ประเทศชาติต้องมาก่อน "พีระพันธุ์" ประกาศขออาสานั่งหัวหน้าพรรคปชป. #ไปข้างหน้าพร้อมกันกับพีระพันธุ์

ติดตามอย่างต่อเนื่องสำหรับความเคลื่อนไหวภายในพรรคประชาธิปัตย์ จากเดิมคาดการณ์กันว่าจะมีแคนดิเดตชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ ระหว่างนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รักษาการหัวหน้าพรรค, นายกรณ์ จาติกวณิช รักษาการรองหัวหน้าพรรค และ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน แกนนำคนสำคัญของพรรค อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ติดตามอย่างต่อเนื่องสำหรับความเคลื่อนไหวภายในพรรคประชาธิปัตย์ จากเดิมคาดการณ์กันว่าจะมีแคนดิเดตชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ ระหว่างนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รักษาการหัวหน้าพรรค, นายกรณ์ จาติกวณิช รักษาการรองหัวหน้าพรรค และ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน แกนนำคนสำคัญของพรรค อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

 

ประเทศชาติต้องมาก่อน "พีระพันธุ์" ประกาศขออาสานั่งหัวหน้าพรรคปชป. #ไปข้างหน้าพร้อมกันกับพีระพันธุ์

 

 

ประเทศชาติต้องมาก่อน "พีระพันธุ์" ประกาศขออาสานั่งหัวหน้าพรรคปชป. #ไปข้างหน้าพร้อมกันกับพีระพันธุ์

 

เมื่อช่วงดึกของเมื่อวันที่ 8 พ.ค.62 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต รมว.ยุติธรรม พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” ประกาศท้าชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า “ประกาศอย่างทางการ ผมสมัครลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ครับ #มาแล้วครับ. #ประเทศต้องมาก่อน #ไปข้างหน้าพร้อมกันกับพีระพันธุ์”

 

ประเทศชาติต้องมาก่อน "พีระพันธุ์" ประกาศขออาสานั่งหัวหน้าพรรคปชป. #ไปข้างหน้าพร้อมกันกับพีระพันธุ์

ในเวลาต่อมา นายพีระพันธุ์ได้เคลื่อนไหวอีกครั้ง ระบุว่า ..ไม่ใช่แค่ผมหรือใคร แต่คือพวกเราทุกคน ที่จะนำประชาธิปัตย์ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันครับ #ประเทศต้องมาก่อน #ประชาชนต้องพึ่งได้ #ไปข้างหน้าพร้อมกันกับพีระพันธุ์

 

ประเทศชาติต้องมาก่อน "พีระพันธุ์" ประกาศขออาสานั่งหัวหน้าพรรคปชป. #ไปข้างหน้าพร้อมกันกับพีระพันธุ์

 

ทั้งนี้ทางด้านของ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการประชุมใหญ่วิสามัญพรรค เพื่อเลือกหัวหน้าประชาธิปัตย์ว่า ผู้สมัครมีทั้งหมด 4 คน ซึ่งได้เชิญให้ผู้สมัครทั้งหมดมาแสดงวิสัยทัศน์ ณ ที่ทำการพรรค  แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมาบ้าง โดยในวันที่ 9 พ.ค. เวลา 13.00 น.  จะเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ต่อสมาชิกภาคใต้ ส่วนวันที่ 10 พ.ค. เป็นของภาคกลาง

สำหรับประวัติของนายพีระพันธุ์เรียกได้ว่า ไม่ธรรมดา  นายพีระพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ชื่อเล่น ตุ๋ย เป็นบุตรของ พลโทณรงค์ สาลีรัฐวิภาค อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์และเจ้ากรมการพลังงานทหาร ผู้ริเริ่มการขุดเจาะน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และก่อตั้งปั๊มน้ำมันสามทหาร เป็นหลานปู่พระยาสาลีรัฐวิภาค กับ นางโสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค (นามสกุลเดิม: สุมาวงศ์) อดีตดาวจุฬาฯ เป็นบุตรีพระมนูเวทย์วิมลนาท อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักรและประธานศาลฎีกา

 

ประวัติทางด้านการศึกษา จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และปริญญาโททางด้านกฎหมายอเมริกันทั่วไปและกฎหมายเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา

 

ประเทศชาติต้องมาก่อน "พีระพันธุ์" ประกาศขออาสานั่งหัวหน้าพรรคปชป. #ไปข้างหน้าพร้อมกันกับพีระพันธุ์

 

นายพีระพันธุ์ มีประสบการณ์ทำงานเป็นผู้พิพากษาและข้าราชการตุลาการมาก่อน เข้าสู่แวดวงการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตห้วยขวาง ดินแดง ในปี พ.ศ. 2539 ร่วมทีมกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ บทบาทในสภา ฯ ของนายพีระพันธุ์ เป็นไปในทางการตรวจสอบการทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ของกองทัพ เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 มีผลงานสำคัญคือการสอบสวนการทุจริต "ค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้านบาท" ซึ่งถูกนำไปใช้ในการต่อสู้คดีในชั้นศาลและประสบชัยชนะ ทำให้คนไทยไม่ต้องจ่ายค่าโง่พร้อมดอกเบี้ยนับหมื่นล้านบาท

 

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 นายพีระพันธุ์ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครได้ ย้ายไปลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคส่ง พันเอกเฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา ลงสมัคร ส.ส.เขต แทน แต่ พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

 

ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นายพีระพันธุ์ได้ลงรับสมัครในเขต 3 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท คู่กับ นายธนา ชีรวินิจ และ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา สามารถนำทีมชนะการเลือกตั้งทั้ง 3 คน โดยนายพีระพันธุ์ ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ของเขต

 

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่เป็น อดีตผู้พิพากษาและข้าราชการตุลาการ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา

 

นายพีระพันธุ์ยังทำหน้าที่เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะอนุกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณานโยบาย งบประมาณ และประสิทธิภาพกองทัพ รองประธานคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552 และกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญอื่นๆ อีกหลายคณะ

 

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ  และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

 

ทั้งนี้ก็ต้องจับตาต่อไป.. ไม่ว่า “ประชาธิปัตย์” จะเลือกเดินไปในทิศทางไหน และใครจะชึ้นมากุมบังเหียนชูธงนำทัพ นั้นก็จะสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางพรรคประชาธิปัตย์ยืนหยันอยู่ในทิศทางใด จะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ หรือไม่..หรือจะตัดสินใจเลือกเป็นฝ่ายค้านอิสระ...?