"ภัทร ฉัตรบริรักษ์" โพสต์ทวิต ชวนร่วมบริจาคพลาสมาเพื่อทำยา คนบริจาคได้น้อย สภากาชาตต้องการ

"ภัทร ฉัตรบริรักษ์" โพสต์ทวิต ชวนร่วมบริจาคพลาสมาเพื่อทำยา คนบริจาคได้น้อย สภากาชาตต้องการ

เรียกได้ว่าน้องเล็กของบ้านอย่าง หนุ่มภัทร ฉัตรบริรักษ์ นอกจากจะมีมุมเล่นๆกับน้องสาวอย่างน้องวันใหม่แล้ว เฮียบอยและเฮียหน่องแล้ว ก็มีมุมที่จริงจังเพราะล่าสุดหนุ่มภัทรได้ทวีตข้อความชวนไปบริจาคพลาสมา พร้อมแนะนำข้อมูลและช่วยกันแชร์ให้คนไปบริจาคเยอะๆ เพราะตอนนี้พลาสมาก็มีความจำเป็นไม่ได้ต่างจากเลือดที่รับบริจาคกันเลย

 

 

โดย หนุ่มภัทรได้เชิญชวนผ่านทวิตเตอร์ว่า "หน้าตาพลาสม่า หรือน้ำเหลือง ที่เรารู้จักนี่แหละ เขาเอาไปใช้ทำยา ซึ่งแต่ก่อนต้องสั่งจากเมืองนอก แต่ตอนนี้ที่ไทยผลิตยาเองได้แล้ว ซึ่งต้องใช้พลาสม่าไปทำ สภากาชาตเขาอยากให้คนมาบริจาคเยอะๆ เพราะว่าคนบริจาคได้มีน้อย เงื่อนไขเยอะกว่าบริจาคเลือดทั่วไป คือ เรื่องอาหารในวันที่บริจาค ก่อนมาคือห้ามกินไขมันเลย เพราะถ้ากินมันจะขุ่นๆ สุดท้ายเค้าเอาไปใช้ไม่ได้ (คือกินมื้อเช้าแบบคลีนๆ อะ ละก็ไปบริจาคเลย"


"ส่วนคืนก่อนหน้าก็งดพวกแอลกอฮอล์กับนอนเยอะๆ) อันในรูปนี่คือใสมากแบบดีเลย จริงๆมีเรื่องขนาดเส้นเลือดด้วย ลองไปให้พี่พยาบาลตรวจดูก็ได้ แล้วก็พลาสมา บริจาคได้ทุก 14 วัน ที่บริจาคได้บ่อยเพราะเค้าไม่ได้เอาเม็ดเลือดแดงเราไป ก็เลยทำได้เรื่อยๆ บริจาคทีนึงใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที แล้วแต่ขนาดเส้นเลือดคน จบการรีวิว ใครมีอะไรสงสัย ถามได้นะครับ ฝากรีด้วยเน้อ"

 

"ภัทร ฉัตรบริรักษ์" โพสต์ทวิต ชวนร่วมบริจาคพลาสมาเพื่อทำยา คนบริจาคได้น้อย สภากาชาตต้องการ

 

นอกจากนี้ หนุ่มภัทร ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้ที่เข้ามาสอบถามด้วยว่า ถ้าเพิ่งบริจาคเลือดไป จะต้องเว้นระยะ 3 เดือนก่อน ถึงจะบริจาคพลาสม่าได้ และไม่สามารถบริจาคเลือดและพลาสมาในวันเดียวกันได้ ส่วนผู้หญิงมีโอกาสบริจาคได้น้อยกว่าผู้ชายเป็นเพราะเส้นเลือด ถ้าหากเส้นเลือดใหญ่ชัดเจนทั้ง 2 ข้างก็จะรับบริจาค เพราะการบริจาคนี้จะต้องใช้เครื่องดูดเลือดมาปั่นแยกเอาพลาสม่าแล้วก็จะคืนส่วนอื่นๆกลับสู่ร่างกาย ซึ่งจะมีแรงดันจากเครื่องที่ทำให้เส้นแตกได้ถ้าเส้นเล็กที่ไม่รับ ผู้หญิงคือการบริจาคเกล็ดเลือด"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง    
"ภัทร ฉัตรบริรักษ์" เล่าเรื่อง 3 พี่น้อง สะกดนามสกุลภาษาอังกฤษไม่เหมือนกันสักคน
 

"ภัทร ฉัตรบริรักษ์" โพสต์ทวิต ชวนร่วมบริจาคพลาสมาเพื่อทำยา คนบริจาคได้น้อย สภากาชาตต้องการ

 

หลังจากเรื่องราวดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ออกไปในโลกโซเชียล ทำให้ชาวเน็ตต่าเข้ามาถามคำถามและให้คำแนะนำเกี่ยวกับบริจาคพลาสมากันเป็นจำนวนมาก บ้างก็บอกว่า แล้วสามารถบริจาคพลาสมาก่อน แล้วค่อยบริจาคเลือดต่ออย่างนี้ได้ไหมคะ? และได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ราหนึ่งได้เข้ามาตอบว่า ขออนุญาตตอบนะครับ แนะนำว่าไม่ควรครับ เพราะเลือดเราจะข้นกว่าเลือดปกติมาก พลาสมาเป็นส่วนผสมหนึ่งในเลือด เสียพลาสมาแล้ว ไม่ควรเสียเม็ดเลือดต่อ เพราะอาจกระทบสุขภาพได้นะครับ รอ 14 วันค่อยบริจาคเลือดดีกว่านะครับ

 

บ้างก็บอกว่า ขอบคุณค่ะ  อดบริจาคเลย น้ำหนักไม่ถึง ตอนนี้น้ำหนักเพิ่งถึงเกณฑ์ สำหรับบริจาคเลือดเองค่ะ เคยจะไปบริจาค เพราะปกติบริจาคเลือดอยู่แล้ว เค้าบอกผู้หญิงไม่รับบริจาคเพราะเส้นเลือดผู้หญิงเล็กกว่าของผู้ชาย ถึงแม้ว่าเราจะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ก็เถอะ เค้าจะเอาแต่ผู้ชายซะมากกว่าเลยอดบริจาคเลยค่ะ

 

"ภัทร ฉัตรบริรักษ์" โพสต์ทวิต ชวนร่วมบริจาคพลาสมาเพื่อทำยา คนบริจาคได้น้อย สภากาชาตต้องการ


บ้างก็บอกว่า ขอคำแนะนำการบริจาคพลาสมาหน่อยครับ  ถ้าระหว่างช่วงรอ3 เดือนบริจาคพลาสมาได้ไหมหรือต้องครบ3เดือนก่อนถึงจะบริจาคได้? แล้วถ้าเปลี่ยนมาบริจาคพลาสม่าประจำควรไหม?หรือสลับๆกันไปดีกว่า บ้างก็บอกว่า ถ้าเพิ่งบริจาคเลือดมา ต้องรอ 3 เดือนให้ครบเวลาก่อนครับ ถึงบริจาคได้ ส่วนเรื่องต้องสลับหรือกัน อันนี้ผมคิดว่าแล้วแต่คุณได้เลยครับ แต่ถ้าอยู่ในเงื่อนไขที่บริจาคพลาสมาได้ แนะนำว่าบริจาคพลาสมาดีกว่า เพราะจำนวนคนที่บริจาคได้มีค่อนข้างน้อย บางคนพอบริจาคออกมาแล้ว ใช้ไม่ได้ก็มีครับ

 

 

"ภัทร ฉัตรบริรักษ์" โพสต์ทวิต ชวนร่วมบริจาคพลาสมาเพื่อทำยา คนบริจาคได้น้อย สภากาชาตต้องการ

ขอบคุณ Pat Chatburirak‏