คำให้การ ธนาธร คดีหุ้นสื่อ วี-ลัค มีเดีย  ย้อนชัดๆ ทำไมต้องเจาะจงโอน 8 ม.ค.62  แต่ไม่ละเอียดเรื่องข้อกม.

คำให้การ “ธนาธร” คดีหุ้นสื่อ วี-ลัค มีเดีย ย้อนชัดๆ ทำไมต้องเจาะจงโอน 8 ม.ค.62 แต่ไม่ละเอียดเรื่องข้อกม. วันตัดสิน 20 พ.ย.ถ้าหลุดส.ส. ต้องโทษตัวเอง!!

@ ใช้เวลา 7 ชั่วโมงเต็ม กับการไต่สวนพยานในคำร้องของกกต.ต่อศาลรัฐธรรมนูญ  เพื่อวินิจฉัยคุณสมบัติของ ธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ว่า   เข้าข่ายกระทำผิดว่าด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน  อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร  และเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกผู้แทนราษฎร  สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา  98 (3)  หรือไม่  ก่อนจะนัดฟังคำวินิจฉัยในวันพุธที่ 20  พฤศจิกายน  2562  

แน่นอนว่าในการเบิกความพยานทั้ง 10 ปาก   ประกอบด้วย   1.ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  2.นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดา  3.นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ภรรยา  4.นายปิติ จรุงสถิตย์พงศ์ หลานชายนางสมพร  5.นายทวี จรุงสถิตย์พงศ์ หลานชายนางสมพร  6.ลาวัลย์ จันทร์เกษม พนักงานบริษัทวี-ลัคมีเดีย จำกัด  7.กานต์ฐิตา อ่วมขำ พนักงานบริษัท วี-ลัคมีเดีย จำกัด  8.นายณัฐนนท์ อภินันท์ ทนายความ  9.นายพิพัฒพงศ์ รุจิตานนท์ ทนายความ  10.นายชัยสิทธิ์ กล้าหาญ คนขับรถของนายธนาธร 

 

คำให้การ ธนาธร คดีหุ้นสื่อ วี-ลัค มีเดีย  ย้อนชัดๆ ทำไมต้องเจาะจงโอน 8 ม.ค.62  แต่ไม่ละเอียดเรื่องข้อกม.


ถือเป็นกระบวนการไต่สวน   ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ    ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ  พ.ศ. 2561   มาตรา  62   ซึ่้งมีการซักถามในหลากหลายแง่มุม  ทั้งกับองค์คณะผู้พิพากษา   ตัวแทนผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง อย่างครบถ้วนในทุกมิติ   


แต่ประเด็นที่ถูกโฟกัสมาก คือ เนื้อหาสาระของการไต่สวน  ซึ่งดูเหมือนว่า ธนาธร   เป็นฝ่ายเลือกจะไม่แสดงรายละเอียด  เพื่อสร้างความกระจ่างชัดเท่าที่ควรจะเป็น     ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลทั้งหมดน่าจะเป็นประโยชน์กับฝ่ายผู้ถูกร้อง หรือ  ตัวนายธนาธรเอง   


ชัดเจนจากปฏิกริยาของสื่อหลายสำนัก  สะท้อนมุมมองไปในทิศทางเดียวกัน  ยกตัวอย่างกรณีของ สนข.อิศรา  ที่เป็นผู้เริ่มต้นเกาะติดประเด็นนี้มาตั้งแต่ต้น  ให้น้ำหนักไปที่การชี้แจงของ ธนาธร  ซึ่งมีทั้งรายละเอียดของคำให้การที่ขัดแย้งกับทนายที่เซ็นลายชื่อเป็นพยาน และหลายประเด็น  เลือกใช้วิธีปฏิเสธด้วยการอ้างว่าจำข้อมูลไม่ได้


โดย ธนาธร  พูดความตอนหนึ่งว่า  "วันที่ 8 มกราคม  2562 เป็นหนึ่งในกระบวนการ ไม่ได้เป็นวันที่พิเศษ ที่นัดมา พยายามจะทำ ถ้าไม่มีใครพูดเรื่องนี้ผมก็ลืมไปแล้ว  เพราะมันไม่มีความสลักสำคัญ เป็นเพียงบริษัทเล็กๆ"


ประโยคนี้น่าสนใจ เพราะวันที่ 8 มกราคม 2562  เป็นวันที่ ธนาธร  ระบุว่าเป็นวันขาย-โอนหุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย  ซึ่งก็เป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนประกอบธุรกิจสื่อ ซึ่งถือเป็นหนึ่งข้อห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. 


ไม่เท่านั้นในขณะที่  ธนาธร  ระบุว่าวันที่ 8 มกราคม 2562  ไม่ใช่วันที่มีความสลักสำคัญ  และตีความได้จากคำพูดว่าบริษัทวี-ลัค มีเดีย เป็นเพียงบริษัทเล็ก ๆ   แต่ปรากฎว่า ธนาธร  กลับชี้แจงต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ว่า  เลือกจะเดินทางกลับจากบุรีรัมย์มากรุงเทพฯโดยทางรถยนต์  ระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร  ด้วยข้ออ้างว่าเพราะที่นั่งเครื่องบินเต็ม  

และเมื่อถูกซักถามว่ามีการจัดวางโปรแกรมหาเสียงก่อน หรือ หลัง นัดหมายประชุมโอนหุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย  ธนาธร  เลือกตอบว่า  "จำไม่ได้จริง ๆ  แต่โดยปกติการทำงาน 2 อย่างในวันเดียวกัน ถือเป็นเรื่องปกติ"  


@กรณีไม่ใช่การจับผิด แต่ก็ทำให้หลายคนสงสัยว่า บุคคลระดับ ธนาธร ในฐานะนักธุรกิจหมื่นล้าน และยังเป็นหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ไม่มีการจัดตารางเวลาอย่างชัดเจนเพียงพอ จะตอบซักถามได้ขนาดนี้เลยหรือ รวมถึงทีมงานเองก็ไม่มีการจองตั๋วเครื่องบินกลับจากบุรีรัมย์ในวันที่ 8 มกราคม 2562  อีกด้วย    

 

คำให้การ ธนาธร คดีหุ้นสื่อ วี-ลัค มีเดีย  ย้อนชัดๆ ทำไมต้องเจาะจงโอน 8 ม.ค.62  แต่ไม่ละเอียดเรื่องข้อกม.


ไม่เท่านั้นจากข้อมูลการรายงานของสนข.อิศรา ยังให้รายละเอียด เรื่องเช็คมูลค่า  6,750,000  บาท ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่ ธนาธร  ได้รับจาก นางสมพร  จึงรุ่งเรืองกิจ  ด้วยว่า   เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซักถามว่า ทราบหรือไม่ว่าเช็คฉบับดังกล่าวลงวันที่ 8 มกราคม 2562   


ธนาธร  เลือกตอบว่า  ไม่ทราบ ไม่รู้ด้วยซ้ำ เพราะไม่ได้จัดการเงินของครอบครัว  เวลาไปไหนอบรมสัมมนา ได้ค่าตอบแทนมา กลับบ้านก็ให้ภรรยา  ไม่เคยถือแม้แต่สมุดบัญชีของตนด้วยซ้ำไป  ส่วนภรรยาจะนำเช็คไปขึ้นเมื่อไหร่  ตนเองไม่ทราบ

 

คำให้การ ธนาธร คดีหุ้นสื่อ วี-ลัค มีเดีย  ย้อนชัดๆ ทำไมต้องเจาะจงโอน 8 ม.ค.62  แต่ไม่ละเอียดเรื่องข้อกม.


“อย่างที่เรียน ครอบครัวเราไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน เช็คบางฉบับถือไว้ 3-6 เดือน บางทีเก็บเช็คในกระเป๋า  ส่งไปซักแห้ง กลับมาเช็คก็อยู่ที่เดิมตรงนั้น  ไม่ได้ตั้งใจจะปกปิดอะไร แต่เป็นสิ่งที่ภรรยาผมสะดวกขึ้นเช็คอะไรก็แล้วแต่เขา ใ ห้เขาเป็นคนจัดการเรื่องนี้”


@จุดนี้ถ้าหลายคนจำได้  สำเนาเช็คฉบับดังกล่าว  มีการเผยแพร่ผ่านสาธารณะมาก่อนหน้านี้นานแล้ว  หลังจากเกิดข้อสงสัยเรื่องการขาย - โอนหุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย ว่ามีเกิดขึ้นจริงหรือไม่    แต่ ธนาธร เลือกจะไม่ลงรายละเอียดชี้แจงต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


ส่วนประเด็นเมื่อถูกถามถึงเหตุผลว่า ทำไมต้องโอนหุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย ในวันที่ 8 มกราคม  2562  หรือมีการนัดล่วงหน้าไว้หรือไม่   ธนาธร   อ้างว่า เป็นเวลาที่เห็นว่าเหมาะสมกับทุกคน จึงนัดโอนหุ้นในวันนั้น  โดยไม่รู้ว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่  และในวันที่ 8 มกราคม 2562 ก็จำไม่ได้ว่ามีการโอนหุ้นอื่น ๆ หรือไม่  เพราะตนมีหุ้นประมาณ 30 บริษัท 


สำหรับประเด็นสำคัญซึ่งเกี่ยวเนื่องกับข้อกฎหมายว่าการโอนหุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย  ครบถ้วน สมบูรณ์ ตามข้อกฎหมายหรือไม่  ธนาธร  ให้ข้อมูลว่าแค่เพียงว่า   ทำธุรกิจมาเกือบ 20  ปี ทำการโอนหุ้นเป็นร้อย ๆ บริษัท 

ทั้งการลงทุน ซื้อ ขาย หรือซื้อจากคนญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป คนไทยด้วยกันเอง สมาชิกในครอบครัว เป็นร้อย ๆ ครั้ง  ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ไม่มีสักครั้งใดที่ตนไปกระทรวงพาณิชย์ด้วยตัวเอง  เซ็นเสร็จคือจบ   ส่วนฝ่ายธุรการไปกระทรวงพาณิชย์เมื่อไหร่ เป็นเรื่องของธุรการ  กรณีนี้ก็เช่นกัน เซ็นจบคือจบ ไม่รู้ธุรการดำเนินการอย่างไรต่อ  เพิ่งรู้ว่า บอจ.5 เป็นแบบนี้  ก่อนหน้านี้ไม่เคยดูมาก่อนเลย


@น่าสนใจว่าเรื่องสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับคุณสมบัติผู้สมัครเป็นส.ส.   แต่ธนาธรกลับมองเป็นเรื่องเล็ก   ปล่อยให้ธุรการไปดำเนินการ  จนสุดท้ายกลายเป็นปัญหาผูกมัดให้เกิดคำร้องต่อกกต. 


ไม่เท่านั้น ธนาธร  ยังปฏิเสธไม่ทราบด้วยว่า บริษัทวี-ลัค มีเดีย  มี นางสมพร  จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นกรรมการ  โดยระบุเพียงว่า  บริษัทวี-ลัค มีเดีย  ถือว่าเล็กมากสำหรับตน และไม่เคยแม้แต่เหยียบเข้าไปในบริษัท ไม่รู้เลยว่าใครเป็นกรรมการบริหาร บริหารกันอย่างไร จัดการกันกี่คน 

สรุปตอนท้าย สนข.อิศรา ตั้งข้อสังเกตุว่า  ในระหว่างการตอบข้อซักถามจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จากเจ้าหน้าที่สำนักงาน กกต. หรือแม้แต่กับทีมทนาย   ธนาธร   มักตอบว่า   จำรายละเอียดไม่ได้หลายคำถาม ขณะเดียวกันคำให้การของนายธนาธร และคนขับรถ ยังขัดกันกับทนายความ  

โดยนายธนาธร และคนขับรถ ให้การว่าถึงบ้านประมาณ 16.00 น. แต่ทนายเบิกความว่า ไปถึงบ้านนายธนาธรประมาณ 16.00 น. ยังไม่เจอนายธนาธร โดยพบนางรวิพรรณ แจ้งว่า นายธนาธรยังไม่อยู่ จึงใช้เวลาเตรียมเอกสาร ต่อมาเมื่อถึงเวลานัดเวลา 18.00 น. นายธนาธรได้ออกมาลงนาม โดยที่ไม่รู้นายธนาธรมาถึงเมื่อไหร่

ทั้งนี้นายณัฐนนท์ อภินันท์ ทนายความ  ชี้แจงเรื่องขั้นตอนการจัดทำเอกสารโอนหุ้น  ว่า  ตนเองเป็นคนจัดเตรียมการทำสัญญาดังกล่าว   โดยมีนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล  ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย  พรรคอนาคตใหม่เป็นคนมอบหมายว่านายธนาธรประสงค์โอนหุ้น  และนายพุฒิพงศ์ เป็นคนให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา ทั้งส่วนข้อมูลที่บรรจุในสัญญา ตลอดผู้รับรองการทำสัญญา  
 

จากนั้นเมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับการโอนหุ้น  ปรากฎว่านายณัฐนนท์ไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้ว่า  จำนวนหุ้นวี-ลัค มีเดียที่จะโอนมีกี่หุ้น  และการโอนหุ้นเป็นอย่างไร  จนเกิดข้อสังเกตตามมาว่า หากนายณัฐนนท์ไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว  แล้วทำสัญญาข้อตกลงออกมาได้อย่างไร 


ส่วนเรื่องการเตรียมการเอกสารอนหุ้น   นายณัฐนนท์  ในฐานะทนายความ อ้างว่า ได้เตรียมการมาก่อนล่วงหน้าแต่จำวันไม่ได้   โดยในวันที่ 8 มกราคม 2562   ตกลงว่ามีการนัดหมายทำสัญญาที่บ้านนายธนาธร   เวลาประมาณ 6 โมงเย็น  โดยเมื่อตนไปถึงบ้านนายธนาธรประมาณ 4 โมงเย็น   ก็ได้พบแค่นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ภรรยาของนายธนาธร   ซึ่งตนไม่ทราบว่านายธนาธรมาถึงบ้านตอนกี่โมง  แต่เมื่อถึงเวลานัดหมายทำสัญญา  นายธนาธรก็เดินทางมาถึง  

 


ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการโอนหุ้น  โดยทั้งนายธนาธรและนางสมพรเป็นผู้ตรวจสอบเอกสารสัญญา ก่อนลงนามเซ็นต์สัญญาแล้วติดอากรแสตมป์ในสัญญาในวันเดียวกัน  และเห็นว่ามีการมอบเช็คให้ในวันนั้นด้วย  โดยเป็นเช็คที่นางสมพรเตรียมมามอบเช็คให้ธนาธรและภรรยา  ส่วนการดำเนินการโอนหุ้นหลังจากเซ็นต์สัญญา  ถือเป็นหน้าที่ของนางลาวัล จันทรเกษม  ซึ่งเป็นพยานในการโอนหุ้นอีกคนเป็นคนดำเนินการแจ้งนายทะเบียน เรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ซึ่งตนไม่ทราบว่าจะมีการดำเนินการเมื่อใด  

 

ไม่เท่านั้น ในการไต่สวนพยาน ยังปรากฎด้วยว่านางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ  ให้ข้อมูลประกอบการไต่สวนว่า   ในช่วงการโอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย  ไม่ได้มีการจดทะเบียนแจ้งต่อนายทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  โดยอ้างว่า ต้องรับผิดชอบการบริหารบริษัท 40 กว่าแห่ง  ส่วนขั้นตอนการยื่น บอจ.5  มีกำหนดจะเคลียร์ให้เรียบร้อยก่อนยื่นงบดุล 

 


และในวันที่ 8 มกราคม  2562  ยอมรับว่ามีการเซ็นโอนหุ้นในเครือไทยซัมมิทหลายบริษัท แต่ที่กระบวนการชำระเงิน  เกิดขึ้นเฉพาะในกรณีของบริษัท วี-ลัคมีเดีย เนื่องจากต้องการปิดกิจการบริษัทนี้   ขณะที่การจะนำเงินจำนวนมากมาชำระค่าหุ้นหลาย 10 บริษัทต้องใช้เวลาเตรียมการนานพอสมควร

 

@ท้ายสุดนี้ด้วยพยานหลักฐานต่าง ๆ  ที่ ธนาธร   นำเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ  ถึงความจำเป็นที่ดูจะบังเอิญว่า  ต้องดำเนินการโอนหุ้นให้แล้วเสร็จในวันที่ 8 มกราคม 2562  ตลอดจนข้อมูลจากพยานทั้ง 10 ปาก  จะทำให้องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  มีความเห็นเป็นคำวินิจฉัยอย่างไร  คงต้องรอผลที่จะเกิดขึ้นในวันที่  20 พฤศจิกายน 2562  ต่อไป

 

ธนธร

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ภาพชัดมาก คำแถลงสหภาพยุโรป เชื่อมั่นไทยหลังเลือกตั้ง อีกหนึ่งเคสเมินคำชี้ชวน #ชังชาติ ธนาธร อย่างสิ้นเชิง?
-ดร.อานนท์อธิบายชัดที่มาคำพูดทูตจีน ซัดหนักนักการเมืองบางคน เทียบคนเนรคุณสองแผ่นดิน ทำอะไรไม่มีวันเจริญ
-ธนาธร อ้างบังเอิญเจอ โจชัว หว่อง โบ้ยภาพถ่ายคู่ถูกนำขยายสร้างความเกลียดชัง...ดูกันยาวๆ ระวังกระทบธุรกิจ ไทยซัมมิท ในจีน
-ธรรมนัส ลุย กระบี่ ตามความก้าวหน้า นำร่องเศรษฐกิจพอเพียง หนุนเกษตรแปลงใหญ่ผสมผสาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน