ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่าต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่อะไร รวมถึงความสำคัญของอวัยวะส่วนนี้ ทั้ง ๆ ที่ต่อม

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่าต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่อะไร รวมถึงความสำคัญของอวัยวะส่วนนี้ ทั้ง ๆ ที่ต่อมไทรอยด์ก็มีอิทธิพลกับสุขภาพของเรามากพอสมควร

 

10 สัญญาณไทรอยด์ผิดปกติ และ 4 เรื่องไทรอยด์ที่ควรรู้

 

ถ้าไม่เกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกาย ก็เชื่อว่าเราแทบจะทุกคนคงไม่นึกถึงอวัยวะที่อยู่ข้างในร่างกายของตัวเอง อย่างต่อมไทรอยด์นี่ก็เหมือนกัน ที่หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต่อมไร้ท่อต่อมนี้อยู่ส่วนไหนของร่างกาย ดังนั้นเพื่อความกระจ่างแจ้งในร่างกายของเราเอง 

โรคไทรอยด์... โรคของต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ หลายคนอาจรู้จักโรคไทรอยด์แต่ไม่ได้ใส่ใจมากนักเพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ที่น่าสนใจคือ หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคไทรอยด์! ซึ่งหาก รู้ตัวเร็ว รักษาเร็ว ย่อมช่วยให้รับมือได้ทันท่วงทีและดูแลรักษาสุขภาพได้ถูกต้องในระยะยาว การตระหนักและรู้เท่าทันคือสิ่งที่ไม่ควรละเลย

หน้าที่ของต่อมไทรอยด์
นพ.ณัฐนนท์ มณีเสถียร อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึง ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด ส่งไปตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) และต่อมไฮโปธาลามัส(Hypothalamus) โดยร่างกายจะมีระบบควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อรักษาระดับไทรอยด์ฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความสำคัญของไทรอยด์ฮอร์โมนคือ การกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายทำงาน เช่น หัวใจ สมอง นอกจากนี้ ยังควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่างๆ  รวมถึงระดับไขมันในเลือด ระบบย่อยอาหาร ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ และมีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บ เมื่อมีความผิดปกติของไทรอยด์เกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกายตามมาได้

 

10 สัญญาณไทรอยด์ผิดปกติ และ 4 เรื่องไทรอยด์ที่ควรรู้

 

10 สัญญาณเช็คอาการไทรอยด์ผิดปกติ
1.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น
ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะส่งผลกระทบไปถึงการทำงานของหัวใจทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่นหรืออ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉงในภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ
2.ผมร่วง
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ทำงานต่ำสามารถเกิดผมร่วงได้
3.นอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับมาคุกคามคุณบ่อยๆทั้งที่ปกติเป็นคนที่นอนหลับง่ายและหลับได้สนิทโดยตลอด เนื่องจากหากไทรอยด์ผิดปกติอาจหลั่งฮอร์โมนมามากเกินไปจนกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและรบกวนการพักผ่อนของเราได้
4.รู้สึกง่วงตลอดเวลา
จะเกิดได้ในภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ จะเกิดอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่นร่วมด้วย
5.อ้วนขึ้นหรือผอมลงอย่างผิดปกติ
ต่อมไทรอยด์ผิดปกติในลักษณะหลั่งฮอร์โมนออกมามากกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ขยันเกินไปในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะพบว่าน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย เนื่องจากการเผาผลาญที่ต่ำลง
6.หิวบ่อยหรือไม่หิวกินไม่ค่อยลง
การทำงานไทรอยด์ทำงานมากขึ้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกหิวบ่อยขึ้น ทานมากขึ้นแต่น้ำหนักตัวลดลง
7.ขับถ่ายไม่เป็นปกติ
เข้าห้องน้ำน้อยกว่าปกติหรือท้องผูกบ่อยๆแม้จะกินพวกผัก ผลไม้อยู่เกิดจากร่างกายมีภาวะขาดไทรอยด์ได้ในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีการทำงานของลำไส้มากขึ้น  ทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นกว่าปกติ ส่วนในไทรอยด์ต่ำอาจพบอาการท้องผูก
8.รู้สึกหนาวตลอดเวลาหรือขี้ร้อนมากขึ้น
ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณเพียงพอทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายก็จะลดน้อยลง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีอาการขี้ร้อน เหงื่อออกมากกว่าปกติ  ส่วนภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีอาการขี้หนาวมากขึ้น
9.ผิวแห้ง
ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลงส่งผลต่อผิวแห้งมากขึ้นหรือเหงื่อลดน้อยลง
10.ใจสั่น
ภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปจะเร่งกระบวนการการทำงานส่วนต่างๆของร่างกายทั้งหมดจะทำให้หัวใจก็ยังเต้นเร็ว

4 เรื่องไทรอยด์ที่ควรรู้
1.อุบัติการณ์ของโรคไทรอยด์ในปัจจุบัน ยิ่งในพื้นที่ที่มีการขาดไอโอดีนมักพบว่า มีคนไข้เกิดคอพอกมากขึ้น ส่วนในพื้นที่ที่มีการบริโภคไอโอดีนเพียงพอ ส่วนใหญ่จะพบอาการโรคไทรอยด์ในกลุ่ม Autoimmune Disease ซึ่งเป็นสาเหตุของทั้งไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ทำงานต่ำ และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 4:1

2.ภาวะนอนไม่หลับกินไม่อิ่มแสดงว่าเป็นโรคไทรอยด์ อาการของโรคไทรอยด์จะแตกต่างกันตามแต่ละโรคที่เป็น เช่น ถ้ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปจะมีอาการท้องผูก ขี้หนาว เหนื่อยง่าย เพลีย น้ำหนักเพิ่ม ถ้าไทรอยด์ทำงานมากเกินไปจะมีอาการใจสั่น  มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด หิวบ่อย เป็นต้น

 

10 สัญญาณไทรอยด์ผิดปกติ และ 4 เรื่องไทรอยด์ที่ควรรู้

 

3.ไทรอยด์ป้องกันได้หรือไม่ สำหรับในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรมีการเพิ่มการบริโภคไอโอดีน เช่น การใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร จะเป็นการป้องกันการเกิดคอพอกได้ หรือการรับประทานอาหารทะเลให้พอเพียง ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไปยังไม่มีวิธีป้องกันโรค เพราะฉะนั้นถ้าคนไข้มีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคไทรอยด์ควรมาเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยไทรอยด์ฮอร์โมน

4.อย่าละเลยตรวจเช็กไทรอยด์ ในคนที่มีอาการแสดงดังต่อไปนี้ควรเข้ารับการตรวจระดับไทรอยด์ฮอร์โมน อาทิ คอโตขึ้น คลำเจอก้อนบริเวณคอด้านหน้า มีอาการอันเนื่องมาจาก ไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) เช่น เหนื่อยง่าย เพลียง่าย ขี้หนาว  ท้องผูก น้ำหนักขึ้นง่าย หรือ มีอาการไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism) เช่น มือสั่น ใจสั่น น้ำหนักลดลง โดยที่ยังทานอาหารเป็นปกติหรือมากกว่าปกติ วิตกกังวล หงุดหงิดมากกว่าปกติ ตาโปนโตกว่าปกติ คอโตขึ้น ลำไส้เคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ขับถ่ายบ่อยขึ้น เหงื่อออกมาก

อ้างอิงข้อมูลจาก นพ.ณัฐนนท์ มณีเสถียร อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลกรุงเทพ