ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือนมีรอยแตกร้าว มลภาวะทางเสียง

ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อนจากเสียงและแรงสั่นสะเทือนของเครื่องบินขึ้นลงวันละ 10 เที่ยวบิน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือน มีรอยแตกร้าว และมลภาวะทางเสียงมานานกว่า 5 ปีแล้ว กราบขอวิงวอนกรมการท่าอากาศยาน เร่งหาทางแก้ไข รวมถึงการเวนคืนที่ดินเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อไปในอนาคตขยายวงกว้างออกไปอีก และชาวบ้านไม่เชื่อมั่นติดตั้งเครื่องตรวจวัดเสียงและแรงสั่นสะเทือน

วันนี้18 เม.ย.ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปตรวจสอบพบ นางสมศรี เงินศรี อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 182 ม.12 ต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง อาชีพแม่บ้าน เผยว่า บ้านของตนได้รับความเดือดร้อนจากการขึ้นลงของเครื่องบิน เพราะเครื่องบินบินต่ำมากและส่งเสียงดังทำให้ฝาผนังบ้านร้าว หลังคารั่วเวลาฝนตกต้องเอากะละมังมาวางรองน้ำ จึงอยากวอนให้เวนคืนพื้นที่ตรงนี้ ล่าสุดเมื่อ 2 วันที่แล้วได้มีเจ้าหน้าที่มาติดตั้งเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนและระดับเสียง แต่ไปวางเครื่องนั้นไว้ข้างบนบ้านตนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่วางข้างล่างเพราะแรงสั่นสะเทือนมันอยู่บนพื้น

ขณะที่ นางณี กกแก้ว อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 182/1 ม.12 ต.โคกหล่อ อ.เมือง จ.ตรัง อาชีพแม่บ้าน กล่าวว่า ตอนนี้ตนเดือดร้อนหนักมาก เพราะการที่เครื่องบินขึ้นลงทำให้ฝาผนังบ้านและหลังคาแตกร้าว เนื่องจากบ้านของตนอยู่ติดริมรั้วสนามบินทำให้ส่งผลกระทบอย่างหนัก แรงสั่นสะเทือนทำให้ฝาหนังห้องครัวแยกออกจากตัวบ้าน เกรงจะพังทลายลงมา พนังห้องน้ำก็แยกออกจากตัวบ้าน ส่วนนายคำนึง กกแก้ว อายุ 68 ปี สามี บอกว่าต่างไม่มั่นใจในการติดตั้งเครื่องตรวจวัดเสียงและแรงสั่นสะเทือนของเสียงเพียงแค่ 24 ชั่วโมง ว่าจะได้ข้อเท็จจริงตามที่กำลังประสบปัญหาหรือไม่ พร้อมยืนยันให้เวนคืนที่ดินเท่านั้น เพราะหากมีโครงการปรับปรุงขยายสนามบิน จะมีเที่ยวบินเพิ่มเป็นวันละ 40 เที่ยว ซึ่งจะยิ่งเดือดร้อนหนักกว่านี้.

ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือนมีรอยแตกร้าว มลภาวะทางเสียง

ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือนมีรอยแตกร้าว มลภาวะทางเสียง

ขณะเดียวกันชาวบ้านบอกว่าก่อนหน้า 1 สัปดาห์ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ทราบปัญหาได้รุดลงพื้นที่สำรวจข้อมูลจากชาวบ้านหัวสนามบินและได้สอบถามพูดคุยทุกประเด็น หลังพบว่าชาวบ้านเดือดร้อนจากแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้บ้าน แตกร้าวหลังคารั่ว ฝนตกน้ำไหลเข้าบ้าน นายชวน ได้เดินสำรวจบ้านที่เสียหายด้วยตัวเอง พร้อมทั้งได้รับฟังเสียงขณะที่เครื่องบินกำลังขึ้นว่ามันมีผลกระทบในเรื่องเสียงและแรงสั่นสะเทือนขนาดไหน และได้มอบหมายนายสมบูรณ์ ประสานกับอธิบดีกรมท่าอากาศยานแล้ว

ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือนมีรอยแตกร้าว มลภาวะทางเสียง

ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือนมีรอยแตกร้าว มลภาวะทางเสียง

ด้านพ.จ.อ.เมืองชล วงศ์สุวรรณ ผอ.ท่าอากาศยานตรัง กล่าวชี้แจงว่า ตามที่กรมท่าอากาศยาน ได้ว่าจ้างบริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยานตรัง ซึ่งกรมท่าอากาศยานมีโครงการพัฒนาโดยการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้ 1,200 คนต่อชั่วโมง หรือ 3.4 ล้านคนต่อปีและต่อเติมความยาวทางวิ่งจากเดิม 2,100 x 45 เมตร เป็น 2,990 x 45 เมตร  พ.จ.อ.เมืองชล กล่าวอีกด้วยว่า จากการประชุมรับฟังข้อคิดเห็น ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2562 นั้น มีชาวบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ที่อาศัยอยู่บริเวณหัวทางวิ่ง 26 ด้านทิศตะวันออกของท่าอากาศยาน บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 404 แจ้งว่าได้รับผลกระทบ เช่น กระจกแตก ฝาผนังร้าว หลังคาได้รับความเสียหาย กรมท่าอากาศยานทราบเรื่องจึงรุดลงพื้นที่ตรวจสอบผลกระทบด้านเสียงและความสั่นสะเทือนจากการขึ้น-ลง โดยจะรายงานผลการตรวจสอบให้ทราบ ในวันที่ 23 เมษาฯ นี้ และขอให้กรมท่าอากาศยานเวนคืนบริเวณที่ได้รับผลกระทบนั้น

ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบผลกระทบดังกล่าว กรมท่าอากาศยานจึงได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดฯ เรียบร้อยแล้วโดยจะทำการวัดผลกระทบ โดยมีเจ้าหน้าที่และผู้แทนจากหน่วยต่างๆ ได้แก่ ผู้แทนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตรัง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง สาธารณสุขจังหวัดตรัง เทศบาลตำบลโคกหล่อ โรงเรียนวิเชียรมาตุ ร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยจะรายงานผลการตรวจสอบให้ทราบในวันที่ 23 เม.ย.62 นี้ และกรมการท่าอากาศยานจะนำข้อมูลดังกล่าวมาร่วมพิจารณาโดยจะรายงานว่าพื้นที่บริเวณนี้ได้เข้าร่วมโครงการฯเวนคืนหรือไม่จะแจ้งให้ทราบในวันที่ 28 เม.ย.นี้

ถนอมศักดิ์ หนูนุ่ม ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดตรัง

ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือนมีรอยแตกร้าว มลภาวะทางเสียง

ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือนมีรอยแตกร้าว มลภาวะทางเสียง

ทุกข์ชาวบ้านชุมชนหัวสนามบินตรังได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้บ้านกว่า 30 หลังคาเรือนมีรอยแตกร้าว มลภาวะทางเสียง