หรือเป็นการจงใจเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ไปเสีย แต่กับเรื่องที่มีข้อเท็จจริงรองรับและได้คำตัดสินเป็นที่สิ้นสุด สังคมกลับตะบี้ตะบันจุดประกายให้บานปลายมากยิ่งขึ้น...มันสมควรแล้วกระนั้นหรือ
 

แค่ "ยืมเพื่อน" ทำรับไม่ได้...ย้อนเกล็ด "อัศวินควายดำ" ซุกหุ้นอีรุงตุงนัง สู่วลีเด็ด "บกพร่องโดยสุจริต"