เคาะระฆังเลือกตั้ง​ สำรวจแผงว่าที่นายกฯ​ "บิ๊กตู่" ยังนำ​

เคาะระฆังเลือกตั้ง​ สำรวจแผงว่าที่นายกฯ​ "บิ๊กตู่" ยังนำ​

ประกาศแล้วพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปพ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อแต่นี้ก็เดินหน้าในการเลือกตั้ง ตามกลไลและทิศทางต่อจากนี้แล้วหากดูตามเงื่อนของเวลา จะมีการจัดเลือกตั้งในกรอบ 150 วันหลังพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.มีผลบังคับใช้ เพราะฉะนั้นสถานการณ์ทางการเมืองต่อจากนี้ไปน่าจับตามอง เพราะบรรดานักการเมืองแต่ละพรรคที่เร่งเดินหน้าพบประชาชน  และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในช่วงนี้เราจะได้ไปจับตาดูทิศทาง ว่าที่นายรัฐมนตรี คนต่อไปจะมาพรรคไหนและใครจะมานั่งเก้าอี้นี้ 

 

เคาะระฆังเลือกตั้ง​ สำรวจแผงว่าที่นายกฯ​ "บิ๊กตู่" ยังนำ​


หลังพ.ร.ฎ.เลือกตั้งประกาศแล้วต่อแต่นี้คณะกรรมการการเลือกตั้งก็จะเริ่มเดินหน้ากำหนดไทม์ไลน์รวมไปถึงกำหนดวันในการเลือกตั้ง  
(23 มค. 2562) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากประกาศแล้วก็เป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะประกาศไทม์ไลน์การเลือกตั้งภายใน 5 วัน เช่น กำหนดวันเลือกตั้ง หรือกำหนดสถานที่รับสมัครส.ส.ระบบปาร์ตี้ลิสต์  เมื่อถามต่อว่า หากพรรคการเมืองไม่สามารถตั้งสาขาได้ครบตามที่กฎหมายกำหนด จะส่งผลต่อการเลือกตั้งเป็นโมฆะได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน ไม่ได้มีการกำหนดไว้ ดังนั้นจะมีพรรคเดียวหรือสองพรรคก็เลือกตั้งได้ แต่ตนคิดว่าไม่เป็นไปอย่างที่เรากลัวกันหรอก สุดท้ายก็มากัน 60-70 พรรคอยู่ดี

 

เคาะระฆังเลือกตั้ง​ สำรวจแผงว่าที่นายกฯ​ "บิ๊กตู่" ยังนำ​

 

เมื่อถามต่อว่า ถ้าพ.ร.ฎ.เลือกตั้งประกาศแล้ว พรรคการเมืองสามารถหาเสียงได้ทันทีเลยใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า หาเสียงได้ตั้งแต่ตี 1 ของวันที่ประกาศแล้ว เพราะไม่ได้มีการระบุเวลาไว้ แม้จะประกาศในเวลาใดของวันนั้นก็ตาม  ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากมี พ.ร.ฎ.เลือกตั้งแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สามารถประกาศตัวได้ทันทีเลยหรือไม่ว่าจะมีชื่อเป็นนายกฯของพรรคใด นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ตามกฎหมายแล้วพรรคต้องเสนอชื่อคนที่จะเป็นนายกฯของพรรคตัวเอง ซึ่งทุกพรรคต้องทำแบบนี้ในช่วงเวลาที่เขาเปิดให้มีการสมัครรับเลือกตั้ง 5 วันและต้องไม่เกินวันสุดท้าย หลังจากนั้นไม่สามารถเสนอได้แล้วและแต่ละพรรคไม่สามารถเสนอชื่อซ้ำกันได้ เนื่องจากเจ้าตัวต้องเซ็นยินยอมได้เพียงพรรคเดียว

 

เน้นย้ำกันอีกสักครั้งตามคำพูดของรองนายก วิษณุ หลังจากมี พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งแล้วตามกฎหมายแล้วพรรคต้องเสนอชื่อคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคตัวเอง  เพราะฉะนั้นเสำนักข่าวทีนิวส์ จะได้ตรวจสอบเส้นทางการเข้าสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีภายใต้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 นี้  ของบุคคลที่อาจได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองทุกคน ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มาจากพรรคการเมืองตัวเองด้วย 

เส้นทางแรก นั่นก็คือ พรรคการเมืองเสนอ 3 ชื่อ  ....  มาตรา ๑๓ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกินสามรายชื่อต่อคณะกรรมการก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวพร้อมกับชื่อของพรรคการเมืองนั้นให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป

 


เมื่อพรรคการเมืองแจ้งรายชื่อบุคคลใดตามวรรคหนึ่งแล้ว บุคคลนั้นหรือพรรคการเมืองนั้นจะถอนรายชื่อหรือเปลี่ยนแปลงรายชื่อบุคคลนั้นได้เฉพาะกรณีบุคคลนั้นตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม และต้องกระทําก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง  การคัดเลือกรายชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพรรคการเมืองจะไม่เสนอรายชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งก็ได้


เส้นทางที่สอง "นายกฯ คนนอก ในบทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญ" .... มาตรา 272 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560 ระบุว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ดำเนินการตามมาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 วรรค 3 ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

 

ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้

 

เคาะระฆังเลือกตั้ง​ สำรวจแผงว่าที่นายกฯ​ "บิ๊กตู่" ยังนำ​

 


หลังจากที่เราได้ไล่เรียง การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีในอนาคต ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 แล้วนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเราจะได้มาเช็ครายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน คงต้องย้อนกลับไปดูตามผลโพลของ สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ก่อนหน้านี้ ผลการสำรวจรังสิตโพล สำรวจครั้งที่ 5 คะแนนนิยมที่ประชาชนต้องการบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนิยมอันดับ1 คือ 26.04 % ตามมาด้วย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 25.28 %และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 22.68 %   (4) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 9.23 % (5) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 9.9 %

 

เคาะระฆังเลือกตั้ง​ สำรวจแผงว่าที่นายกฯ​ "บิ๊กตู่" ยังนำ​

 


ขณะเดียวกันในครั้งนั้น ผลโพลดังกล่าวยังระบุว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ คะแนนนิยมของพล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในสภาวะมีเสถียรภาพพอสมควร เพราะสามารถสร้างคะแนนนิยมจากที่เคยได้น้อยกว่าคุณหญิงสุดารัตน์ ขึ้นมานำได้สำเร็จ และแสดงให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่สามารถผูกขาดชัยชนะแบบเด็ดขาดเหมือนในอดีตอีกต่อไป เนื่องจากพรรคถูกพรรคพลังประชารัฐเข้ามาแบ่งคะแนนไปค่อนข้างมากในแง่ของตัวผู้นำพรรค  ไม่เพียงเท่านั้นเราจะได้ไปตรวจสอบดูความเป็นไปได้ของแต่ละคน ที่อาจจะถูกเสนอชื่อโดยพรรคการเมือง 

 

เคาะระฆังเลือกตั้ง​ สำรวจแผงว่าที่นายกฯ​ "บิ๊กตู่" ยังนำ​
 

เริ่มกันที่ พรรคพลังประชารัฐ ที่มีชื่อมาแรงอาจจะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี นั่นคือ “พล.อ.ประยุทธ์”  .... เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 62 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงบทบาทและอนาคตทางการเมืองหลังเลือกตั้งว่า เรื่องนี้ได้บอกหลายครั้งแล้วอยู่ในช่วงการตัดสินใจของตนว่าควรจะอยู่ทำงานต่อหรือไม่ หากอยู่ต่อจะอยู่ได้ด้วยอะไร ฉะนั้น กำลังดูว่า ถ้าต้องอยู่จะต้องทำอย่างไร “อันแรกพรรคการเมืองต้องมาเชิญผมก่อน และผมจะตอบรับใครหรือเปล่าก็ต้องคิดดู ถ้าคิดว่าจะต้องอยู่ต่อเพื่อทำงานต่อ ก็คงต้องอยู่พรรคใดพรรคหนึ่ง

 

ทั้งนี้จะต้องเป็นพรรคที่ทำงานด้วยความตั้งใจ เสียสละอย่างแท้จริง และทำให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในวันข้างหน้า ไม่ใช่ไปล้มล้างทุกอย่างที่ทำมาทั้งหมด มันเสียเวลาเปล่า มีหลายอย่างที่สำเร็จมา”  เมื่อถามว่า พรรคพลังประชารัฐเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนยังไม่รับการติดต่อจากพรรคพลังประชารัฐ

 
ต่อกันที่ พรรคเพื่อไทย ที่แม้ว่ายังไม่มีความชัดเจนแต่หลายๆคนก็มองว่า ตอนนี้คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แกนนำพรรค ดูจะมาแรงแคนดิเดต มากที่สุดจากพรรคเพื่อไทย  เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562  คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง ระบุว่า กรณีมีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทย เตรียมชู นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรมว.คมนาคม และแกนนำพรรคเพื่อไทย เป็นแคนดิเดตนายกฯ ลำดับที่ 1 ของพรรค คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ส่วนตัวตนหนุนนายชัชชาติ ไม่ต้องกังวลว่าเราจะมีปัญหากัน เพราะส่วนตัวมองว่านายชัชชาติ มีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกฯ ส่วนตัวเป็นเหมือนผู้จัดการทีมคอยวางแผน หรือเรียกว่าเป็นเจนเนอรัลเบ๊ พร้อมทำทุกเรื่อง

 

เมื่อถามว่า หากคุณหญิงสุดารัตน์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 2 ก็ไม่ขัดข้องใช่หรือไม่ คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว่า ตนให้การสนับสนุนนายชัชชาติ ทั้งนี้บัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยจะชัดเจนก็ต่อเมื่อมีการกำหนดวันเลือกตั้ง 


ส่วนพรรคภูมิใจไทย จะเป็นใครไปไม่ได้เพราะออกมาประกาศพร้อมเป็นนายกรัฐมนตรีเอง   เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 62  นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย  ขึ้นเวทีปิดท้ายหลังเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.ทั่วประเทศ พร้อม “ทุกอย่างจะทำได้จริง ทำได้เร็ว และทำได้ทันที เมื่อประชาชนเลือกพรรคภูมิใจไทยเป็นรัฐบาล การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคภูมิใจไทยพร้อมที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ขอให้เลือกให้เกิน 375 คน  พร้อมจะเป็นนายกฯ มันต้องเป็นนายกฯแล้ว ถึงตอนนั้น หมูไม่กลัวน้ำร้อนแล้ว ผมจะนำสมาชิกทำลายทุกข้อจำกัด ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องพี่น้องประชาชน”

 

เคาะระฆังเลือกตั้ง​ สำรวจแผงว่าที่นายกฯ​ "บิ๊กตู่" ยังนำ​

 


อย่างไรก็ตาม ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีกันต่อไป เราคงต้องติดตามแต่ ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นใคร ประชาชนคง อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง มีคนใหม่ ๆ นโยบายใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ เข้ามาบริหารและพัฒนาประเทศ มีความเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าพรรคการเมืองเก่าๆ ในอดีต ...