ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่  ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ติดตามเพิ่มเติม www.tnews.co.th

       รอบ 3 ปีที่ผ่านมา “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง” ได้รับการยกระดับสลัดภาพจำเดิมจากการปล่อยกู้ให้สมาชิก แปรเปลี่ยนเป็นกองทุนที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุมชนได้เป็นผู้ประกอบการ จากโครงการที่ช่วยกันคิดตอบโจทย์ชุมชนตัวเอง​ปี 2559-2561 กองทุนทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น จำนวน 79,598 กองทุน สมาชิกกว่า 12 ล้านคน มีโอกาสด้านการประกอบอาชีพ การผลิตสินค้าและบริการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาการบริการประชาชน ก่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้างรายได้ การจัดสวัสดิการ และการแก้ไขปัญหาในหมู่บ้านและชุมชนในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดประโยชน์หลายมิติ เช่น ร้านค้าชุมชนโครงการน้ำดื่มชุมชน โครงการส่งเสริมการเกษตร โครงการผลิตภัณฑ์ประชารัฐ โครงการตลาดประชารัฐ​มีการจับมือกับ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” ทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ ทำหน้าที่เป็นคลังความรู้ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่กองทุนทั่วประเทศ ทั้งการให้คำปรึกษา แนะนำการจัดทำและเขียนโครงการเสนอต่อรัฐบาล ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน และเน้นการทำโครงการโดยใช้ศาสตร์พระราชาและแนวทางประชารัฐในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงช่วยผลิตบุคลากรที่กองทุนหมู่บ้านฯ มีความต้องการ เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชีที่มีใบอนุญาต

 

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่  ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่  ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาตอนหนึ่งในมหกรรมการแสดงผลการดำเนินงานโครงการตามแนวทางประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองวันที่ 10 มกราคม 2562 ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม โดยประชาชนเพื่อประชาชนผ่านกลไกประชารัฐ ให้เดินหน้าไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อยู่บนพื้นฐานความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมาขับเคลื่อน ซึ่งประสบการณ์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องมีการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ การเรียนรู้ รวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิต และการตลาดให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0   ​“รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืน โดยรัฐบาลมีความเชื่อมั่น และไว้วางใจในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้เป็นอย่างดี ทำให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีโอกาสฟื้นฟู เป็น กองทุนที่เข้มแข็งตามนโยบายของรัฐไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
       ​3 ปีที่ผ่านมา มีการจัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการตามแนวทางประชารัฐอย่างต่อเนื่อง คือ 1.โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ในปี 2559 วงเงิน 35,000 ล้านบาท 2.โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ในปี 2560 วงเงิน 15,000 ล้านบาท และ 3.โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชา ตามแนวทางประชารัฐ ในปี 2561 วงเงิน 20,000 ล้านบาท     ​อานิสงส์ที่ตามมา ทำให้เกิดโครงการกว่า 200,000 โครงการ ได้แก่ ร้านค้าชุมชนไม่น้อยกว่า 25,000 ร้านค้าทั่วประเทศ โครงการส่งเสริมการเกษตร 56,000 โครงการ โครงการผลิตภัณฑ์ประชารัฐ 37,000 โครงการ และโครงการตลาดประชารัฐ 2,900 โครงการ ทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 1.6 ล้านคน มีรายได้รวม 3 ปี กว่า 39,000 ล้านบาท กำไรกว่า 8,500 ล้านบาท ที่เป็นรายได้หล่อเลี้ยงกองทุนและปันผลคืนให้กับสมาชิก

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่  ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่  ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่  ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

หลายโครงการประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลเป็นเกียรติประวัติแก่ชุมชนจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 20 ปีของประเทศ ใน 6 ด้าน ได้แก่ 1.การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน สร้างความสุขและความมั่นคง 2.การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการพัฒนา 3.การพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ 4.การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำ 5.การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6.การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
​โครงการตลาดน้ำประชารัฐวัดแคนอกของดีเมืองนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี หนึ่งในโครงการต้นแบบของกองทุนหมู่บ้านฯที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่  ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

         ​“นายสุรชาติ กันนิ่ม ประธานคณะกรรมการตลาดน้ำประชารัฐวัดแคนอก” บอกว่า ตลาดน้ำวัดแคนอกเกิดจากความเข้มแข็งของของกองทุนหมู่บ้านฯ 57 กองทุน ในอำเภอเมืองนนทบุรี ระดมสมองและเงินจากกองทุนของตัวเอง รวมกลุ่มกันเปิดตลาดน้ำเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจำหน่ายสินค้าของดีเมืองนนทบุรีในชุมชนทั้ง 57 ชุมชน นอกจากตลาดน้ำแล้วยังมีเรือนำเที่ยวล่องแม่น้ำเจ้าพระยา ร้านอาหาร เช่าห้องประชุมสัมมนา ทำให้เกิดรายได้ในชุมชนอย่างมาก
         ​“นอกจากรายได้แล้ว สิ่งที่เราได้คือเราได้จ้างงานคนในพื้นที่ ทำให้สินค้าในชุมชนมีจุดจำหน่าย วัด โรงเรียน ชุมชน ที่อยู่โดยรอบได้อานิสงส์ด้วยจากตลาดน้ำแห่งนี้ เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับคนในชุมชนอย่างมากที่สามารถดูแลเศรษฐกิจฐานรากด้วยตัวของเขาเองที่ช่วยกันคิดช่วยกันทำ”
 
      กองทุนหมู่บ้านฯ เป็นที่พึ่งและทุนหมุนเวียนให้ประชาชนให้เป็นกองทุนหมู่บ้านประชารัฐ สร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับชุมชน